ชีวิตดีสังคมดี

สรุปปมยุ่งเหยิง 'สายสื่อสารลงดิน' พันไปมาสุดท้าย ชัชชาติ สั่งพับไม่มีกำหนด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุปปมยุ่งเหยิงโครงการนำ 'สายสื่อสารลงดิน' พันกันไปมาสุดท้าย ชัชชาติ สั่งพับโครงการแบบไม่มีกำหนด ต้นทุนสูง ก่อสร้างให้เอกชนมาเช่าไม่คุ้มตอนนี้ขอจับมัดไว้ก่อน

อิรุงตุงนังยุ่งเหยิงไม่แพ้ สายสื่อสาร และสายไฟฟ้าที่พาดไปมาบนเสาไฟ สำหรับโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานคร ของกรุงเทพมหานคร แรกเริ่มเดิมตั้งท่าว่าจะไปได้สวย เพราะในยุคก่อนหน้านี้มีความจริงจังที่นำ "สายสื่อสารลงดิน" เพื่อสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้แก่เมืองหลวง แต่กลับถูกดับฝันทันทีในยุคที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้ามารับตำแหน่ง   

 

 

สำหรับเหตุผลที่ ชัชชาติ สั่งเบรกโครงการนำ "สายสื่อสารลงดิน" เพราะเห็นว่าไม่มีความคุ้มค่าที่ที่จะทำท่อร้อยสายสื่อสารไว้ก่อนเพื่อรอให้เอกชนมาเช่าพื้นที่ และนี่คือเหตุผลทำให้โครงการจัดระเบียบสารสื่อสารให้พื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่สางให้จบต่อ ดังนั้นหากเดินไปไหนมาไหนแล้วเจอสายไฟฟ้า สายสื่อห้อยระโยงระยางลงมาพาดทางเท้าลงก็อาจจะต้องอดทนหน่อย เพราะล่าสุดในวันแถลงข่าวผลงาน 365 วัน ผู้ว่าฯ ได้บอกว่าการนำสายสื่อสารลงดินใช้ประมาณแพงเกินไป ดังนั้นตอนนี้จึงทำการจัดระเบียบและตัดสายที่ไม่มีสัญญาณทิ้งไปก่อนเพื่อให้เกิดความสวยงาม

ส่วนเส้นทางของการจัดระเบียบสารสื่อจะเป็นอย่างไรนั้น คมชัดลึกจะพาไปย้อนไปดู

 

 

  • เริ่มต้นโครงการนำ "สายสื่อสารลงดิน"

เริ่มตั้งแต่ปี 2561 กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มอบหมายให้กรุงเทพธนาคม หรือ KT เป็นผู้ดำเนินการนำ "สายสื่อสารลงดิน" โดยในช่วงนั้นกทม.จะต้องใช้งบประมาณมากถึง 19,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการปรับปรุงทัศนียภาพให้สวยงาม โดยรูปแบบการดำเนินการ KT  ได้เปิดให้เอกชนที่ใช้บริการค่ายมือถือเข้ามาประมูลเพื่อก่อสร้างท่อร้อยสายสื่อสาร แทนที่กทม.จะเป็นผู้ก่อสร้างแล้วเปิดให้เอกชนมาเช่า เพราะหากทำแบบนี้เท่ากับ กทม. จะต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าจะมีเจ้าของสายสื่อสารมาเช่าท่อหรือไม่

 

สายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพฯ

 

  • ปิดประกวดราคา แต่สุดท้ายต้องล้มประมูลเพราะโดนจับตาว่า ‘ฮั้ว’

KT ดำเนินการเปิดประกวดราคาหาเอกชนเข้ามาดำเนินการก่อสร้างท่อร้อยสายสื่อสายตามโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน แต่กลับพบว่ามีเพียงเอกชนเจ้าเดียวเท่านั้นที่เข้ามาประมูลและได้รับงานไปในราคา 20,000 ล้านบาท โดยเงื่อนไขสำหรับการประมูลครั้งนี้คือ เอกชนที่ชนะการประมูลจะได้สิทธิ และพื้นที่ใต้ดินสำหรับพักท่อสายสื่อจำนวนมากกว่าเจ้าอื่นๆ พร้อมกับมีสิทธิในการจัดเก็บค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสาร จากนั้นไม่นานการประมูลดังกล่าวถูกจับตาว่ามีการฮั้วกันหรือไม่ จนท้ายที่สุดต้องล้มประมูลไป

 

สายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพฯ

 

  • ควักเงินกว่า 200 ล้านดำเนินการก่อสร้างบนถนนพระราม 1 ค้างเติ่งไม่มีคนเช่า

เพื่อให้การปรับทัศนียภาพของพื้นที่กรุงเทพฯ สวยงามหมดปัญหาสายสื่อสาร สายไฟฟ้ารกรุงรัง ในปี 2562 กทม. ตัดสินใจควักเงินจากกระเป๋าของ KT เพื่อก่อสร้างโครงการต้นแบบบนถนนพระราม 1 ซึ่งใช้งบประมาณมากถึง 200 ล้านบาทด้วยความที่หวังว่าจะมีเอกสารมาเช่าท่อร้อยสายสื่อสาร แต่จนตอนนี้ก็ยังไม่มีเอกชนรายใดมาเช่าพื้นที่ เนื่องจากการนำ "สายสื่อสารลงดิน" มีค่าเช่าที่แพงกว่า รวมถึงค่าซ่อมบำรุงที่สูงกว่า และมีความซับซ้อนมากกว่า เป็นเหตุให้ผู้บริหาร KT ชุดเดิม ฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายกับ กทม.

 

 

  • ค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ราคาที่ไม่คุ้มค่ากับการต้องจ่าย

ได้กลิ่นความฝันค้างของโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เพราะหลังจากที่ กทม. ก่อสร้างเส้นทางนำร่องไปกลับพบว่าไม่มีเอกชนมาเช่าท่อพักสายสื่อสารเลย เนื่องจากราคาท่อร้อยสายจะยู่ที่ราคา 9,000 บาท/ไมโครดักส์/กิโลเมตร/เดือน ท่อร้อยสายจากราคา 9,000 บาท/ไมโครดักส์/กิโลเมตร/เดือน (ข้อมูลจาก NT) ต่างจากราคาการพาดสายบนเสาไฟฟ้ามากถึง 45 เท่าเพราะการไฟฟ้าคิดราคาอยู่ที่ 150-200 บาท/กิโลเมตร/ต่อ/เดือน  ราคาที่แตกต่างกันอาจจะเป็นตัวตัดสินใจที่ทำให้ผู้ให้บริการระบบสื่อสารไม่อาจตัดสินใจร่วมโครงการได้

 

สายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพฯ

 

  • จุดจบโครงการนำ "สายสื่อสารลงดิน" ไม่คุ้มค่าที่จะทำราคาสูงเกินไป

ในช่วงที่ ชัชชาติ เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีคำสั่งให้ระงับโครงการไปก่อน เนื่องจากเล็งเห็นแล้วว่าอาจจะไม่มีความคุ้มค่าหากลงทุน ส่งผลให้ KT ต้องระงับโครงการไปแบบไม่มีกำหนด โดยล่าสุดนายชัชชาติ ได้กล่าวในงานแถลงข่าวครบรอบ 1 ปี การทำงานเป็นผู้ว่าฯกทม. ว่า

 

“การก่อสร้างใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งทับซ้อนกับท่อของ NT แต่กรุงเทพธนาคมหาลูกค้าไม่ได้ การจะนำโครงการมาทำต่อจึงต้องคิดให้ดี เพราะไม่จำเป็นต้องมีโอเปอเรเตอร์ที่ทำท่อหลายราย การดำเนินการต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน เพราะสุดท้ายค่าเช่าเหล่านี้ประชาชนเป็นคนจ่าย กทม.จึงมีแนวคิดยุติการดำเนินการ เนื่องด้วยต้นทุนสูง ไม่มีงบประมาณ”

 

 

ส่งผลให้โครงการก่ออสร้างท่อร้อยสายสื่อสารต้องโดนพับไปอย่างไม่มีกำหนด โดยชัชชาติ ได้ระบุว่าสิ่งที่ควรทำตอนนี้คือการจัดระเบียบสายสื่อสารที่อยู่บนเสาไฟฟ้าใก้เรียบร้อย สายไหนที่ไม่มีสัญญาก็ให้ตัดทิ้งไปก่อน เพื่อให้รกเกะกะทางเดินทางเท้า

 

 

สายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพฯ

 

ปัจจุบันกทม.นำ "สายสื่อสารลงดิน" ไปแล้วทั้งหมด แล้ว 7.2 กม. วงเงิน 140 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ถนนวิทยุ (ถนนเพชรบุรี – แยกเพลินจิต – หน้าซอยร่มฤดี) 2.ถนนรัชดาภิเษก (MRT ศูนย์วัฒนธรรมประตู 2 – หน้าซอยรัชดาภิเษก 7) 3. ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ถนนสาทรเหนือ/ใต้ – ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 10) ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างท่อร้อยสายสื่อสาร ถนนพระรามที่ 1 จากแยกปทุมวัน-แยกราชประสงค์ ระยะทางประมาณ 1 กม.

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ