ชีวิตดีสังคมดี

ตรวจผลงาน 'ชัชชาติ' ครบ 1 ปี เช็กรายนโยบาย 9ด้าน 9ดี คืบหน้าไปแค่ไหนแล้ว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตรวจผลงาน 'ชัชชาติ' บริหารกรุงเทพฯ ครบ 1 ปี เช็กความคืบหน้านโยบาย 9ด้าน 9ดี คืบหน้าไปแค่ไหนแล้ว อีก 3 ปีข้างหน้าจะทำอะไรบ้าง มั่นใจพากรุงเทพฯเดินมาถูกทาง

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  แถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ที่เข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. โดยในระหว่างการแถลง "ชัชชาติ" ได้โชว์ผลงานที่ดำเนินการมาตลอด 1 ปี ตามนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี โดยการทำงาน 1 ปีดำเนินการผ่านแนวคิด คือ ผลักดันโครงการขนาดใหญ่เชื่อมโยงการพัฒนาเส้นเลือดฝอย เปลี่ยนวิธีการทำงานโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยใช้ เทคโนโลยี และข้อมูล สร้างความโปร่งใสในการทำงาน  ร่วมมือกับเครือข่ายทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเมือง 
 

โดย "ชัชชาติ" รายงานความคืบหน้าในการพัฒนากรุงเทพมหานครตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมาโดยมีรายละเอียดดังนี้ 

ด้านปลอดภัย : มีการแก้ปัญหาไฟฟ้าดับ 28,000 ดวง เปลี่ยนปลอดไฟเป็นหลอด LED 11,400 ดวง ติดตั้งกล้องป้องกันภัยด้านอาชญากรรม เพิ่อมกล้องอีก 160 กล้อง ทำให้ขณะนี้กรุงเทพฯมีกล้อง CCTV รวมทั้งหมด 60,972 กล้อง รวมทั้งมีการปรับระบบการขอภาพจาก CCTV ให้สามารถขอได้ภายใน 24 ชม.  ตรวจสถานประกอบการกลางคืน 300 แห่ง  พัฒนาแผนการปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยระดับเขตแล้วเสร็จ 25 สำนักงานเขต ปรับปรุงทางม้าลาย ทาสีขาว 378 แห่ง ทาสีแดง 156 แห่ง ติดไฟกระพริบ 50 แห่ง  รวบรวมฐานข้อมูลเมือง 28 ชุด รวบเป็น 5 Risk Map  นำแบบแปลนอาคาร 5,000 แห่งเข้าระบบแล้ว

 

 

365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน

 

โปร่งใสดี:  รายงานปัญหาโดยประชาชน แก้ปัญหาโดย กทม.ผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue โดยที่ผ่านมาพบว่ามีการแก้ปัญหาไปแล้ว 200,000 เรื่อง เปิดเผย 720 ชุดข้อมูล ตามความต้องการขอประชาชน นำการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพธนาคม เข้าสู่ระบบการเปิดเผยข้อมูล e-GP ของกทม.มากกว่ามาตรฐานกรมบัญชีกลาง เปิดบริการกทม. ออนไลน์ ผ่าน BMA OSS เปิดเว็บไซต์ติดตามการทำงานของ กทม. Bangkok Open Policy ร่วมมือกับ ACT GBDI สถานทูตอังกฤษ และ ป.ป.ช. ในการจัดการแก้ปัญหาทุจริตและ การสร้างความโปร่งใสในการทำงานร่วมกัน เปิดศูนย์ต่อต้ายทุจริต กทม. เพิ่มช่องทางการรับเรื่องทุจริต เร่งรัดการสอบสวนและลงโทษผู้กระความผิด 

 

 

365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน

 

 

เศรษฐกิจดี: เพื่อโอกาสตลาดแรงงาน ฝึกอาชีพคนเมือง เพิ่มพื้นที่ Hawker Center ตลาดค้าขาย ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Soft Power)และเศรษฐกิจย่าน  โดยการเอกชนร่วมพัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพ จัดระบบสอบรับคนพิการเข้าเป็นข้าราชการครั้งแรกของหน่วยงายรัฐ สร้างการจ้างงานคนพิการแล้ว 489 ตำแหน่ง ออกสินเชื่อช่วยเหลือผู้ค้าหาบเร่  ปรับสัดส่วนคณะกรรมการหาบเร่ ให้มีส่วนร่วมจาก ผู้ค้า ประชาชน และนักวิชาการขึ้นทำฐานข้อมูลผู้ค้า 19,000 ราย พร้อมออก QR Code ให้กับร้านค้า  จัดเทศกาล 12 เดือน 12 เทศกาล ต่อเนื่อง สร้างอัตลักษณ์  11 ย่าน ผ่านการสร้างสนับสนุนทั้ง Software และ Hardware  เร่งอนุมัติการถ่ายภาพยนต์ในกรุงเทพฯได้ภายใน 3 วัน  

 

 

365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน

 

 

เดินทางดี:  เพื่อความคล่องตัวการเดินทาง ส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะและเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วม  โดยที่ดำเนินการปรับปรุงทางเท้า 221.47 กม. สร้างมาตรฐานทางเท้าใหม่ ปรับปรุงทางเดินเลียบคลองแสนแสบ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้เป็น Universal Design ยุบ รวม ย้าย ผู้ค้านอกจุดผ่อนผัน คืนทางท้าในประชาชน 140 จุด  คืนผิวจราจรในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า และบริเวณก่อสร้างสะพานข้ามแยก   เทศกิจช่วยดูแลจราจร 890 จุดทุกวัน พัฒนา BMA Feeder นำร่อง 4 เส้นทาง  ติดตั้งจุดจอดจักรยาน 100 จุดรวม 900 คัน  ลอกท่อ 7,115.4 กม. ลอกคลองและเปิดทางน้ำไหลรวม 2,948 กม. 

 

 

365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน

 

 

สิ่งแวดล้อมดี: เพิ่มพื้นที่สีเขียว ต้นไม้ จัดการขยะ อากาศ น้ำเสีย โดยปลูกต้นไม้ไปแล้ว 400,000 ต้น สวน 15 นาที 28 แห่ง 26 ไร่  Pet park 5 แห่ง มีน้องหมาให้กว่า 4,500 ตัว ตรวจฝุ่น 9,291 สถานประกอบการ ตรวจควันดำ 131,537 คัน รวบรวมเซ็นเซอร์ฝุ่นเข้าระบบ 622 จุด  ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีขยะลดลง 300-700 ตัน/วัน ติดตั้งคอกเขียว 99 จุด 152 คอก บนถนนสายหลัก 

 

 

365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน

 

 

สุขภาพดี: สนับสนุนและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชนและทุกกลุ่ม โดยการเพิ่มคลินิกเพศหลากหลาย 22 แห่ง ให้บริการกว่า 5,900 ครั้ง  Motorlance หน่วยมอเตอร์ไซต์ฉุกเฉิน 50 คัน ครอบคลุม 50 เขต  หมอถึงชุมชน ผ่าน Mobile Medical Unit ใน 104 ชุมชนให้บริการ 4,000 ครั้ง เพิ่ม Excellent Center และศูนย์เวชศาสตร์เขตเมือง 15 แห่ง  เปิดให้บริการ Telemedicine หมอทางไกลในโรงพยาบาลสังกัด กทม. 11 แห่ง เพิ่มการให้บริหารในศูนย์บริการสาธารณสุข เพิ่มบริการเชิงรุก เพิ่มศักยภาพการส่งต่อ  ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุขพลัส 6 ศูนย์มีเตียงพักคอยดูอาการลดการส่งต่อโรงพยาบาล  ลดระยะเวลาในการส่งต่อ 1 วัน 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยระยะฟื้นฟูรักษาในชุมชน 18,654 เตียง เข้าระบบสุขภาพของ กทม.

 

365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน

 

 

สังคมดี: เปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับกิจกรรมที่หลากหลาย โดยการเปิดระบบจองพื้นที่สาธารณะ 21 แห่ง ดนตรีในสวน 13 สวน 51 ครั้ง 156 วงดนตรี  เปิดพื้นที่แสดงดนตรี 12 จุด มีคนมาแสดงมากกว่า 200 วง เปิดจุดบริการคนไร้บ้าน(Drop In)ไม่ว่าจะเป็นให้อาหาร งาน รักษาพยาบาล ตัดผม อาบน้ำ ทำบัตรประชาชน ตัดผม อาบน้ำ แจกอาหารไปมากกว่า  17,000 กล่องคนไร้บ้านลดลง 490 คนจากปี 2565  ปรับปรุงอาคาร 62 อาคาร ให้ Universal Design ทุกคนเข้าถึงได้ ส่งต่ออาหารส่วนเกินผ่าน Bangkok  Food Bank ช่วยกลุ่มเปราะบาง 10,000 มื้อ 4,500 คน จัดตั้งอาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) 525 ชุมชน เพิ่มค่าตอบแทนให้กับคณะกรรมการชุมชน 

 

 365 วันทำงาน ทำงาน ทำงาน

 

 

เรียนดี: ส่งเสริมการเรียนรู้ เด็กเล็กก่อนวัยเรียน (2-6 ปี) ปรับค่าอาหารกลางวันและอาหารเสริมจากจาก 20 บาทเป็น 32 บาท ให้ค่าวัสดุอุปกรณ์จาก 100 บาท เป็น 600 บาท สำรวจศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนทั้ง 274 ศูนย์ 100%  อุดหนุนค่าอาหาร ค่าชุด 1,171 ล้านบาท  จัดสลัดบาร์ 3 วันต่อสัปดาห์ 437 โรงเรียน แจกผ้าอนามัย 380,772 ชิ้น 341 โรงเรียน ให้กับนักเรียนมากกว่า 23,000 คน แจกหมวกกันน็อก 120,000 ใบ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียน  เปิดโรงเรียนวันหยุดและหลังเลิกเรียน 16 วิชา 52 โรงเรียน ดูแลนักเรียนมากกว่า 1,000 คน ติดตั้งคอมพิวเตอร์  21,553 เครื่อง 437 โรงเรียน เพิ่มวิชาเลือกเสรี ให้กับนักเรียน 109 โรงเรียน นำระบบ Google Classroom เข้ามาใช้ในโรงเรียน กทม. 

 

 

365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน


 

 

บริหารจัดการดี: จัดสรรงบปี 2566 กว่า 5,024 ล้าน ลงเส้นเลือดฝอย จัดสรรงบ  200,000 บาท/ชุมชน  ยกเลิกข้อบัญญัติเกี่ยวกับควบคุมอาคาร 11 ฉบับ ทำประกันอุบัติเหตุให้พนักงานกวาด 9,079 คน จัดเก็บภาษีที่ดินในกทม. 99.42% ถูกประเมินเพื่อจัดเก็บภาษี จัดทำประมาณแบบฐานศูนย์มีมูลค่าประมาณมากกว่า 1,000 ล้านบาท  จัดตั้งสภาคนเมืองคนรุ่นใหม่สร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการดำหนดทิศทางเมือง จัด Hack BKK ดึงบริษัทที่มีศักยภาพร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มในคนกรุงเทพฯ 

 

 

365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน

 

 

นาย "ชัชชาติ" ยัง ระบุด้วยว่า หลักการทำงานในปีแรกจะเป็นปีของการนำนโยบายมาทำ Sandbox หรือต้นแบบ เช่น ในมิติการศึกษาหรือสาธารณสุข เพราะหากนำนโยบายใหม่ไปปฏิบัติกับกรุงเทพฯ ทั้งหมด เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ความเสียหายก็จะรุนแรง เราจึงเริ่มต้นจากการทำต้นแบบเล็กๆ นำแนวคิดนโยบายมาทดสอบก่อน และเมื่อประสบความสำเร็จ ในปีถัดๆไป จะเป็นการต่อยอดและขยายผลนโยบายไปสู่การปฏิบัติในวงกว้างมากขึ้น  ปีแรกผ่านไปการทำงานที่ดูเหมือนพยายามแก้ปัญหา แต่ก็เป็นเชิงรับมากกว่า  คือการฟัง ประชาชนร้องเรียน แจ้งปัญหา แล้วให้เจ้าหน้าที่ก็ลงไปแก้ปัญหา

 

 

แต่ปีที่สองนับจากนี้ ทุกคนต้องทำงานเชิงรุกให้มากกว่านี้ พร้อมฝากข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้บริหารเขต สำนักต่างๆ อย่ารอฟังแต่ปัญหาประชาชน แต่ขอให้เจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร ลุยลงพื้นที่ไปหาปัญหาเอง และ แก้ปัญหาที่พบ โดยที่ไม่ต้องรอให้ประชาชนร้องเรียนอย่างเดียว ถ้าเจอปัญหาขอให้รีบแก้ไข เพราะถ้าเจอแล้วไม่รีบแก้ เท่ากับ เอาเวลาราชการ  ไปโกงเวลาประชาชน ยิ่งปล่อยปัญหาเนิ่นนาน ยิ่งกินเวลา เท่ากับโกงเวลานาน

 

 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์  

 

 

สำหรับกระแสที่บอกว่า 1 ปีชัชชาติ ใหญ่ๆไม่ เล็กๆทำ "ชัชชาติ" กล่าวว่า ถูกต้อง เพราะปัญหาของ กทม.เป็นเรื่องเล็กที่ไม่มีใครเคยสนใจ เงินงบประมาณเกลี่ยไม่เคยลง แต่เราทำเรื่องเล็กๆ ที่ตอบโจทย์ประชาชน ถามว่าเรื่องใหญ่ทำหรือไม่ โครงการใหญ่ก็เดินหน้าตลอด ไม่มีหยุด แต่อาจจะไม่มีใครเห็นอย่างการทำอุโมงค์ก็อยู่ใต้ดิน ทุกนโยบายต้องทำคู่ขนากันไป อย่างไรก็ตามรู้สึกดีใจที่คนบอกว่าทำเรื่องเล็ก เพราะนั่นคือนโยบายที่หาเสียงมาตั้งแต่ต้น ถ้าตนเข้ามาแล้วไม่ทำเรื่องเล็ก ก็ถือว่าโกหกประชาชนแล้ว เพราะเราพูดเรื่องเส้นเลือดฝอยตั้งแต่วันแรก แต่ก็ต้องทำคู่ขนานทั้งเรื่องใหญ่และเรื่องเล็กก็ยินดีน้อมรับทุกคำติ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมามั่นใจว่าตัวเองและผู้บริหารทุกคนพากรุงเทพฯ เดินมาถูกทางแล้ว นับจากนี้ต่อไปคนกรุงเทพฯจะได้เห็นโครการต่างๆ ที่เติบโตมากขึ้น 


 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ