ชีวิตดีสังคมดี

'อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์' ทำไมเป็นโครงการ 7 ชั่วโคตร สร้างนาน 5 ปี กระทบจราจร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดสาเหตุ 'อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์' ทำไมกลายเป็นโครงการก่อสร้าง 7 ชั่วโคตร ก่อสร้างนาน 5 ปี ไร้วี่แววคืนผิวจราจรในเร็ววัน กระทบจราจรคนเดินเท้า

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยแพร่ภาพสดผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ ขณะเดินทางไปตรวจไซต์การก่อสร้างทางเท้าด้านบน  "อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์" โดยนายชัชชาติ ได้ระบุว่า มาตรวจจุดนี้หลายครั้งจนเบื่อแล้ว แต่ก็ยังก่อสร้างไม่เสร็จสักที “ท่านรองฯ ผมมาตรงนี้จนผมเบื่อแล้วเนี่ย The Mall ท่าพระ เนี่ยโครงการ 7 ชั่วโคตร” นายชัชชาติกล่าว

อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์

 

  • ทำไม "อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์" จึงเป็นโครงการ 7 ชั่วโคตร

 

สำหรับ "อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์" โครงการที่ต้องมีการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคที่เป็นอุปสรรคและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคให้สมบูรณ์ไปพร้อมกับโครงการฯ เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ ยาว 1.5 กิโลเมตร ส่วนที่อยู่ใต้ดินประมาณ 1 กิโลเมตรเป็นถนน 4 เลน (2×2) มีตัวแบ่งตรงกลางอุโมงค์ เริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2561 กทม.เปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2565 เวลา 05.00-22.00 น. เพื่อบรรเทารถติด

 

แต่ในระหว่างการก่อสร้าง "อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์" พบว่า ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ท่อประธานและท่อจ่ายน้ำของการประปานครหลวง เป็นเหตุให้ทางเท้าและถนนระดับราบข้างทางลอด ได้รับความเสียหาย จึงมีความจำเป็นต้องรื้อทางเท้าและผิวจราจรเดิมที่เสียหายออกและก่อสร้างทางเท้าและผิวจราจรข้างทางลอดใหม่ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบด้านการจราจรและความไม่สะดวกระหว่างดำเนินการ

ส่งผลให้การสร้างยังเหลือบริเวณถนนเลียบอุโมงค์ที่ยังไม่เรียบร้อย  โดยโครงการก่อสร้าง "อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์" มีส่วนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องดำเนินการด้านระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) นำสายไฟลงดิน และการประปานครหลวง (กปน.) ขุดเจาะถนนเพื่อวางระบบท่อใต้ดินใหม่ ส่งผลให้ต้องปิดช่องจราจรจำนวน 2 เลน

 

อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์

 

  • เร่งก่อสร้างให้เสร็จก่อนโดนปรับวันละ 2.3 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามสำหรับการก่อสร้างที่ล่าช้า ตามระเบียบแล้วผู้รับเหมาจะต้องถูกปรับหากส่งมอบงานไม่ทัน โดยในการลงพื้นที่ นายชัชชาติ ได้ถามกับผู้รับเหมาโดยระบุว่า

 

“ปรับ 2.3 ล้าน/วันเหรอ เป็น 20 ล้าน ต้องขอโทษพี่น้องประชาชนด้วยจริงๆ เป็นปัญหาแต่เราก็เร่งให้เร็วที่สุดต่อเนื่องกันมาโครงการนี้สร้างมา 5 ปีเต็ม” นายชัชชาติกล่าว

 

ที่ผ่านมาสำนักการโยธาได้ประสานความร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง และการประปานครหลวงเร่งรัดผู้รับจ้างให้ดำเนินการก่อสร้างทางเท้าและผิวจราจรถาวรข้างทางลอดตลอดแนวโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 2566  ที่ผ่านมา แต่ปรากฎว่าขณะนี้โครงการยังเหลืออีกหลายส่วนที่จะต้องดำเนินการ ทั้งการก่อสร้างระบบสายไฟใต้ดิน สายสื่อสาร และระบบงานท่อประปา จึงยังไม่สามารถดำนเนิการคืนผิวจราจรและก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันตามเวลากำหนดได้

 

 

การก่อสร้างปรับปรุงพื้นผมถนนด้านบน "อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์" นั้นค่อนข้างส่งผลกระทบต่อสภาพการจราจรเป็นอย่างมาก เพราะใช้เวลาดำเนินการมาเป็นเวลานาน แม้ว่าตัว อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์ จะเปิดให้งานไปแล้วแต่โครงการด้านบนก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงส่งผลให้การจราจรในบริเวณถนนรัชดาค่อนข้างติดขัดโดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วน

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ