ชีวิตดีสังคมดี

'กิ้งกือ' มีไซยาไนด์  สัมผัสโดยตรงผิวหนังไหม้

'กิ้งกือ' มีไซยาไนด์ สัมผัสโดยตรงผิวหนังไหม้

10 มิ.ย. 2566

หน้าฝนระวัง "กิ้งกือ" ไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัดแต่มีพิษ "ไซยาไนด์" ฆ่ามด ฆ่าสัตว์เล็กๆ ได้ ถ้าส้มผัสผิวคนจะระคายเคือง ผิวไหม้ได้

"นพ.ไพโรจน์ สุรัตนวนิช" รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ความรู้เรื่องกิ้งกือว่า ในช่วงฤดูฝน เป็นช่วงที่อาจจะพบกิ้งกือได้บ่อย "กิ้งกือ" ไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัด แต่ถ้าสัมผัสถูกตัว อาจจะสัมผัสสารพิษของกิ้งกือซึ่งจะถูกปล่อยออกมาจากบริเวณข้างลำตัว สารพิษเหล่านี้มีฤทธิ์ฆ่าสัตว์เล็กๆ ประเภทมด หรือแมลง แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อผิวหนังของมนุษย์ได้เมื่อสัมผัสโดยตรง 

\'กิ้งกือ\' มีไซยาไนด์  สัมผัสโดยตรงผิวหนังไหม้

 

 

พิษของ "กิ้งกือ" มีสารกลุ่มไฮโดนเจนไซยาไนด์ หากถูกพิษของกิ้งกือให้ล้างออกด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดทันที สามารถทายาแก้อักเสบ และให้การรักษาได้ตามอาการ โดยทั่วไปอาการมักจะหายภายใน 1 สัปดาห์ หากมีอาการรุนแรงให้รีบมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

 

ทั้งนี้ พิษของ "กิ้งกือ" จะออกมาตามลำตัวทั้ง 2 ข้าง หากพบเห็นต้องใช้ไม้เขี่ยให้กิ้งกือหดลำตัวก่อน แล้วค่อยนำไปทิ้ง ระหว่างที่กิ้งกือหดตัวสามารถสัมผัสได้ และพยายามเก็บกวาดใบไม้ที่หล่นตามพื้น เพราะมันคือแหล่งอาหารของกิ้งกือ