ชีวิตดีสังคมดี

'หนังสือภาษาพาที' เนื้อหาผิดข้อเท็จจริงไม่ต้องแก้ไข แนะให้เลิกใช้ไปเลย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'หนังสือภาษาพาที' เนื้อหาผิดข้อเท็จจริงอย่างแรงแถมสอนให้เด็กตัดสินคนอื่น ชี้ 2 จุด ผิดพลาดใหญ่หลวงไม่ควรแก้ไขเนื้อหาแต่ควรเลิกใช้ไปเลย

"หนังสือภาษาพาที" ได้ส่งแรงกระเพื่อมไปยังระบบการศึกษาไทยอีกครั้งหลังจากที่สังคมเกิดการตั้งคำถามถึงเนื้อหาและข้อเท็จจริงที่ทางกระทรวงศึกษาธิการได้คัดสรรมาให้นักเรียนได้เรียน

 

เนื้อหาบางส่วนผิดแปลกไปจากข้อเท็จจริงที่เด็กในวัยเรียนควรจะได้รับโดยเฉพาะเรื่องโภชนาการและความถูกต้องของการปฎิบัติตัว รวมไปถึงความคิดบางอย่างที่ระบุไว้ในหนังสือที่มีความแปลกประหลาด หลายฝ่ายเกรงว่าหากเด็กนักเรียนได้เรียนเนื้อหาเหล่านี้และซึมซับไปนานๆ อาจจะไม่เกิดผลดี

นางสาวกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ว่า "หนังสือภาษาพาที" เกิดจากปัญหาที่ไม่เคยมีการปรับหลักสูตรใหม่ตั้งแต่ในช่วงปี 2551 ซึ่งผมว่า "หนังสือภาษาพาที" มีปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้นการออกแบบเนื้อหาไปจนถึงการใช้งาน

 

ปัญหาแรกตนไม่แน่ใจว่าหนังสือแบบเรียนผ่านการตรวจสอบและส่งมาถึงมือผู้บริโภคคือ นักเรียน ได้อย่างไร โดยหนังสือดังกล่าวนั้นจัดทำโดย สถาบันภาษาไทยสำนักสถาบันภาษาไทยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะมีการชี้แจงว่าได้มีการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วพี่จะเผยแพร่ ซึ่งไม่แน่ใจว่า ปล่อยออกมาได้อย่างไรเนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ไกระทรวงศึกษาธิการเองไม่ใช่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เอกชน 

กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ

2 ข้อผิดพลาดใหญ่หลวงของหนังสือ ภาษาพาที 

 

  • ปัญหาที่สองคือข้อผิดพลาด "หนังสือภาษาพาที" ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็นดังนี้

 

1. ผิดไปจากข้อเท็จจริง โดยเฉพาะกรณีการกินไข่ต้ม ห้าครึ่งซีก  อีกกรณีคือการแนะนำให้กินอาหารซ้ำ  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราไม่ควรกินอาหารซ้ำ ข้อมูลในหนังสือที่เขียนไว้นั้นถือว่าข้อผิดพลาดในการนำเสนอข้อมูลในหนังสือที่เขียนไว้นั้นถือว่าข้อผิดพลาดในการนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างมาก

 

2. ทัศนคติที่ซ่อนอยู่ใน "หนังสือภาษาพาที"  ปัญหาอย่างมาก สอนให้ทำร้ายคนอื่นโดนไม่รู้สึกผิด เช่น อ้วน ดำ ผอม เด็กๆ ไม่ควรจะได้เรียนอะไรแบบนี้จึงเกิดเป็นคำถามว่าปล่อยให้มีบทเรียนแบบนี้ได้อย่างไร

 

 

นางสางกุลธิดา กล่าวต่อว่า "หนังสือภาษาพาที"  เป็นเล่มที่บังคับให้เด็กนักเรียนจะต้องเรียนทุกคนหรือไม่ โดย  ระบุว่า  แม้ว่าหนังสือเล่มนี้ไม่บังคับให้เรียน เป็นเพียงหนังสือเสริมเท่านั้น แต่เงินที่จะใช้ซื้อหนังสือ  เป็นการเฉลี่ยเงินค่าซื้อหนังสือไปในแต่ละรายวิชา ซึ่งวิชาภาษาไทยอาจจะเหลืองบในการจัดซื้อเพียงนิดเดียวจึงได้มีการเลือกหนังสือภาษาพาทีมาให้เด็กเรียน ท้ายที่สุดการเลือกหนังสือภาษาพาทีก็เกี่ยวกับรื่องงบประมาณในระบบการศึกษาไทย

 

  • ไม่ควรแก้ไข "หนังสือ ภาษาพาที" และควรโละจากระบบการศึกษาไปเลย 

 

อย่างไรก็ตามเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่าควรจะมีการเลิกใช้ "หนังสือภาษาพาที" หรือมีการปรับปรุงเนื้อหาใหม่ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่ท่านกับปัจจุบัน   

 

นางกุลธิดา กล่าวว่า ท้ายที่สุดแล้วหนังสือภาษาพาทีก็จะต้องถูกตัดออกจากระบบการเรียนเนื่องจากถึงเวลาการเปลี่ยน หลักสูตรใหม่และจะต้องทำหนังสือเรียนใหม่อีกแล้ว ส่วนตัวเห็นว่าไม่มีความจำเป็นส่วนตัวเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องกลับไปแก้ไขเนื้อหาในหนังสือแต่สิ่งที่ควรจะทำคือไม่ควรจะนำมาให้เด็กนักเรียนเรียนเลยอีกต่อไป  ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วหลักสูตรการเรียนจำเป็นจะต้องมีการปรับให้ทันสมัยอยู่แล้ว ที่ผ่านมาก็มีการพยายามจะกลับมาโดยตลอดแต่ยังติดในเรื่องปัญหาการเมืองอยู่ดังนั้นในการเลือกตั้งครั้งนี้จะต้องจับตาว่ารัฐบาลใหม่จะดำเนินการอย่างไรกับหลักสูตรการเรียนการสอน

 

 

  • สร้างกระบวนการทางคิดแบบตัดสินคนอื่น

 

“ ส่วนตัวมองว่าหนังสือเล่มนี้ส่งผลให้เกิดการตีตราคน ว่าเป็นคนเลว คนดี ซึ่งหนังสือเล่มนี้ทำให้ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ทำให้กระบวนการคิดแบบนี้เป็นกระบวนการปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าแต่ละคนเผชิญกับปัญหารอบตัวอะไรมาบ้าง ตอนสุดท้ายต้องกายมาเป็นในแบบที่หนังสือเรียนนำเสนอ ดังนั้นเราจึงไม่มีสิทธิ์ที่จะไปตัดสินใคร เพราะในความเป็นจริงแล้วชีวิตมีความซับซ้อนมากกว่าหนังสือนำเสนอ และมนุษย์ก็มีความซับซ้อนมากกว่านี้เช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าไม่ควรจ้ะนักเรียนเรียนหนังสือที่มีลักษณะแบบนี้อีกต่อไป หนังสือเรียนภาษาไทยที่เหมาะสมกับช่วงวัยควรจะเป็นเนื้อหาเพื่อการสื่อสารมากกว่า” นางสาวกุลธิดา กล่าวสรุป

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ