ชีวิตดีสังคมดี

'วันผู้สูงอายุแห่งชาติ 2566' ถึงเวลาหรือยังที่ต้องเพิ่ม รัฐสวัสดิการ ให้ดี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'วันผู้สูงอายุแห่งชาติ 2566' สูงวัยในประเทศไทยมีสิทธิพึงได้ขั้นพื้นฐานอะไรบ้าง ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องเพิ่ม รัฐสวัสดิการ ให้ดีขึ้น รองรับสังคมสูงวัยแบบเต็มขั้น

สุขสันต์ "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ 2566" (13 เม.ย. ) สำหรับ วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ในประเทศไทยนั้นถูกกำหนดขึ้นในสมัย จอมพล.ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น พร้อมกับกำหนดนโยบายที่สนับสนุนความเป็นอยู่ของประชาชนผู้สูงวัยในประเทศไทย เนื่องจากได้มีการเล็งเห็นว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น

 

 

 

เพราะในช่วงเวลานั้นมีการสำรวจและพบว่า ทั่วโลกมีผู้สูงอายุมากถึง 3 ใน 5 ของประชากรโลก ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีแผนรองรับ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุแก่ไปแบบมีคุณภาพ และมีความมั่นคงในชีวิต

 

 

 

สำหรับ "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ 2566"  ในปีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ แบบเต็มขั้น โดยพบว่าขณะนี้ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีอยู่ราวๆ 12 ล้านคน โดยแบ่งเป็น ช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 6.8 ล้านคน  ช่วงอายุ 70-79 ปี มีจำนวน 3.5 ล้านคน อายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1.7 ล้านคน ในขณะที่อัตรการเกิด และประชากรวัยเด็กกับน้อยลงไปทุกๆ ปี และในอนาคตอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคแรงงาน

เพื่อเป็นการรองรับ สังคมสูงอายุ ของไทยนับจากวันนี้และต่อเนื่องไปจนถึงอนาคต รัฐบาลจึงมี กรอบทิศทางการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุที่มีความต่อเนื่องและสอดคล้องกับบริบทของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2580)  เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และดูแล ผู้สูงอายุอย่างเป็นธรรมภายใต้หลักการ “ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดี มีหลักประกันมั่นคง เป็นพลังพัฒนาสังคม”

 

 

โดยแผนปฏิบัติการนั้นเป็นไปเพื่อให้การปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ และยังเป็นการเพิ่มศักดิ์ศรี  สร้างความมั่นคงในด้านการดูแลสวัสดิการ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่า พึ่งพาตอนเองได้โดยไม่เป็นภาระของลูกหลาน และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในช่วงวันไม้ใกล้ฝั่งเช่นนี้

 

 

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ 2566"  และเพื่อให้ ผู้สูงอายุได้รู้สิทธิที่ตนเองพึ่งจะมี โดยเฉพาะสิทธิในสวัสดิการ การดูแลด้านสุขภาพต่างๆ จากภาครัฐ ที่ผู้อายุจะได้รับในช่วงบั้นปลายของชีวิต เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านการสาธารณะสุข โดยที่ผ่านมาได้มีการวางแนวทางการดูแล ผู้สูงอายุ ของไทยภายใต้ แนวคิด ปี 2566 ปีแห่งสุขภาพสูงวัยไทย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วงพักพิง ผ่านการดูแลภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง

 

 

สำหรับสิทธิที่ ผู้สูงอายุ ในประเทศไทยพึ่งจะมีและได้รับแบบไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มมีทั้งหมด 3 ด้าน มีดังนี้

 

  1. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
  2. ด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสาร
  3. ด้านการประกอบอาชีพ ฝึกอาชีพที่เหมาะสม

 

 

นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมด้านสวัสดิการด้านสาธารณสุข อาทิ แจกแว่นตา ผ้าออมผู้ใหญ่ แผ่นรองซับ แผ่นรองซึม ขับถ่าย  ฟันเทียม และรากฟังเทียม รวมไปถึงการส่งเสริมและเสริมสร้างสุขภาพในการป้องกันโรค การรักษาแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

 

 

ส่วนการช่วยเหลือด้านการเงินนั้นขณะนี้ผู้สูอายุมีเพียงแค่เบี้ยยังชีพที่จะต้องรับทุกเดือนในอัตรา 600-1,000 บาท ซึ่งเป็นการจ่ายแบบขั้นบันเท่านั้น ซึ่งการช่วยเหลือด้านการเงินหลังเกษียณไปแล้ว จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐจะต้องจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุอย่างมาก เพราะจากข้อมูลพบว่า ปัจจุบัน ผู้สูงอายุ จะต้องใช้เงินประมาณ 2,600 บาทต่อเดือน จึงจะสามารถอยู่ได้แบบไม่ยากลำบาก  ดังนั้น รัฐสวัสดิการ จึงควรพิจารณาหาแนวทางเข้ามาช่วยเหลือในกรณีดังกล่าวด้วย

 

 

หากเปรียบเทียบกับต่างประเทสแล้ว เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ของไทยยังถือว่าสวนทางกับความเป็นจริงค่อนข้างมาก สำหรับประเทศที่มีการจ่ายสวัสดิการบำนาญให้กับผู้อายุแบบที่เรียกว่า ลูกหลานไม่ต้องลำบากนั้นมีดังนี้

 

  • เนเธอร์แลนด์   136,520 บาทต่อเดือน
  • อิตาลี               78,430  บาทต่อเดือน
  • สเปน               71,978  บาทต่อเดือน
  • ฝรั่งเศส            69,360  บาทต่อเดือน
  • สวิตเซอร์แลนด์  67,500 บาทต่อเดือน    
logoline

ข่าวที่น่าสนใจ