ชีวิตดีสังคมดี

ห่วง 'สุขภาพจิต' คนไทยพบสถิติเครียดสูง 4.37 % จับตาอีก 10 ปี คนไทยป่วยจิตเพิ่ม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ห่วง 'สุขภาพจิต' คนไทย กรมสุขภาพจิตพบเครียดสูง 4.73% ซึมเศร้า คาดการอนาคตอีก 10 ปี คนไทยป่วยจิตเพิ่ม เร่งหาเทคโนโลยี นวัตกรรม รองรับแก้ปัญหาขาดแคลน

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิต ประกอบกับค่านิยมของสังคมไทยที่มีการตีตราผู้มีปัญหาด้าน "สุขภาพจิต" อยู่มาก ความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตยังคงมีอยู่น้อย ทำให้การสร้างเสริม "สุขภาพจิต" ของผู้คนในสังคมไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร คนไทยจำนวนหนึ่งยังขาดความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมรอบข้าง นำไปสู่การละเลย เพิกเฉย และปฏิเสธการเข้ารับบริการสุขภาพจิต สถานการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวโน้มปัญหาด้านสุขภาพจิตในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตที่หลากหลายไมว่าจะเป็นเรื่องของ ความเครียด การเกิดโรคซึมเศร้า ภาวะหมดไฟ ในบางกรณีนำมาซึ่งการสูญเสียจากการทำร้ายตนเอง 

 

 

ผลจากการสำรวจจาก Mental Health Check In ในปี 2565 จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 1,149,231 ราย พบว่า มีเสี่ยง ซึมเศร้า 5.47 % ภาวะหมดไฟ 4.59 % และมีความเครียดสูง 4.37 % จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า  เรื่องสุขภาพจิตเป็นความท้าทาย ที่ทุกคนและทุกภาคส่วน ต้องความร่วมมือในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไข ทั้งนี้หากขาดความเข้าใจถึงอนาคตของสุขภาพจิตสังคมไทยโดยละเอียดสังคมไทยอาจต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตอย่างรุนแรงในอนาคต 

ดังนั้นการศึกษาวิจัยด้านอนาคตศึกษาด้าน "สุขภาพจิต" จึงมีความสำคัญมากที่ในการทำงาน การวางแผน และนำไปสู่จัดลำดับความสำคัญของประเด็น สุขภาพจิตสังคมไทย ความสุขของคนไทย และพัฒนาแผนการส่งเสริมและป้องกันด้านสุขภาพจิต ผ่านกลไกด้านนโยบายและกฎหมายในทุกภาคส่วนของรัฐและสาธารณสุขและทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของประชาชน เพื่อให้สังคมไทยพัฒนาไปยังภาพอนาคตด้านสุขภาพจิตที่ดียิ่งขึ้น

 

 

โดย กรมสุขภาพจิต ยินดีที่จะร่วมค้นคว้า สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาวิจัยอนาคตศึกษาด้านสุขภาพจิตผ่านช่องทางต่างๆ รวมไปถึงนำเสนอผลการศึกษาวิจัยอนาคตศึกษาด้านสุขภาพจิต เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายที่เหมาะสมกับฉากทัศน์ด้านสุขภาพจิตของอนาคต พัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพจิต ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งในระดับองค์กร ชุมชน และประชาสังคม รวมไปถึงเพื่อให้เกิดการดูแลจิตใจอย่างเท่าเทียม

 

ภาพประกอบข่าว

แน่นอนว่าความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ลามไปจนถึงสุขภาของคนไทยทั้งสิ้น โดย สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม หรือ IFI สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติองค์การมหาชน หรือ NIA ได้มีการทำนายอนาคตสุขภาพจิตของคนไทย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ระบุว่า จากการคาดการณ์อนาคตพบว่า ประชาชนไทยต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่การเข้าถึงบริการด้าน "สุขภาพจิต" ยังไม่ครอบคลุม   นอกจากนี้การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ของสังคมไทย พบว่า ปัญหา "สุขภาพจิต" ในผู้สูงอายุ และปัญหาความขัดแย้งอันเกิดจากช่องว่างระหว่างวัยกลับยังไม่สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นสื่อสันทนาการหรือเข้ามามีส่วนช่วยในระบบบริการทางด้านสุขภาพจิตนั้น สามารถช่วยยกระดับสุขภาวะของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพไทยที่นำเสนอบริการนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ทางด้านสุขภาพจิตหลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดทำหลักสูตรสอนการฟังเชิงลึก (deep listening) ที่ผ่านการรับรองจากกรมสุขภาพจิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในลักษณะ Software-as-a-Service (SaaS Platform)

 

ภาพประกอบบทความ

 

เมื่อทราบถึงปัญหาและแนวโน้ม "สุขภาพจิต" ของคนไทยที่ในอนาคตเราอาจจะพบว่า คนไทยจะมีความต้องการในการใช้บริการ แพทย์เฉพาะทาง รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อช่วยเยียวยาจิตใจมากยิ่งขึ้นแล้ว จำเป็นอย่ายิ่งจะต้องมีแนวทาขึ้นมารองรับ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการคาดแคลนจิตแพทย์ หรือ เทคโนโลยีที่จะเข้ามาดูแลสุขภาพจิต โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)ได้มีการศึกษาปัญหา "สุขภาพจิต" ของคนไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า "อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576" พบว่า  ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทย (Technology in daily life)  และเริ่มเห็นสัญญาณของเทคโนโลยีกับสุขภาพจิตคือ ความพร้อมในการก้าวสู่สังคมดิจิทัล (Readiness for digital age) คนไทยส่วนใหญ่มีความพร้อมและใช้งาน Social Media เป็นอันดับต้นๆของโลก แต่กลับพบว่า ถูกหลอกทางออนไลน์ ข่าวปลอม และการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพิ่มสูงต่อเนื่องทุกปี จากข้อมูลข้างต้น นี่คือโจทย์สำคัญที่ประเทศ รวมถึง ETDA ที่จะเดินหน้าอย่างไร เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัลไปพร้อมๆกับการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้าง Literacy สร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัลให้กับคนไทย และจะป้องกันผลกระทบของปัญหาสุขภาพที่เป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ