ชีวิตดีสังคมดี

ระวัง! เม.ย.อากาศร้อนสุดในรอบปี ทะลุ 41-43 องศา สงกรานต์ฝนตกไหม? เช็กที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ระวัง! เม.ย.ร้อนสุดในรอบปี ทะลุ 41-43 องศาฯ สภาพอากาศข้างนอกร้อนเท่าไร ดัชนีความร้อนในร่างกายร้อนกว่า 4 องศา เช็กอากาศเตรียมตัวเล่นสงกรานต์

อุณหภูมิภายนอกไม่ถึง 40 องศาเซลเซียล แต่ทำไม "อากาศร้อนเหมือน" 40 องศาเซลเซียส วันนี้ "คม ชัด ลึก" จะพาไปค้นหาคำตอบว่าทำไมถึงให้ความรู้สึกเช่นนั้นกับ "สภาพอากาศ"  โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านอุตุนิยมวิทยา "นายสมชาย ใบม่วง" สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมกับคำตอบ "สงกรานต์ปีนี้" ฝนตกไหม

"นายสมชาย" อธิบายว่า ฤดูร้อนเดือนนี้ (เม.ย.) อากาศร้อนมากที่สุดในรอบปี เพราะประเทศไทยอยู่ซีกโลกและหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์พอดี ปีนี้ร้อนกว่าปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครคาดการว่าไม่ถึง 40 องศาเซลเซียส จากสถิติสููงสุดแตะถึง 44 องศาเซลเซียส ตัวเลขนี้วัดตามอุณหภูมิมาตรฐาน "กรมอุตุนิยมวิทยา" อาจคาดเคลื่อนได้เพราะเครื่องวัดค่าอุณหภูมิอยู่ภายในตู้เก็บที่ต่างจาก "สภาพอากาศ" ข้างนอก ซึ่งอุณหภูมิข้างนอกอาจต่ำหรือสูงกว่าได้ 

"กรมอุตุนิยมวิทยา" ได้ร่วมกับกรมอนามัย ออกเตือนประชาชนในรอบสัปดาห์นี้ ช่วงวันที่ 5–6 เม.ย. ปี 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจาก "สภาพอากาศ" ร้อนถึงร้อนจัด โดยกรมอนามัยได้ทำการแปลงค่าอุณหภูมิสูงสุดมาเป็นค่าดัชนีความร้อนที่มีผลกระทบต่อร่างกาย เพื่อเตือนประชาชนให้รับมือกับสภาพอากาศ

 

 

การคำนวณค่าดัชนีศึกษาได้จากสภาพเหมาะสมกับประเทศไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง โดยดัชนีความร้อน คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ว่าขณะนั้นอาการร้อนเป็นอย่างไรหรืออุณหภูมิที่ปรากฏในขณะนั้นเป็นอย่างไร โดยการนำเอาอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริงและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ใน "สภาพอากาศ" ขณะนั้น 

 


"กรมอนามัย" เผยค่าดัชนีความร้อนที่เสี่ยงกระทบต่อร่างกาย 4 ระดับ 


 

ตารางแสดงความร้อนระดับดัชนีเฝ้าระวัง

 


ตารางแปลงค่าอุณหภูมิสูงสุดมาเป็นค่าดัชนีความร้อน

 

 

ตารางแปลงค่าอุณหภูมิสูงสุดมาเป็นดัชนีความร้อนที่มีผลต่อร่างกาย

 

 

สำหรับอุณหภูมิวันนี้ (5 เม.ย. 2566) อุณหภูมิแตะที่ 37 องศาฯ เมื่อแปลงค่าเป็นดัชนีความร้อนจะพบค่าความร้อนถึง 41.2 องศาฯ (เฉลี่ยสูงกว่าอุณหภูมิภายนอก 4 องศาฯ) และวันที่ 6 เม.ษ. (2566) ดัชนีความร้อนอยู่ที่ 50.2 ที่เขตบางนา 

 


สถานการณ์ความร้อน ในจังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุดรายภาค วันที่ 6 เม.ย. ปี 2566 
จ.เพชรบูรณ์ 40.6 องศาเซลเซียส, จ.ศรีษะเกด 41.5 องศาเซลเซียส, เขตบางนา 50.2 องศาเซลเซียส, เขตแหลมฉบัง 49.4 องศาเซลเซียส, จ.ภูเก็ต 47.9 องศาเซลเซียส 

 


"นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์" ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวด้วยว่า "สภาพอากาศ" จากกรมอุตุฯ มีค่าดัชนีความร้อนเกิน 41 องศาเซลเซียส จัดอยู่ในระดับอันตราย อาจทำให้มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะฮีทสโตรกได้ ดังนั้น ขอให้ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ ไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากต้องทำงานกลางแจ้งควรทำงานเป็นกลุ่ม และเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว ให้รีบแจ้งบุคคลที่อยู่ใกล้เพื่อช่วยปฐมพยาบาลทันที

 

 


นอกจากอุณหภูมิที่ร้อนจัดยังทำผิวหนังเกรียมแดด ส่งผลเสียต่อดวงตาได้ในเวลาไม่กี่นาที  และทำลายดีเอ็น (DNA) ในระยะยาว หากจำเป็นควรใช้เวลาให้น้อยที่สุด สวมเสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี สวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด และทาครีมกันแดด

 

 

  • คาดหมายอากาศรายภาค เม.ย. ปี 2566


ภาคเหนือ

จะมี "สภาพอากาศ" ร้อนอบอ้าวเป็นระยะๆ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในบางช่วง อุณหภูมิสูงที่สุด 41 – 43 องศาเซลเซียส แต่จะมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ในบางวัน ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้บ้าง

 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จะมี "สภาพอากาศ" ร้อนอบอ้าวเป็นระยะ ๆ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในบางช่วง อุณหภูมิสูงที่สุด 41 – 43 องศาเซลเซียส แต่จะมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ในบางวัน ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้บ้าง

 

 

ภาคกลาง

จะมี "สภาพอากาศ" ร้อนอบอ้าวเป็นระยะๆกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในบางช่วงส่วนมากทางตอนบนของภาค  อุณหภูมิสูงที่สุด 41 – 42 องศาเซลเซียส  แต่จะมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ในบางวัน ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้บ้าง

 

 

ภาคตะวันออก

จะมี "สภาพอากาศ" ร้อนอบอ้าวเป็นระยะๆ กับมีอากาศร้อนจัดในบางช่วงทางตอนบนของภาค อุณหภูมิสูงที่สุด 41 – 42 องศาเซลเซียส แต่จะมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ในบางวัน ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้บ้าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

 

 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

จะมี "สภาพอากาศ" ร้อนบางแห่งในบางวัน  กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ทะเลจะมีคลื่นสูง 1 เมตร

 

 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มี "สภาพอากาศ" ร้อนบางแห่งในบางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือน ทะเลจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

 

 

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

จะมี "สภาพอากาศ" ร้อนอบอ้าวเกือบทั่วไป อุณหภูมิสูงที่สุด 38–39 องศาเซลเซียส  แต่จะมีฝนฟ้าคะนองในบางวัน ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้

 


ภาพ: กรมอนามัย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ