
ฉีดวัคซีนโควิด 19 สูตรไหนกับใครให้ผลดี สรุปให้ที่นี่!
'หมอยง' เสนอวิธีฉีดวัคซีนโควิด 19 สูตรไหนกับใครให้ผลดี เน้นป้องกันความเสี่ยงเสียชีวิต และป้องกันความรุนแรงของโรค หลังจากองค์การอนามัยโลกเสนอแนะ
3 ปีที่ประเทศไทยเผชิญกับการแพร่ระบาด "โควิด19" แต่ในขณะนั้นมีหลายหน่วยงานพยายามคิดค้น "วัคซีน" ป้องกันโควิด 19 ออกมาจำหน่าย แต่ดูเหมือนว่าไม่ให้ผลทางการป้องกันเท่าที่ควรจะเป็น วันนี้โรคสงบมาพร้อมกับสูตรการฉีดวัคซีน เพื่อให้ผลในทางป้องกัน โดย "องค์การอนามัยโลก" (HWO)
"ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ" หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ "หมอยง" บอกว่า WHO แนะนำฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเน้นป้องกันความเสี่ยงเสียชีวิต และป้องกันความรุนแรงของโรค ดังนั้น การให้วัคซีนเข็มกระตุ้น มีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ร่วมด้วย เช่น อายุ โรคประจำตัว ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงสถานการณ์การระบาดของโรค
การให้วัคซีนเข็มกระตุ้น "หมอยง" บอกว่า "WHO" โดยแนะนำให้เริ่มฉีดได้ ที่ระยะเวลาตั้งแต่ 6 ถึง 12 เดือนขึ้นไปนับจากวัคซีนเข็มล่าสุด โดยให้เริ่มฉีดกระตุ้นให้แก่กลุ่มความเสี่ยงสูง (High priority) เป็นลำดับแรก ได้แก่ ผู้สูงอายุ, ผู้ใหญ่ที่มีโรคร่วมอื่นร่วม ทำให้เสี่ยงสูง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ ติดเชื้อ HIV หรือ ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ, กลุ่มเด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง, หญิงตั้งครรถ์, และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า
ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง (Medium priority) ได้แก่ ผู้ใหญ่มีสุขภาพดี อายุ 50-60 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัวเสี่ยง และ เด็ก วัยรุ่น ร่วมกับโรคประจำตัว มีปัยจัยเสี่ยง จะแนะนำให้วัคซีน สองเข็มแรก ร่วมกับ หนึ่งเข็มกระตุ้น ประชากรกลุ่มนี้ สามารถรับวัคซีนเข็มที่สี่ได้ แต่ไม่ได้แนะนำให้ทุกคน เนื่องจากอาจจะไม่เห็นผลในเชิงสาธารณสุข
กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มความเสี่ยงต่ำ (Low priority) ได้แก่ กลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่มีสุขภาพแข็งแรงดี อายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 17 ปี มีความเสี่ยงต่ำจากการติดเชื้อ และความรุนแรง จึงให้พิจารณา รับวัคซีนตามความจำเป็น โดยดูร่วม กับความรุนแรงของสถานการณ์ระบาด และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ทาง "WHO" ได้มีการแนะนำให้ใช้ mRNA Bivalent vaccine ต่อสายพันธุ์ BA.5 ให้นำมาใช้เป็น Primary vaccine ได้แล้ว