ช่องทางรักษา "โรคซึมเศร้า" 3 ช่องทางรักษาฟรี ฮีลใจแบบไม่ต้องจ่ายเงิน
ช่องทางรักษา "โรคซึมเศร้า" 3 ช่องทาง บัตรทอง ประกันสังคม สิทธิข้าราชการ ฮีลใจแบบฟรีๆ ไม่ต้องจ่ายเงิน พร้อมตรวจสภาพจิตใจด้วยนวัตกรรมสุดล้ำ
สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมบีบให้คนไทยมีภาวะเครียด และนำไปสู่ ภาวะซึมเศร้า มากยิ่งขึ้น จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ทั่วโลกมีประชากรกว่า 300 ล้านคน ที่ป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" สำหรับประเทศไทยอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายติดอันดับต้น ๆ โดยพบว่ามีอัตราประชากรที่ฆ่าตัวตายเฉลี่ย 6 คนต่อประชากร 1 แสนคน และที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือมีสถิติวัยรุ่นมีสถิติ 5.33 คนต่อประชากร 1 แสนคนมีความคิดอยากจะฆ่าตัวตาย
อย่างไรก็ตามเพื่อการลดอัตราความสูญเสียที่เกิดจาก "โรคซึมเศร้า" ระบบสาธารณสุขให้บรรจุให้ "โรคซึมเศร้า" เป็นอีกหนึ่งโรคจิตเภท ที่ประชาชนสามารถเข้ารับการรักษาดูแลจิตใจได้ฟรี ตามสิทธิการรักษาในระบบพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม และ สิทธิข้าราชการ
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองเข้าข่าย หรือ เป็น "โรคซึมเศร้า" สามารถตรวจสอบ ขั้นตอนการรักษาโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะผู้ที่ใช้สิทธิ 30 บาททุกโรค และสิทธิประกันสังคม ข้อมูลจากสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ ระบุว่า ประกันสังคมให้ความคุ้มครองการรักษา "โรคซึมเศร้า" รวมถึงโรคจิตเวชทุกประเภท ผู้ใช้สิทธิสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่กำหนดไว้ในระบบประกันสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ทั้งนี้จะต้องรอคิวการพบแพทย์เฉพาะตามนัดหมาย โดยแพทย์จะพิจารณาตามความรุนแรงของ ภาวะซึมเศร้า
ส่วนผู้ที่ใช้สิทธิ บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค สามารถใช้สิทธิรักษาโรคซึมเศร้า โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่จะต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์เสียก่อน โดยสามารถเข้าถึงยารักษาโรคซึมเศร้าได้ 8 รายการ นอกจากนี้หากเข้าสู่ระบบ ขั้นตอนการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับคำปรึกษาตามที่แพทย์นัดหมายอย่างต่อเนื่อง
ด้าน สิทธิข้าราชการ ระบบรักษาของข้าราชการนั้น ครอบคลุมการรักษา "โรคซึมเศร้า" ทั้งตัวข้าราชการและครอบครัว โดยขั้นตอนการรักษาหากวินิจฉัยแล้ว แพทย ระบุว่าเป็น "โรคซึมเศร้า" สามารถรักษาทันที ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม ตรวจสอบสิทธิเพิ่มเติมที่ กรมบัญชีกลาง
อย่างไรก็ตามนอกจากการพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโรคซึมเศร้าแล้วปัจจุบันยังมีนวัตกรรมเพื่อที่จะช่วยปลอบประโลมจิตใจและฮีลใจได้เช่นกัน เช่น โครงการอารามอารมณ์บำบัดอารมณ์และสุขภาพจิตด้วยดิจิทัลอาร์ต ซึ่งเป็นโครงการ นิทรรศการดิจิทัลอาร์ตที่ผสมผสานงานศิลป์และนวัตกรรมเพื่อการบำบัดอารมณ์ ดูแลสุขภาพจิตและความคิดของคน ช่วยให้คนทุกวัยสามารถสำรวจอารมณ์ตัวเองและเข้าถึงการสื่อสารด้วยศิลปะร่วมกับการบำบัดได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยภาพลักษณ์ที่ดึงดูด
แสง โดยแสงแต่ละสี จะสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกแต่ละแบบไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง ที่จะให้ความรู้สึกสมดุล หรือสีเขียวที่ให้ความรู้สึกสงบและสื่อถึงครอบครัว ความสัมพันธ์
- เสียง มีการ Music Relaxing เพื่อให้เข้าถึงบรรยากาศภายในรวมไปถึง Audio Guide เพื่อให้ผู้คนที่เข้าร่วมรับฟังและไปยังพื้นที่ต่างๆ ในห้องที่จะทำการปลดล็อคความเข้าใจในแต่ละส่วนได้ดียิ่งขึ้น
- สัมผัส ในส่วนของพื้นที่สัมผัสจะเป็นการเดินบนทางที่ออกแบบมาเพื่อให้มีการเคลื่อนไหว หรือการสัมผัสสิ่งของต่างๆ ในห้อง ใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายรับรู้ยู่ตลอดเวลา (มีการดีไซน์มาจากการเดินจงกรม และการเจริญสติภาวนา)
- การสะท้อนหรือ Deep Listening booth ที่จะมีอาสาสมัครและนักบำบัดที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการทำ workshop เพื่อพูดคุย ปลดปล่อยอารมณ์ เพื่อให้เข้าถึงสภาวะจิตใจของผู้เข้าร่วม