ชีวิตดีสังคมดี

"โรคซึมเศร้า" ไทยน่าห่วง กว่า 70% เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพราะภาวะซึมเศร้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โรคซึมเศร้า" ในประเทศไทยน่าห่วง พบป่วย 100 คน เข้าถึงการรักษาแค่ 28 คน คนไทยกว่า 70% เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพราะภาวะซึมเศร้า

"โรคซึมเศร้า" (Depression) โรคที่พบบ่อยทั่วโลก โดยสถิติจากองค์การอนามัยโลก (WHO)  ระบุว่า ประชากรโลกกว่า 280 ล้านคนเป็น "โรคซึมเศร้า" นอกจากนี้ยังพบว่าโรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุที่ทำเกิดการฆ่าตัวตาย ซึ่งในแต่ละปีมีคนฆ่าตัวตายมากถึง 700,000 คนต่อปี

 

 

โดยเฉลี่ยช่วงอายุที่จะอยู่ที่ประมาณ 15-29 ปี  แม้ว่าจะมีจำนวนผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า" จำนวนมากแต่ข้อมูลจาก WHO ระบุว่า ประชากรว่า 75% ที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็วและทันถ่วงทีทำให้เกิดความสูญเสียตามมา 

สำหรับสถานการณ์  "โรคซึมเศร้า" ในประเทศไทยนั้น ศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ระบุว่า  คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยผู้ป่วยจำนวน 100 คน สามารถเข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น ส่งผลให้คนไทยกว่า 70 % เสียชีวิตก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตาม  "โรคซึมเศร้า" ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการชัดเจนในช่วงอายุ 25 ปี จากนั้นอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจในระยะยาวได้

 

 

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้หญิงมีอัตราการป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" มากกว่าผู้ชาย แต่ผู้ชายกับมีอัตราการฆ่าตัวตายมากกว่า อย่างไรก็ตามพบว่า คนไทยพยายามฆ่าตัวตายมากถึงชั่วโมงละ 6 คน ทั้งปีมีคนพยายามฆ่าตัวตายมากกว่า 53,000 คน และฆ่าตัวตายสำเร็จ 4,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของไทย  

 

บางครั้งหลายอาจจะกำลังสงสัยว่าตัวเองตกอยู่ในสภาวะ "โรคซึมเศร้า" หรือไม่ โดย ศูนย์โรคซึมเศร้าไทย ระบุถึง อาการภาวะซึมเศร้า ไว้ดังนี้ โรคซึมเศร้าไม่ใช่อาการเบื่อ เซง ท้อแท้ ทั่วไป แต่เกิดจากความผิดปกติของการสื่อสารประสาทในสมอง อาการที่สามารถสังเกตุได้คือ ผู้ที่ตกอยู่มรภาวะซึมเศร้าจะรู้สึกเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวังอย่างรุนแรง เบื่อไม่อยากทำอะไรแม้แต่กิจกรรมเพลิดเพลินที่เคยชอบทำ อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้น 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนอื่น 20 เท่า 

 

อย่างไรก็ตามข้อมูลยังระบุเพิ่มเติมว่า คนไทยมักจะเกิดภาวะของ "โรคซึมเศร้า" ในช่วงวัยกหนุ่มสาว วัยเรียน วัยทำงาน ส่วนใหญ่ได้รับแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมและสังคมที่มักจะผลักดันให้ประชากรในวัยนี้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากยิ่งขึ้น  

 

โดยสัญาณเตือนและอาการอื่นๆ ในวัยหนุ่มสาวสามารถสังเกตได้ดังนี้

หมกหมุ่น เฉื่อยชา ไม่สนใจตัวเอง ไม่อยากพูดคุยกับใคร ไม่อยากเจอเพื่อนไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากเรียนหนังสือ ไม่มีสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน กินไม่ได้หรือกินมากขึ้น นอนไม่หลับหรือนอนมากขึ้น  หงุดหงิดไม่ร่าเริง ร้องไห้หนักมากแบบไม่มีเหตุผล วิตกกังวล ไม่กล้าตัดสินใจ  เหนื่อยง่าย รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง รู้สึกผิด ไร้ค่า สิ้นหวัง เบื่อโลก มีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือคิดฆ่าตัวตาย 

 

ทั้งนี้สำหรับการบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ ภาวะซึมเศร้า หรือ ความรู้สึกเศร้า และหากต้องการใครสักคนคอยรับฟัง พูดคุย สามารถโทรไปปรึกษาได้ที่สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย 02-7136793 เวลา 12.00-22.00 น. หรือ สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ