'บูลลี่' ฝันร้ายนักเรียนไทย ปัญหาใหญ่ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของเด็ก
'บูลลี่' ฝันร้ายนักเรียนไทย ปัญหาใหญ่ที่ไม่ใช่เรื่องของเด็กๆ นักวิชาการระบุตัดตอนวงจรกลั่นแกล้งให้ขาดต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ทุกฝ่าย มูลนิธิเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจับมือ สสส. สร้างบทเรียนให้เยาวชน
เด็กนักเรียนโดนบูลลี่ หรือ การ "บูลลี่" ในโรงเรียนเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2566 มีการนำเสนอข่าวที่ เด็กนักเรียนโดนเพื่อนกลั่นแกล้งมาแล้วจำนวนหลายครั้ง เริ่มต้นข่าวเศร้าเมื่อช่วงต้นปี 2566 นักเรียนหญิง อายุ 14 ปี จ.บุรีรัมย์ ถูกเพื่อนรุม "บูลลี่" อนาจารเป็นประจำสุดท้ายตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง
หลังจากนั้นไม่นานยังมีข่าว "บูลลี่" ออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เกิดเหตุการณ์ เด็กนักเรียนโดนบูลลี่ มากถึง 3 ครั้ง กรณีแรกเกิดขึ้นกับนักเรียนชายม.3 จ.สงขลา ที่พลัดตกตึกชั้น 4 จนได้รับบาดเจ็บสาหัสและทราบภายหลังว่าถูกเพื่อนผู้ชายแกล้ง
ล่าสุดเกิดเหตุการณ์ "บูลลี่" ในเวลาใกล้เคียงกันถึง 2 กรณีติด ๆ คือ เด็กนักเรียนหญิงชั้นม.ต้นโรงเรียนเอกชนชื่อดังในจ.ฉะเชิงทรา ถูกเพื่อนๆ รุมทำร้าย แถมยังมีการถ่ายคลิปวิดีโอและประจานในกลุ่มเพื่อน
รวมไปถึงเหตุการณ์เด็กนักเรียนหญิงจ.ระยองที่ถูกเพื่อนรุมกลั่นแกล้ง "บูลลี่" กรีดสมุด เอาน้ำสาด และทุกวันศุกร์จะไปดักรอหน้าห้องน้ำเป็นประจำ รวมไปถึงเขียนด่าทอด้วยข้อความที่รุนแรง จนทำให้เด็กนักเรียนคนดังกล่าวกลายเป็น โรคซึมเศร้า
เหตุการณ์ เด็กนักเรียนโดนบูลลี่ เกิดขึ้นภายในโรงเรียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าและเหมือน สถานการณ์บูลลี่ จะไม่ได้รับการแก้ไขจากคุณครู หรือ โรงเรียนที่ดีมากพอ หลายครั้งที่เกิดเหตุการณ์ "บูลลี่" แต่ผู้ใหญ่ในโรงเรียน หรือ เพื่อนๆ กับเมินเฉยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เด็กนักเรียนที่ถูกกระทำกลายเป็นโดนต่อว่ากลับว่าหลังจากที่ไปฟ้องครู
ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันการ "บูลลี่" ในโรงเรียนนั้น ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญ พร้อมสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องให้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ถูกกระทำ ผู้กระทำ รวมไปถึงบุคคลที่ 3 หรือผู้เห็นเหตุการณ์ เพื่อหยุดพฤติกรรมการ "บูลลี่" ในสังคมไทยที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น
ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และผู้จัดการสายด่วนอินเทอร์เน็ตไทยฮอตไลน์ ภาคีเครือข่าย สสส. ได้ให้สัมภาษณ์ ถึง กระบวนการส่งเสริม และหยุดการ "บูลลี่" ในโรงเรียนให้ลดน้อยลง ว่า ปัจจุบันพบว่าการกลั่นแกล้ง หรือ "บูลลี่" ในโรงเรียนเกิดขึ้นเป็นประจำโดยการกระทำนั้นมีทั้งการกลั่นแกล้งทางร่างกาย และหนักที่สุดคือการกลั่นแกล้งแบบ CyberBullying ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำที่เลวร้าย และทำร้ายจิตใจคนถูกกลั่นแกล้งได้มากที่สุด
หากต้องการจะหยุดพฤติกรรม "บูลลี่" ในโรงเรียน หรือ ช่วยเหลือ เด็กนักเรียนโดนบูลลี่ นั้นจะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องให้กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ เพราะหากผู้เห็นเหตุการณ์ไม่ช่วยเหลือนั้นเท่ากับว่าเป็นการส่เสริมให้เกิดการกลั่นแกล้ง
ดังนั้นเพื่อเป็นการหยุดพฤติกรรม "บูลลี่" ให้ได้ผลทางมูลนิธิเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และ สสส. จึงได้ร่วมกันจัดทหลักสูตรสำหรับให้ความรู้ถึงแนวทางการจัดการ และรับมือกับพฤติกรรม "บูลลี่" โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน เยาวชน เพราะกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่เข้าใกล้พฤติกรรมบูลลี่มากที่สุด อีกทั้งยังถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกพฤติกรรมบูลลี่ ทำร้ายจิตใจจนส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจิต และมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย เนื่องจากเป็นวัยที่สภาพจิตใจไม่มั่นคง
ดร.ศรีดา กล่าวต่อไปว่า โดยหลักสูตรที่มูลนิธิและ สสส. ได้จัดทำขึ้นนั้นจะเน้นให้ความรู้ว่าการกระทำบางอย่างเป็นเรื่องผิดกฏหมาย ผู้ที่ทำการบูลลี่คนอื่นมีสิทธิโดนข้อหาหมิ่นประมาทได้ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงผลที่จะตามมา วิธีดูแลแก้ไข และการให้ความช่วยเหลือของโรงเรียน วิธีการเข้าไปช่วยเหลือของผู้เห็นเหตุการณ์ที่ถูกวิธี เพื่อไม่ให้ตัวเองถูกทำร้ายไปด้วย รวมไปถึงการแนะนำวิธีการตักเตือนที่ถูกต้อง เพื่อสร้างกระบวนการ และสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม