พฤติกรรมการ "บูลลี่" อาจจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคน 2 คน หรือระหว่างคน 1 คนกับคนอีกหลายหรือที่เรียกว่าการกลั่นแกล้ง แต่รู้หรือไม่ว่าการ "บูลลี่" ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นนอกจากผู้ถูกกระทำ และผู้กระทำแล้วยังมีบุคคลภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างการ บูลลี่ในสังคมไทย แบบไม่รู้ตัวได้เช่นกัน ดังนั้นการที่ไม่สนใจใยดี ปล่อยให้เกิดการกลั่นแกล้งกันเกิดขึ้น รวมไปถึงพฤติกรรมที่ปลูกฝังให้เด็กใช้ความรุนแรงถือว่าเป็นการสนับสนุน พฤติกรรมบูลลี่ ในทางอ้อม
ข้อมูลวิจัยระบุว่า เด็กและวัยรุ่นส่วนใหญ่ ไม่ชอบและรู้สึกไม่ดีเมื่อเห็นการรังแก แต่มีส่วนที่จะพยายามเข้าไปห้ามหรือยุติการรังแก และการรังแกส่วนใหญ่พบเห็นได้ในช่วงพักเที่ยง และบริเวณสนามเด็กเล่น
ข้อมูลจากคู่มือปฏิบัติสำหรับการป้องกันและการจัดการการรังแกกันในโรงเรียน ระบุไว้ว่า บุคลากรในโรงเรียน เพื่อน ผู้ปกครอง สังคม ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการ "บูลลี่" ทั้งสิ้น เริ่มจาก บุคลากรในโรงเรียน ครู ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างวัฒนธรรมในห้องเรียน จากการศึกษา พบว่า ครูที่แสดงออกว่าพยายามช่วยเหลือและจัดการไม่ให้มีการรังแกในห้องเรียนมีส่วนช่วยสำคัญในการลดปัญหาการกลั่นแกล้ง หรือพฤติกรรม "บูลลี่" แต่หากครูเพิกเฉยหรือไม่แสดงท่าที่เข้าไปช่วยเหลือเด็กที่ถูกรังแก นั้นเท่ากับว่าเป็นการส่งเสริมการรังแกทางออม โดยเฉพาะครูและผู้ใหญ่ในโรงเรียนไม่สอดส่อง และเข้าไปขัดขว่างการรังแกจะยิ่งเกิดบ่อยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในโรงเรียนยังมีการรังแกที่มองไม่เห็น เช่น ทางวาจา การรังแกผ่านโลกออนไลน์ที่พบบ่อยและเรื้อรัง
ผู้ปกครอง ถือว่ามีส่วนสำคัญในการดูแลพฤติกรรมการรังแก "บูลลี่" กลั่นแกล้ง ผู้อื่น จากข้อมูลพบว่าเด็กที่ถูกรังแกส่วนใหญ่เล่าให้ผู้ปกครองฟัง แต่เด็กที่รังแกคนอื่นน้อยมากที่จะบอกให้ผู้ปกครองทราบ ดังนั้นพ่อแม่อาจจะเป็นตัวส่งเสริมให้ เกิดการการรังแกกันในโรงเรียนได้ หากวิธีการเลี้ยงดู และมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง
เช่น การรังแกกัน บูลลี่กันเป็นเรื่องปกติ และยังเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต เด็กที่รังแกคนอื่นจะเลิกไปเองเมื่อโตขึ้น หรือการคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตัว ถ้าลูกสู้กลับสักครั้ง การรังแกก็จะไม่เกิดอีก เก็บเป็นความลับไม่แจ้งที่โรงเรียน เพราะกลัวสถานการณ์จะแย่ลง หรือการคิดว่าลูกไม่รังแกคนอื่น
สังคมแวดล้อมที่หล่อหลอมเด็ก และอาจจะมีผลให้เกิดการรังแกกัน โดยในชุมชน รวมไปถึงโลกออนไลน์ยังเป็นแหล่งรวมตัวอย่าง ของการใช้ความุรนแรงและอำนาจในการแก้ปัญหา ที่อาจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเลียนแบบได้ เช่น สื่อต่าง ๆ โทรทัศน์ ภาพยนต์ ละคร เกม สงคราม นักการเมือง
ทั้งนี้เด็กที่รังแกผู้อื่น หรือเด็กที่ถูกรังแก เป็นผลมาจากจากลักษณะการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เช่น มีตัวอย่างการใช้พลัง อำนาจ และความก้าวร้าวในบ้าน ไม่มีการตั้งกฎเกณฑ์หรือขอบเขตพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่ห้ามหรือไม่จัดการเมื่อเด็กรังแกคนในบ้าน
ส่วนเด็กผู้ถูกรังแก เกิดจากการครอบครัวไม่ส่งเสริมให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเอง ไม่ส่งเสริมให้เด็กเข้าสังคม และมีความสำพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ปกป้องและควบคุมลูกมาเกินไป จนเด็กขาดทักษะในการคิดตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง