พฤติกรรม "บูลลี่" เสี่ยงกลายเป็น ไซโคพาธ แกล้งบ่อย ๆ สร้างเหยื่อแบบไม่รู้ตัว
พฤติกรรม "บูลลี่" ทำเป็นประจำเสี่ยงกลายเป็นไซโคพาธ แกล้งบ่อย ๆ ระวังสร้างเหยื่อไม่รู้ตัว หมอจิตแพทย์เผยบางการกระทำกระทบความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิต
พญ.เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ จิตแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวช ศูนย์สุขภาพใจ โรงพยาบาลวิมุต กล่าวว่า ในเชิงจิตวิทยาการ "บูลลี่" มีหลากหลายรูปแบบ และหลายพฤติกรรมตั้งแต่การ บูลลี่ หรือ กลั่นแกล้ง แบบไม่ได้ตั้งใจ ล้อเล่น ไปจนถึงพฤติกรรมการ "บูลลี่" ให้เกิดความอับอาย
สร้างบาดแผลในจิตใจให้แก่เหยื่อ ในบางครั้งการ"บูลลี่" เพื่อนเป็นประจำจากความเคยชินอาจจะสร้างให้เพื่อนกลายเป็นเหยื่อการถูก "บูลลี่" โดยไม่รู้ตัวได้เช่นกันในบางหลายหากโดนมาก ๆ แรงๆ โดนเป็นเป็นประจำสามารถนำมาซึ่งภาวะซึมเศร้า กังวล มีภาวะไม่มั่นใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าโดนเรื่องอะไร
แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งพฤติกรรมการ "บูลลี่" อาจจะไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน ซึ่งในกรณีนี้มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีภูมิคุ้มกัน ทางสังคมที่ดี สามารถจัดการกับอารมณ์ และมองว่าเรื่องที่ถูกล้อหรือ "บูลลี่" นั้นเป็นเรื่องขำขัน ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่าภาวะการรับมือการถูกบูลลี่ กลั่นแกล้งในวัยเด็กนั้นบางครั้งมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางความคิด ความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิต ในบางคนทำให้กลายเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวได้ง่าย โดยพบว่าการถูก "บูลลี่" ในวัยเด็กจะมีผลกระทบมากกว่าการถูกบูลลี่ในช่วงวัยทำงาน เนื่องจากในช่วงวัยทำงานภูมิคุ้มกันทางด้านอารมณ์ สังคมจะมีมากกว่า
พญ.เพ็ญชาญา กล่าวต่อว่า แม้ว่าการพฤติกรรมการ "บูลลี่" จะสามารถแยกได้ชัดเจนว่าเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ คนที่ถูกบูลลี่อาจจะไม่ได้รู้สึกว่าถูกกระทำ หรือในกรณีทำแล้วขอโทษเพราะเกิดจากความไม่ได้ตั้งใจของผู้ถูกกระทำลักษณะอาจจะไม่เข้าข่ายการบูลลี่หรือรังแก แต่ในทางกลับกันผู้กระทำบางคนมีพฤติกรรมชัดเจนในการ "บูลลี่" คนอื่นทำบ่อยจนกลายเป็นปัญหา ซึ่งคนที่มีบุคคลิก หรือพฤติกรรมส่อไปในทางรุนแรงในอนาคตมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็น ไซโคพาธ หรือ ก่ออาชญากรรมได้เช่นกัน
ดังนั้นการดูแล อบรม หรือการปรับพฤติกรรมจะต้องเริ่มตั้งแต่ครอบครัว เช่น ครอบครัวใช้ความรุนแรงหรือไม่ หากมีจะต้องหยุดทันที เพื่อให้พฤติกรรมเหล่านี้ถูกส่งต่อไปลูก โรงเรียน จะต้องมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมจะต้องมีครูแนะแนวในเชิงจิตวิทยายอมรับว่าโรงเรียนมีการ "บูลลี่" จริงและพร้อมหาทางแก้ไข ปลูกฝั่งค่านิยมให้นักเรียนหยุดมองว่าคนที่อ่อนแออกว่าคือเหยื่อที่จะต้องถูกรังแก