บทเรียนเด็ก 14 ปี คิดสั้นเพราะโดน "บูลลี่" สัญญานเตือนให้คนไทยหยุดนิ่งดูดาย
บทเรียนสำคัญเด็ก 14 คิดสั้นตัดสินใจลาโลกเพราะโดน "บูลลี่" ถึงเวลาแล้วหรือยังที่สังคมไทยจะหยุดเมินเฉยต่อการกลั่นแกล้ง จิตแพทย์แนะ จับ 3 สัญญาณอันตรายที่คนรอบข้างต้องเฝ้าระวังก่อนสาย
ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นโฆษก กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากเหตุการณ์สะเทือนใจที่เด็กวัยหญิงวัย 14 ปีในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ฆ่าตัวตายเนื่องจากโดนเพื่อน "บูลลี่" ล้อเรื่องพ่อ แม่ ทำอนาจารในโรงเรียนจนสภาพร่างกายและจิตใจทนไม่ไหว ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีสังคมไทยยังคงยึดติดเกี่ยวกับความล้อ เรื่องพ่อแม่ ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยที่พบว่าพฤติกรรมการบูลลี่ในโรงเรียนส่วนใหญ่มักจะเป็นการล้อเรื่องพ่อกับแม่สูงกว่า 50%
ส่วนสาเหตุ ที่เรื่องพ่อแม่หรือครอบครัวมักจะถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในการกลั่นแกล้งหรือล้อเลียนนั้น เนื่องจาก เรื่องพ่อแม่หรือครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งที่สำคัญในชีวิต พ่อแม่เปรียบเสมือนจุดยึดเหนียวจิตใจ การล้อเลียนหรือพูดไปถึงพ่อแม่ในทางที่เสียหายจึงทำให้การล้อเลียนหรือพูดไปถึงพ่อแม่ในทางที่เสียหายจึงทำให้เหยื่อ สูญเสียความมั่นคงทางจิตใจได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเหยื่อหรือเด็กที่มีปัญหาครอบครัวพ่อแม่แยกทางกัน
ดร.นพ. วรตม์ กล่าวต่อว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า สังคมไทย สถาบันครอบครัว โรงเรียน จะต้องให้ความสำคัญจะต้องให้ความสำคัญและเข้าช่วยเหลือเหยื่อในทันที หากพบว่า เด็กนักเรียน บุตรหลานเริ่มมีความผิดปกติทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในเบื้องต้นสามารถสังเกตสัญญาณบ่งบอก เด็กกำลังกลายเป็นเหยื่อของการ "บูลลี่" และรังแกในโรงเรียน โดยสามารถสังเกตได้จาก 3 สัญญาณเตือนดังนี้
1.สัญญาณเตือนที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน อย่างเช่นร่องรอยการโดน บูลลี่ และรังแกทางร่างกาย โดยสามารถสังเกตได้ว่า เด็กอาจจะมีรอยแผลที่เกิดจากการขีดข่วน มีเลือดออกติดตามเสื้อผ้า มีการปิดบังอวัยวะบางอย่างในจุดที่ถูกทำร้าย ส่วนสภาพทางด้านจิตใจอาจจะพบได้ว่าเด็กที่ถูก บูลลี่ จะไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากเล่าเรื่องเพื่อนให้กับผู้ปกครองฟัง
2.สัญญาณของการโดนบูลลี่ผ่านทางโซเชียล ส่วนใหญ่จะพบว่าเหยื่อไม่อยากเล่นมือถือ ไม่อยากมอง หรือเกิดความหวาดกลัวขณะที่พบว่ามือถือมีสัญญาณเตือน หรือมีเสียงเรียกเข้า
3.สัญญาณที่บ่งบอกว่าเหยื่อที่ถูก"บูลลี่" กำลังจะ เหยื่อที่ถูก "บูลลี่" เสียงเป็นซึมเศร้าและ กำลังจะฆ่าตัวตาย โดยส่วนใหญ่พบว่ามักจะมีการสั่งเสียยบอกลา เช่นการเขียนจดหมายลา หรือการฝากให้ช่วยดูแลของรักของตัวเอง รวมไปถึงการตัดพ้อว่าตัวเองไม่มีอนาคต บางครั้งก่อนจะถึงจุดที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายนั้น ในเด็กบางคนอาจจะมีการทำในเด็กบางคนอาจจะมีการทำร้ายตัวเองก่อน
ดร.วรตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีการวิจัยและเก็บข้อมูลจากผู้ที่เคยถูก "บูลลี่" และพบว่า หลายครั้งการถูก "บูลลี่" ถูกเพิกเฉยจากคนรอบข้าง แม้ว่าเหยื่อจะเคยแจ้ง หรือบอกไปแล้วว่ากำลังตกอยู่ในสถานะการถูก "บูลลี่" อีกทั้งเหยื่อยังกลัวว่าเมื่อไปแล้วจะถูกซ้ำเติม เช่น ถูกมองว่าอ่อนแอเกินไป ซึ่งงานวิจัยได้ระบุว่าเหยื่อบางคนท้อแท้ที่จะเล่าพฤติกรรมของผู้กระทำให้แก่คนอื่นฟัง ดังนั้นตนจึงเห็นว่ากรณีที่สังคมกำลังเพิกเฉยต่อการ "บูลลี่" ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงในสังคมไทบอย่างมาก และยังเป็นจุดที่อันตรายค่อนข้างมากที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง อาชญากรรม ทั้งนี้สำหรัยพฤติกรรมและการ "บูลลี่" แม้ว่าบางครั้งความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของเหยื่อ หรือผู้ถูกกระทำ แต่ในบางรายการถูกระทำบ่อย ๆ ซ้ำๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจก็สามารถนำมาซึ่งความรุนแรงได้เช่นกันไม่ว่าจะเป็นการเริ่มทำร้ายตัวเอง หรือหนักสุดไปจนถึงขั้นทำร้ายคนอื่น
ส่วนกรณีของเด็กวัย 14 ปี จังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งถูกเพื่อน ๆ "บูลลี่" เรื่องพ่อแม่นั้น มีความสอดคล้องกับผลการวิจัยของเครือข่ายนักกฎหมายเยาชน ซึ่งมีการระบุว่า 3 พฤติกรรมแรกที่มีการบูลลี่ในกลุ่มเด็กอายุ 10-15 ปี พบว่า การตบหัว 62.7% การล้อพ่อแม่ 43.57% การพูดจาเหยียดหยาว 41.78% โดยในกลุ่มเด็กที่ถูกบูลลี่หรือกลั่นแกล้งนั้นกว่า 42.86% คิดตอบโต้เอาคืน ตกอยู่ในภาวะเครียด 18.2% ไม่มีสมาธิในการเรียน 15.73% ไม่อยากไปโรงเรียน 15.6% มีพฤติกรรมเก็บตัว หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และ 13.4% มีภาวะซึมเศร้า