ชีวิตดีสังคมดี

ครม. ส่ง กฎหมาย 'สมรสเท่าเทียม' เข้าสู่สภาฯ พิจารณา LGBTQ+ สมรสกันได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ครม. ไฟเขียวส่งร่างกฎหมาย 'สมรสเท่าเทียม' ให้สภาฯ พิจารณา แก้ไขคำจำกัดความเพศสภาพ ต่อไปคู่รักเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ เตรียมแก้กฎหมายบำเหน็จ บำนาญ

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (21 พ.ย.) ว่า กระทรวงยุติธรรม ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้มีกฎหมายรับรองสิทธิการก่อสร้างครอบครัวของคู่รักเพศเดียวกัน หรือ พ.ร.บ. "สมรสเท่าเทียม" โดยมีหลักการสำคัญคือ “แก้ไขคำว่า ชาย หญิง สามี ภรรยา เป็น ‘บุคคล’ คู่หมั้น คู่รับหมั้น และคู่สมรส เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมว่า การสมรสต่อไป ชายหญิง ชายชาย หรือ หญิงหญิง สามารถสมรสกันได้ โดยไม่ตัดสิทธิการสมรสเหมือนชายหญิง”  

นายคารม ยังชี้แจงขั้นตอนระหว่างนี้ว่า จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันกับ  "สมรสเท่าเทียม"  อาทิ เรื่องบำเหน็จ บำนาญ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา จะไปแก้ไขให้สอดคล้องกับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งดังกล่าว ซึ่งกระทรวงยุติธรรม ได้ดำเนินการรับฟังความเห็นเรียบร้อยแล้ว โดยหลังการตรวจสอบของกฤษฎีแล้ว ก็สามารถเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนได้ทันที   

 

 

 

ด้าน นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงความแตกต่างระหว่างร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง หรือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กับร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ที่เคยถูกเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในสมัยรัฐบาลก่อนหน้านี้ว่า ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตก่อนหน้านี้ รับรองเพียงการใช้ชีวิตคู่ สมรสกันได้ แต่สิทธิตามกฎหมายจะไม่ได้ เช่น สิทธิในมรดก หรือสิทธิอื่น ๆ แต่ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม แม้จะเป็น ชายสมรสกับชาย หรือ หญิงสมรสกับหญิง ก็ถือเป็นคู่สมรสเหมือนชายหญิง สามารถได้รับสิทธิตามกฎหมายเช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิงทั้งหมด  

สำหรับรายละเอียดกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" มีรายละเอียดดังนี้  

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้สิทธิรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการจะคุ้มครองไปถึงคู่สมรสด้วย ฉะนั้นหากกฎหมายระบุสถานะบุคคลว่าเป็น “คู่สมรส” ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ที่สมรสกับข้าราชการก็ย่อมได้รับสิทธิรักษาพยาบาลนั้นเช่นเดียวกัน  โดยร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จากเดิมระบุถ้อยคำว่า อนุญาตการหมั้นและการสมรสเฉพาะ ‘ชายและหญิง’ ให้เปลี่ยนเป็นอนุญาตให้ ‘บุคคลทั้งสอง’ สามารถหมั้นและจดทะเบียนสมรสเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิงทั่วไป และเปลี่ยนคำว่า “สามีภริยา” ในป.พ.พ.ให้เป็น “คู่สมรส”  

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ