ชีวิตดีสังคมดี

'ลาปวดประจำเดือน' ในต่างประเทศลาแบบใด แบบไหนเหมาะกับบริบทของเมืองไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผ่ากฎหมาย 'ลาปวดประจำเดือน' Menstrual leave ในต่างประเทศใช้วิธีการลาแบบใด สิทธิสำคัญที่ต้องเท่าเทียม แล้วแบบไหนเหมาะกับบริบทประเทศไทย

สิทธิการลาหยุดช่วงมีประจำเดือนของผู้หญิงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดกันหลายต่อหลายครั้งในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดที่รับไปดำเนินการ หรือแก้ไขกฎหมายให้สามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรมสักครั้งดังนั้นในประเทศไทน "ลาปวดประจำเดือน" จึงเป็นเรื่องที่ไกลเกินกว่าหญิงไทยจะคาดฝัน แม้ว่าหลายฝ่ายจะพร่ำบอกว่ามันควรจะเป็นสิทธิความเท่าเทียมกันที่ทำงาน เพราะในช่วงมีประจำเดือนเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างมาก 

แต่ล่าสุดมหาวิทยาลัธรรมศาสตร์ ได้เริ่มทำให้การ  "ลาปวดประจำเดือน" เป็นสิทธิที่นักศึกษาหญิงสามารถทำได้โดยไม่กระทบการเรียน โดยที่ผ่านมา องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผนแพร่บันทึกข้อความอนุมัติให้มีการลาหยุดกรณีนักศึกษาหญิงปวดประจำเดือน โดยไม่กระทบการจัดการเรียนการสอน ฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พิจารณาถึงความสำคัญของนักศึกษา ที่ได้รับผลกระทบจากการเป็นประจำเดือน  

 

 

 

สำหรับการ "ลาปวดประจำเดือน" ในประเทศไทยยังไม่ได้มีวี่แววว่าจะสามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะในองค์ราชการ บริษัทเอกชน  เพราะหลายคนยังมองว่าการ ปวดประจำเดือนคืออาการป่วยอย่างหนึ่ง หากไม่สามารถมาทำงานได้ก็แจ้งเป็นลาป่วยต่อหัวหน้า แต่ในต่างประเทศมีการผลักดันแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการ "ลาปวดประจำเดือน" อย่างชัดเจนพร้อมกับกำหนดรายละเอียดด้วยว่า ผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะสามารถลางานได้กี่วัน และลาในรูปแบบใด ทำให้การลาปวดประจำเดือนในต่างประเทศเป็นเรื่องที่บริษัทเอกชนตระหนักและให้ความสำคัญอย่างมาก  

อย่างไรก็ตาม นโยบายการลาปวดประจำเดือนเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1920 โดยเริ่มจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียที่อนุญาตให้พนักงานผู้หญิงที่มีประจำเดือนได้รับการปล่อยตัวจากการใช้แรงงาน และได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน  โดยเว็บไซต์ NDTVWORLD ได้เผยแพร่สิทธิการ "ลาปวดประจำเดือน" ของต่างประเทศต่างๆ ทั่งในฝั่งยุโรปและเอเชีย ซึ่งแต่ละประเทศมีการใช้โมเดลการ "ลาปวดประจำเดือน" ที่แตกต่างกัน  

 

 

สเปน เป็นประเทศแรกในยุโรปที่มีการผ่านกฎหมาย Menstrual leave ที่บังคับให้นายจ้างให้ลูกจ้างที่มีประจำเดือนลาได้ 3-5 วันต่อเดือนโดยยังจ่ายค่าจ้างในกรณีที่มีใบรับรองแพทย์แสดงชัดเจนว่า ลูกจ้างคนดังกล่าวมีอาการจากการเป็นประจำเดือนจนไม่สามารถทำงานได้ โดยรัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนแก่บริษัทต่างๆ ที่ให้สวัสดิการนี้แก่พนักงาน กฎหมายนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้มีประจำเดือนและนักเรียกร้องสิทธิทั้งในและนอกประเทศ

ไอรีน มอนเตโร รัฐมนตรีกระทรวงความเสมอภาค ได้ให้คำมั่นว่า "ผู้หญิงไม่ต้องทำงานด้วยความเจ็บปวดอีกต่อไป ไม่ต้องกินยาก่อนมาทำงานอีกต่อไป และไม่ต้องปิดบังความจริงที่ว่าเราเจ็บปวดจากประจำเดือนจนเราไม่สามารถทำงานได้"

 

 

อินโดนีเชีย ผ่านร่างกฎหมาย "ลาปวดประจำเดือน" ตั้งแต่ปี 2546 โดยกฎหมายได้ให้สิทธิผู้หญิงลาในช่วงที่มีประจำเดือนได้ 2 วัน/เดือน โดยที่ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า แต่บทบัญญัติดังกล่าวให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือนายจ้าง จึงส่งผลให้บางบริษัทอนุญาตให้ลาได้แค่ 1 วัน/เดือน หรือนางจ้างบางบริษัทก็เลือกที่จะเพิกเผยต่อบทบัญญัติดังกล่าว 

 

 

ญี่ปุ่น ย้อนกลับไปในปี 1947 มีกฎหมายที่ระบุว่า บริษัทต่างๆ จะต้องอนุญาตให้ผู้หญิงลาเมื่อปวดท้องประจำเดือนได้หากพวกเขารู้สึกไม่สบายได้มากพอตามที่ผู้หญิงต้องการ โดยในกฎหมายไม่ต้องระบุว่า ระหว่างที่ผู้หญิง "ลาปวดประจำเดือน" จะต้องจ่ายเงิน ทั้งนี้จากการสำรวจของกระทรวงแรงงานเมื่อปี 2020 ระบุว่ มีบริษัทมากกว่า 30 แห่งยินดีที่จะเสนอค่าจ้างให้ผู้หญิงที่ลาระหว่างมีประจำเดือน แต่การสำรวจใน 6,000 บริษัท พบว่ามีผู้หญิในประเทศญี่ปุ่นประมาณ 0.9% เท่านั้น ที่ลาระหว่าที่มีประจำเดือน 

 

 

เกาหลีใต้ สามารถ "ลาปวดประจำเดือน" ได้ 1 วัน/เดือน แต่ในกฎหมายได้ระบุว่า ผู้หญิงที่ลาเมื่อประจำเดือนจะไม่ได้รับค่าจ้าง  นอกจากนี้กฎหมายยะงระบุเอาด้วยว่า หากบริษัทหรือนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับสูงสุด 5 ล้านวอน หรือราวๆ 3.8 ดอลล่าร์  จากการสำรวจในปี 2017 พบว่าผู้หญิงเกาหลีใต้มีการลาเมื่อปวดท้องประจำเดือนเพียงเล็กน้อยแค่ 19% เท่านั้น  

 

 

ไต้หวัน ได้ออกพ.ร.บ.ความเท่าเทียมทางเพศ โดยกำหนดให้ผู้หญิงสามารถใช้สิทธิ Menstrual leave ได้ 3 วันต่อปี ซึ่งจะไม่นับรวมในวันลาป่วย 30 วันตามกฎหมาย  ทั้งนี้ผู้หญิงสามารถจะใช้วันลาดังกล่าวในเดือนใดก็ได้ โดยคนที่ลาปวดประจำเดือนจะได้เงินเงินเพียง 50 % ขอค่าจ้าง 

 

 

แซมเบีย ผ่านร่างกฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงหยุดงานในช่วงมีประจำเดือนได้ตั้งแต่ปี 2558 โดยสามารถ "ลาปวดประจำเดือน" 1 วันต่อเดือนโดยที่ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและไม่ต้องส่งใบรับรองแพทย์  แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะได้รับการยอมรับและสนับสนุนโดยทั่วไป แต่นายจ้างบางรายก็ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ด้วยการสนับสนุนจากสหภาพแรงงานมีผู้หญิงเริ่มใช้สิทธิกันเพิ่มมากขึ้น 


 

ที่มา: https://www.ndtv.com/world-news/the-global-push-for-paid-menstrual-leave-as-spain-brings-in-law-3789125

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ