ชีวิตดีสังคมดี

'แท็กซี่' ขอ คมนาคมสางปัญหาคารา คาซังจัดการแอปฯ หามาตรการผ่อนรถ EV

'แท็กซี่' ขอ คมนาคมสางปัญหาคารา คาซังจัดการแอปฯ หามาตรการผ่อนรถ EV

06 ก.ย. 2566

เรื่องด่วนจากพี่ 'แท็กซี่' ต้องเร่งหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้สางปัญหาคารา คาซัง จัดการรถบ้านเรียกผ่านแอปฯ หามาตรการผ่อนรถ EV ย้ำยังไม่แตะเรื่องค่าโดยสาร

ปัญหา "แท็กซี่" จะผ่านไปกี่ปีก็แก้ไม่ตก และยิ่งช่วงนี้มีบริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันมากมาย การแก้ปัญหาการควบคุม จะยิ่งยากมากขึ้นโดยเฉพาะการดูแลมาตรฐานการบริการที่เรียกว่าเป็นงานหินของหน่วยงานที่จะต้องเข้ามาควบคุม รวมไปถึงสมาคมสำหรับคนขับ "แท็กซี่" ก็ระแวดระวัง "แท็กซี่" ที่อยู่ในความดูแลได้ยากเหมือนกัน 

 

 

ภาพประกอบข่าวเท่านั้น

นอกจากจะต้องควบคุมเรื่องมาตรฐานการบริการแล้ว ราคา และคุณภาพของ "แท็กซี่" ก็ถือว่าเป็นอีกโจทย์ใหญ่ที่กระทรวงคมนาคมจะต้องดูแลเช่นกัน โดยเฉพาะการควบคุมให้รถรับจ้างทั้งแท็กซี่ และ รถที่เรียกผ่านแอปพลิเคชัน เข้ามาอยู่ภายใต้กฎระเบียบเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเลือกปฏิบัติ และเลือกรับบริการของประชาชนจนทำให้ผู้ขับ "แท็กซี่" อยู่ต่อไม่ได้ รวมไปถึงการยกระดับรถ "แท็กซี่" ของประเทศไทยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย และรัฐบาลชุดใหม่จะต้องให้ความสำคัญเช่นกัน  

ว่าด้วยเรื่องปัญหาของ "แท็กซี่" คงไม่มีใครรู้ดีไปกว่าคนขับแท็กซี่ คมชัดลึก มีโอกาสให้สัมภาษณ์ สมาคมประสานงานรถรับจ้างสุวรรภูมิ เพื่อสอบถามถึงปัญหา และสิ่งที่อยากให้รัฐมนตรีท่านใหม่อย่าง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผลักดันอย่างเร่งด่วน 

 

 

 

นายพัลลภ ฉายินธุ นายกสมาคมประสานงานรถรับจ้างสุวรรณภูมิ กล่าวว่า หลังจากที่มีประกาศปรับอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ไปล่าสุดเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาส่งผลให้รายได้ และความเป็นอยู่ของคนขับ"แท็กซี่" ดีขึ้น แต่ที่ผ่านมาเราก็ยังคงต้องเผชิญกับภาวะค่าเชื้อเพลิง ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจุบันคู่แข่งของแท็กซี่เองไม่ได้เป็นคนขับแท็กซี่ด้วยกันเหมือนในอดีต เพราะทุกวันนี้แอปฯ เรียกรถรับจ้างเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งการตลาดค่อนข้างมาก ซึ่งบริการดังกล่าวเป็นการเรียกรถแบบรถบ้านที่ไม่ได้ลงทะเบียนอย่างถูกต้อง ซึ่งปัญหาที่ตามมา คือ การเรียกราคาที่ต่ำกว่าราคาของ "แท็กซี่" รวมไปถึงโค๊ดส่วนลดต่างๆ ทำให้ปัจจุบัน "แท็กซี่" ค่อนข้างได้รับผลกระทบ แม้ว่าที่ผ่านมาแท็กซี่จะตกเป็นจำเลยเรื่องการปฏิเสธผู้โดยสาร การไม่กดมิเตอร์ แต่ต้องบอกว่าไม่ใช่แท็กซี่ทุกคันที่อยู่ในระบบ เพราะขณะนี้มีแท็กซี่ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกประมาร 70,000-80,000 คัน ซึ่งบางคันอยู่นอกเหนือการดูแลของสมาคมฯ

 

 

โดยทางสมาคมฯเองได้พยายามที่จะเพิ่มมาตรฐานาการบริการให้ดี เพื่อลดข้อครหาโดยเฉพาะการปฏิเสธผู้โดยสาร การไม่ยอมกดมิเตอร์ แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องการให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจัดการอย่างเร่งด่วนคือ การจัดการและนำรถบ้านที่เรียกผ่านแอปฯเข้าสู่ระบบ และอยู่ภายใต้มาตรฐานการให้บริการแบบเดียวกัน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค้างคามานานมากแล้ว และไม่มีผู้ใดจัดการได้เลย 

 

 

 

นายกฯ สมาคมประสานงานรถรับจ้างสุวรรณภูมิ ยังบอกอีกว่า ส่วนปัญหาต้นทุนค่าเชื้อเพลงที่แพงมากขึ้น ตนคิดว่าสามารถแก้ได้ โดยรัฐเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนให้คนขับแท็กซี่หันมาใช้ รถ EV ตอนนี้แท็กซี่มีความพร้อมที่ทรานฟอร์มตัวเองมาใช้รถพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เพราะปัจจุบัน "แท็กซี่" ที่จดทะเบียนเริ่มทยอยหมดอายุ กระทรวงคมนาคมจะต้องมีมาตรการที่ชัดจนไม่ว่าจะส่วนลด การลดภาษี รวมไปถึงมาตรการผ่อนที่จะไม่สร้างภาระให้คนขับจนเกินไป  ดังนั้นตนในฐานะตัวแทนคนขับแท็กซี่จึงอยากได้แนวทางสนับสนุนจากทางรัฐบาลอย่างชัดเจน ว่าจะช่วยเหลือแท็กซี่ได้อย่างไรบ้าง  ทั้ง 2 ประเด็นในข้างต้น เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องยื่นหนังสือให้ไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพราะเราเชื่อว่าผู้ขับขี่แท็กซี่ทุกคนอย่าได้ความขัดเจนในนโยายการดูแลคนหาเช้ากินค่ำ ส่วนเรื่องปรับอัตราค่าโดยสารเราจะยัไม่พูดถึง เพราะเพิ่งมีการปรับมิเตอร์ไป เราไม่ต้องการให้ภาระตกไปอยู่กับประชาชนผู้ใช้บริการ