ชีวิตดีสังคมดี

จ่ายยา"ผู้ติดเชื้อ HIV" ทุกสิทธิไม่ได้ เข้าข่ายริดรอนสิทธิผู้ป่วยหรือไม่

จ่ายยา"ผู้ติดเชื้อ HIV" ทุกสิทธิไม่ได้ เข้าข่ายริดรอนสิทธิผู้ป่วยหรือไม่

11 ม.ค. 2566

จ่ายยาให้ "ผู้ติดเชื้อ HIV" ครอบคลุมสิทธิอื่นนอกจาก บัตรทอง ไม่ได้เข้าข่ายริดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานหรือไม่ อย่าให้กฎหมายมาแบ่งแยกการเข้าถึงบริการป้องกันโรคของผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง

กลายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมอีกหนึ่งเรื่องหลังจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยังไม่ได้รับการอนุมัติงบประมาณสำหรับการจ่าย ยา HIV และยา PrEP , PEP เพื่อต้าน HIV สำหรับ "ผู้ติดเชื้อHIV" เนื่องจากยังมีความเห็นต่างในประเด็นทางกฎหมาย เกี่ยวกับงบประมาณในส่วนของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของคนไทยทุกคนหรือเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทอง ทำให้มีข้อทักท้วงทางกฎหมายในประเด็นงบประมาณสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่ครอบคลุมเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทองเท่านั้น ไม่ใช่คนไทยทุกคนทุกสิทธิ  
 

 

ประเด็นดังกล่าวได้สร้างความหวาดวิตกให้คนในสังคมอย่างมาก  เพราะที่ผ่านมาการ ป้องกัน HIV และการดูแล "ผู้ติดเชื้อ HIV" ถือว่าเป็นสิ่งที่นานาประเทศต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นหากการจ่ายยาเกิดหยุดชะงักผู้ป่วย หรือกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้ใช้ สิทธิบัตรทอง ไม่สามารถรับยาได้อาจทำให้เกิดผลเสียตามมากมาย

ข้อมูลจากกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  ระบุว่า ประเทศไทยพบ "ผู้ติดเชื้อ HIV" ปี 2564 จำนวนราว 520,000 คน และคาดว่าพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 6,500 คนต่อประชากรทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน อายุ 15 –24 ปี  หากการจ่าย ยา HIV และ ยา PrEP,PEP ยาต้านซึ่งเป็นยาต้านไม่ได้ย่อมส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนเหล่านี้ และการป้องกันการ ติดเชื้อ HIV ด้วย 

สาเหตุที่กระทรวงสาธารสุขยังไม่สามารถอนุมัติงบประมาณสำหรับการให้บริการด้านการป้องกันเชื้อ HIV สืบเนื่องมาจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อ้างว่าการนำงบที่เกี่ยวกับการป้องกันและสุขเสริมสุขภาพ (Prevention And Promotion:P&P) จาก กองทุนบัตรทอง ไปใช้ดูแลทั้งผู้ใช้สิทธิบัตรทอง  ประกันสังคม สิทธข้าราชการ อาจจะไม่สอดคล้อง กับอำนาจหน้าทีและภาระกิจตามปพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.2545  ส่งผลให้ สปสช.ต้องออกหลักเกณฑ์การให้บริการสำหรับ "ผู้ติดเชื้อ HIV" ให้เฉพาะผู้ที่มีสิทธิบัตรทองเท่านั้น ส่วนสิทธิอื่น ๆ อาจจะต้องจ่ายเงินเอง  

 

นอกจากนี้ยังมีประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนบัตรทองปีงบประมาณ 2566 ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 ที่ผ่านทางหน่วยบริการ คลินิค อาจจะต้องหยุดจ่ายยาให้แก่ "ผู้ติดเชื้อ HIV" ผู้ที่ติดเชื้อจะต้องเข้ารับบริการตามสิทธิที่มีเท่านั้น 

 

ที่ผ่านมา สปสช.ได้ออกมาชี้แจ้ง เพื่อลดความกังวลให้  "ผู้ติดเชื้อ HIV" โดยระบุว่า ระหว่างนี้ผู้ที่อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพยังขอรับ PrEP, PEP จากคลินิกของท่านได้ตามปกติ ส่วนใครที่นอกสิทธิทาง สปสช.จะจ่ายย้อนหลังให้กับทางคลินิกเมื่อมีความชัดเจน อย่างไรก็ตาม เราเข้าใจว่าท่านอาจจะมีความกังวล ไม่เชื่อใจ ดังนั้นขอร้องให้ท่านส่งต่อพวกเขาไปยังสถานพยาบาลของรัฐ แต่เท่าที่พูดคุยกันส่วนใหญ่พบว่าหลายคลินิกยังยินดีให้บริการตามเดิม

 

กรณีการยกเลิกจ่ายยาให้แก่ "ผู้ติดเชื้อ HIV"  ที่ไม่ได้อยู่ในสิทธิบัตรทองนั้น ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นการริดรอนสิทธิด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานหรือไม่ เพราะในความจริงแล้วสิทธิในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพถือว่าเป็นที่มนุษย์ควรจะได้รับ