ปัดฝุ่นก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" อีกรอบหลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ในจ.หนองบัวลำภูไปวานนี้ (3 พ.ย. 2566) ล่าสุด นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็เตรียมเสนอที่ประชุม ครม. เพื่อของบประมาณจำนวน 28 ล้านบาท สำหรับออกแบบ "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" และประกอบการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โดยผลการศึกษา EIA จะต้องเสนอกลับไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เห็นชอบ EIA ก่อนส่งเรื่องกลับไปให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอเข้าครม.ต่อไป
สำหรับเส้นทางการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" เป็นโครงการที่แนวคิดเอาไว้ในปี 2547 สมัยที่นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เดินทางไปตรวจรราชการในพื้นที่จ.เลย ดังนั้นเลยมีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงแบบไม่ทำลายธรรมชาติ ไม่ตัดต้นไม่ อนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ขึ้นกระเช้าไปสามารถมองเห็นสัตว์ป่าในมุมสูงได้
ในช่วงนั้นไม่ค่อยมีคนเห็นด้วยกับการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" มากหนัก เพราะนอกจากการก่อสร้างที่อาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อิาชีพลูกหาบ ซึ่งเป็นอาชีพดั่งเดิมของคนในย่านนั้นด้วย โดยเมื่อปี 2559 นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนในขณะนั้ ออกแถลงการณ์คัดค้านการก่อสร้าง กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง หากสร้างจริงจะทำลายพื้นที่ป่าอนุรักษ์และแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของชาติจนย่อยยับ เพราะอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีสภาพพื้นที่ป่าที่มีความหลากหลายทั้งป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง รวมถึงสัตว์ป่าอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าแม่ค้าในย่านนั่นออกตัวคัดค้านโครงการสร้างกระเช้าภูกระดึง เพราะกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ประกอบการบนอุทยานหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องอนาคต อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น นี่คือความคิดเห็นจากคในพื้นที่เมื่อ 10 ปีก่อน
แต่ปัจจุบันทุกอย่างเปลี่ยนไปแม้แต่หอการค้าจ.เลยยังเคยให้ข้อมูลว่าต้องการให้ก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" เพราจะได้กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวภายในจังหวัด จากรายละเอียดแผนการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" มีการศึกษาความคุ้มค่ และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ตามแผนยุทธสาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลยปี 2565-2570 โดยมีการกำหนดว่าภายในปี 2570 จ.เลยจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 6.5% เติบโตเฉลี่ยรปีละ 15% คิดเป็นเงินประมาณ 35.5 ล้านบาท แน่นอนว่ากระเช้าขึ้นภูกระดึงจะกลายเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก
สำรวจออกแบบของบ 28 ล้านบาท ก่อนสร้างจริง
อย่างไรก็ตามการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกะดึง" ไม่ใช่โครงการที่จะสามารถดำเนินการได้เลยทันที เพราะจะต้องมีการสำรวจออกแบบ ประกอบการทำ EIA เสียก่อน โดยรายละเอียดในการดำเนินการนั้นจะต้องมีการออกแบบก่อสร้าง"กระเช้าขึ้นภูกะดึง" เก็บรายละเอียดโครงการ และจัดทำข้อมูลแบบ One Scale เพื่อใช้ในการพิจารณาตามข้อกำหนดในการจัดทำรายงาน EIA ใช้งบประมาณ 28 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจ้างสำรวจจ่ายเพื่อดำเนินการจ้างสำรวจออกแบบก่อสร้างโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง โดยครม. ระบุในเอกสารข้อมูล "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" ว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการและต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโดยเร็วเพื่อสำรวจออกแบบคู่ขนานไปกับการศึกษาและจัดทำรายละเอียดไป
ด้าน นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงโครงการก่อสร้าง "กระเช้าขึ้นภูกระดึง" ว่า กรมอุทยานฯ จะต้องพิจาณารายละเอียดข้อมูลเบื้องต้นก่อนว่า การก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าจะเป็นไปในรูปแบบใดการออกแบบมีความเหมาะสมกับพื้นที่หรือไม่เหมาะสม เพื่อหาแนวทางร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะกรมอุทยานฯ ไม่ได้เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีการอนุญาตให้องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เข้าไปสำรวจ ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สัตว์ป่าภายในอุทยานฯ ภูกระดึง ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.2566-ก.ย.2568 หรือประมาณอีก 2 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามยืนยันว่าการเข้าพื้นที่ในครั้งนี้ ไม่ใช่การทำการศึกษาผลกระทบ EIA และกรมอุทยานฯยังไม่ได้อนุมัติการก่อสร้างแต่อย่างใด
สำหรับยอด ภูกระดึง ตั้งอยู่บนความสูง 1,288 เมตรจากระดับน้ำทะเล นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าขึ้นไปบนยอดเขาสูงในระยะทางประมาณ 7 กม.โดยได้เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวตั้งแต่ 1 ต.ค.-31 พ.ค.ของทุกปี ซึ่งแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 50,000-60,000 คนขึ้นกับสัมผัสธรรมชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง