ชีวิตดีสังคมดี

เจาะต้นตอ 'PM2.5' รุนแรงเป็นภัยพิบัติ ปัจจัยรุมเร้าพัดฝุ่นพิษให้แรงขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เจาะต้นต่อ 'PM2.5'หน้าแล้งนี้รุนแรงจนยกระดับเป็นภัยพิบัติ ปลายปี 66 ถึงกลางปี 67 เปิดปัจจัยรุมเร้าพัดพาฝุ่นให้แรงขึ้น ทั้งหมอกควันข้ามแดน ปรากฎการณ์จุดระเบิดบนดวงอาทิตย์ในรอบ 11 ปี

วนเวียนกลับมาอีกครั้งสำหรับปัญหาฝุ่น "PM2.5" ในหน้าแล้งของบ้านเรา สัญญาณร้ายในปีนี้ที่บ่งบอกว่าฝุ่น "PM2.5" จะรุนแรงไม่แพ้ปีที่ผ่านๆมา คือ การที่หลายจังหวัดเริ่มมีค่าฝุ่นพิษเพิ่มสูงมากขึ้นแบบรวดเร็วทันทีหลังจากที่ฝนหยุดตก ดังนั้นปีนี้ปัญหา "PM2.5" จึงกลายมาเป็นประเด็นสำคัญที่หน่วยงานรัฐจะต้องเฝ้าดูแลให้สถานการณ์ทุเลาเบาบางลง 

 

 

ย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2566 นับครั้งไม่ถ้วนที่มีการรายการเมืองที่คุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก เชียงใหม่ เชียงราย รวมไปถึงกรุงเทพมหมานคร โผลขึ้นไปติด TOP 10 อยู่หลายต่อหลายครั้ง โดยในที่ผ่านมาจังหวัดในแถบภาคเหนือเผชิญวันที่คุณภาพแย่ต่อเนื่อง 4-5 เดือน และกรุงเทพมหานครตลอดทั้งปีมีวันที่คุณภาพอากาศดีเพียง 49 วันเท่านั้น และในช่วงฤดูแล้งต่อจากนี้ ประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้นปัญหา PM2.5 ที่กลายเป็นภัยพิบัติต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ 

จากอันดับเมืองใหญ่ที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก (27 พ.ย. 2566) ของเว็บไซต์ IQAir พบว่า เมืองลาฮอร์ ปากีสถาน เป็นเมืองที่คุณภาพอากาศแย่ที่สุด รองลงมีคือ เมืองเดลี อินเดีย ส่วนประเทศในแถบอาเซียน ฮานอย เวียดนาม อยู่อันดับที่ 4  เสิ่นหยาง จีน อยู่อันดับ 6  เซี่ยงไฮ้ จีน อยู่อันดับ 10 ส่วนเชียงใหม่ ประเทศไทยในช่วงนี้อยู่ในอันดับที่ 32 ของโลก ฝุ่นPM2.5 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพในระดับปานกลาง แม้ว่าระยะนี้ประเทศไทยอาจจะยังไม่พุ่งติดอันดับ 1 ใน 10 แต่ต้องจับตาดูในระยะนี้ไปจนถึงกลางปี 2567 เพราะมีการคาดการณ์ว่าปัญหาฝุ่น "PM2.5" จะรุนแรงแบบไม่แผ่วแน่นอน 

นายบัณรส บัวคลี่ สภาลมหายใจภาคเหนือ ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก เพื่อฉายภาพต้นตอ ปัญหาที่จะส่งผลกระทบความรุนแรงของฝุ่น "PM2.5" ในประเทศไทย  ว่า  ปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหาฝุ่น "PM2.5" ในหน้าแล้งนั้นจะต้องวิเคราะห์ให้กว้างและไกลมากขึ้นจากประเทศไทยประมาณ 500 กิโลเมตร นั้นหมายความเราจะต้องดูสถานการณ์ฝุ่นทั้งอาเซียน เพราะในเขตพรมแดน ลาว เมียนมา และกัมพูชา ฝุ่น ควัน สามารถพัดข้ามชายแดนมาถึงกันหมด โดยแน่นอนว่าแหล่งกำเนิดของฝุ่นควันหลักๆ มาจากการเผาในที่โล่ง  แหล่งไฟป่า การเผาในภาคเกษตรที่มีผลมากที่สุด ปัจจุบันแหล่งกำเนิดไฟไม่ได้ลดลง และการพัดพาฝุ่นควันข้ามแดนยังขึ้นอยู่กับทิศทางของลมอีกด้วย ดังนั้นปัญหา "PM2.5" ในประเทศไทยไม่มีทางลด และมีแต่จะเพิ่มขั้นเท่านั้น เพราะมีการก่อมลพิษที่เพิ่มมากขึ้น 

 

 

จากคำบอกเล่าของ นายบัณรส แสดงให้เห็นภาพที่ชัดขึ้น ว่า ปัญหา "PM2.5" ฝุ่นควัน เดินทางได้อย่างไร้ขอบเขต และเป็นปัจจัยหนุนให้สถานการณ์ ฝุ่น ควันในประเทศไทยแย่ลงด้วย และการที่จะห้ามไม่ให้ประเทศเพื่อนบ้านหยุดเผา ก็คงจะเกินอำนาจขอบเขตของรัฐบาลไทย เพราะแค่การคุมไม่ให้เผาในประเทศยังทำได้ยาก อย่างไรก็ตามสิ่งที่ประเทศไทยทำได้คือการลดปัญหา และปัจจัยภายในประเทศที่มีผลต่อฝุ่นควัน และ PM2.5 เพื่อบรรเทาภาวะวิกฤต และทำให้เกิดฝุ่นในประเทศน้อยที่สุด ผ่านมาตรการต่างๆ เพราะการควบคุมฝุ่นควันข้ามแดนจะต้องรอแค่ให้ฝนตกลมาบรรเทาเท่านั้น เพราะมาตรการที่รัฐบาลไทยกำหนดไม่ควบคุมนอกประเทศไม่ได้ แต่ก็ยังถือว่ามีความชัดเจนกว่าปีที่ผ่านมาๆ 

 

 

นายบัณรส ได้แสดงความคิดเห็นถึงมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่น PM2.5 เอาไว้ว่า ในปีนี้มาตรการและแนวทางการแก้ปัญหา ฝุ่นPM2.5 ฝุ่นควัน ของรัฐบาลมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะเรากำลังจะมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการออกกฎหมาย  มีการตั้งเป้าเชิงยุทธศาสต์ที่ชัดเจนโดยเฉพาะการลดจำนวนจุดความร้อน (HotSpot)อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากปีก่อนๆ โดยในปีนี้มีการกำหนดลดจุด HotSpot ในเขตไฟแปลงใหญ่ ในพื้นที่ป่าสงวน และป่าอนุรักษ์โดยจะต้องลดลงให้ได้ 50% ของพื้นที่ป่า รวมไปถึงการปรับยุทธวิธีแนวกันไฟจากแนวกั้นไฟแบบนิ่ง เป็นแบบเคลื่อนไหว ซึ่งมีการจ้างชาวบ้าน อาสาสมัครมาดูแลเพิ่มขึ้น แนวทางเหล่านี้ตนมองว่าเป็นความกระตือรือร้นของภาครัฐที่มีมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา 

 

 

ส่วนพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นควัน และ "PM2.5" จากการเผาในที่โล่งมากที่สุด คงหนีไม่พ้นเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ เพราะโดยภูมิศาสตร์ของพื้นที่แล้ว มีทั้งภูเขาจำนวนมาก และมีความเฉพาะของที่พื้นที่ที่ทำให้เกิดสภาพอากาศปิด แต่ทั้งนี้สภาพดิน ฟ้า อากาศ ก็เป็นเรื่องที่คำนวณและคาดการณ์ได้ยาก เพราะมีความผิดเพี้ยนจากภาวะโลกร้อนอยู่ตลอดเวลา โดยที่ผ่านมาเราเห็นได้ชัดเจนจากการพยากรณ์อากาศในช่วงเดือนเม.ย. ที่คาดการณ์ว่าฝนจะตก แต่ฝนกลับไม่ตก ซึ่งการพยากรณ์เช่นนี้มีผลทำให้เกิดไฟแสนรู้ (ไฟที่เกิดจากคน) จำนวนมาก

 

 

 

อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่มีผลต่อสถานการณ์ฝุ่น "PM2.5" นั่นคือความแปรปรวณของสภาพอากาศ ความร้อนจัด แล้งจัด ล้วนเป็นแรงหนุนให้ปัญหา "PM2.5" ในประเทศไทยรุนแรงขึ้นทั้งสิ้น หนำซ้ำยังเกิดภาวะ เอลนีโญ ซึ่งส่งผลให้ความแห้งแล้งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ อธิบายถึง สภาพอากาศที่เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่จะหนุนให้ "PM2.5" หนาแน่น และรุนแรง เอาไว้ว่า คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)ระบุว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 องศา ส่งผลทำให้ค่า ฝุ่นPM2.5 เพิ่มขึ้น 1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)  เชื่อมโยงกับสภาพอากาศในอนาคตที่นับวันอุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งจะทำให้ภาวะ "PM2.5" สูงขึ้นตาม ประกอบกับในช่วงตั้งแต่ปลายปี 2566 ต่อเนื่องปี 2567 ไทยเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ  และเกิดจุดระเบิดบนดวงอาทิตย์ในรอบ 11 ปี ทั้งสองปรากฎการณ์ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นแบบผิดปกติ ซึ่งปรากฎการณ์จุดระเบิดบนดวงอาทิตย์จะส่งผลต่อโลกไปยาวนานทำให้อากาศร้อนขึ้นตลอด 1 ปี  ดังนั้นนับตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไปจะเกิดภาวะร้อน แล้งที่รุนแรง ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ 

 

 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

 

รศ.ดร.เสรี อธิบายต่อไปว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญทำอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 0.3 องศา ผนวกกับจุดระเบิดบนดวงอาทิตย์ที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอีก 0.2 รวมกันเท่ากับว่าอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นมากกว่า 0.5 องศา  เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้นย่อมส่งผลให้เกิดจุดติดไฟมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าที่มีการผลัดใบจำนวนมากทั้งทางภาคเหนือ และภาคใต้ของประเทศ เมื่อเกิดจุดติดไปมากขึ้นก็จะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการเกิดขึ้นของ "PM2.5" ให้มากขึ้นด้วย 

 

 

ส่วนพื้นที่ในเมืองสภาพอากาศกลายเป็นตัวแปรรองลงมาจากการใช้ยานพาหนะ ดังนั้นหากจะควบคุมไม่ให้ฝุ่น "PM2.5" เกินค่ามาตรฐานจะต้องควบคุมที่ต้นตอหลัก เพราะแน่นอนว่าควันจากยานพาหนะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อุณหภูมิในเมืองสูงขึ้นด้วย ส่วนสภาพทิศทางของลมแน่นอนว่ามีผลในการพักพาฝุ่นเช่นกันโดยในช่วงที่อากาศนิ่งก็จะยิ่งทำให้ฝุ่นเพิ่มมากขึ้น  โดยเฉพาะในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.  แต่การพยากรณ์สภาพอากาศและทิศทางของลมสามารถพยากรณ์ได้ในระยสั่นเท่านั้นจึงจะมีความแม่นยำ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อจะต้องเฝ้าระวังต่อไป 

 

เจาะต้นตอ 'PM2.5' รุนแรงเป็นภัยพิบัติ ปัจจัยรุมเร้าพัดฝุ่นพิษให้แรงขึ้น

 

สำหรับต้นตอการเกิดฝุ่น "PM2.5" ทั้งในพื้นที่ต่างจังหวัด และในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ข้อมูลจาก TDRI ระบุว่า การเผาในที่โล่งในพื้นที่เกษตรก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 ประมาณ 209,937 ตัน  รองลงมาคือ อุตสาหกรรม 65,140 ตัน/ปี และการขนส่ง 50,200 ตัน/ปี และการผลิตไฟฟ้า 31,793 ตัน/ปี ส่วนแหล่งกำเนิดทางอ้อมของ PM2.5 ที่สำคัญที่สุด คือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและน้ำมัน 231,000 ตัน/ปี จากโรงงานอุตสาหกรรม 212,000 ตัน/ปี ส่วนต้นตอสำคัญของไนโตรเจนออกไซด์ คือ การขนส่ง 246,000 ตัน/ปี การผลิตไฟฟ้า 227,000 ตัน/ปี และโรงงานอุตสาหกรรม 222,000 ตันต่อปี ตามลำดับ  

 

 

ในเขตเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครฝุ่น PM2.5 มาจากไอเสียจากรถยนต์ และการจราจรที่ติดขัดมากที่สุด  โดยเฉพาะจากพาหนะเครื่องยนต์ดีเซลที่มีกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เพราะในประเทศไทยยังควบคุมมลพิษจากเครื่องยนต์ด้วยมาตรฐานยูโร 4  ที่มีการอนุภาคฝุ่นระดับ 10 ไมครอน 0.025 กรัมต่อกม. เทียบกับยูโร 5-6 ที่ปล่อยอนุภาคฝุ่นไม่เกิน 0.005 กรัมต่อกม. รองลงมา คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม การเผาเศษขยะ และกิจกรรมในครัวเรือน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ