ชีวิตดีสังคมดี

'อีกัวน่า' ถูกทิ้ง แพร่พันธุ์ สัตว์ต่างถิ่นที่ไม่ควรอยู่ในธรรมชาติของไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กองทัพ 'อีกัวน่า' บุกถูกทิ้งจากระบบเลี้ยง แพร่พันธุ์ อยู่ใกล้ชิดคน ร้อนจนต้องห้ามนำเข้าชี่วคราว อันตรายต่ออะไรบ้าง ทำไมจึงไม่ควรปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ

สถานการณ์ "อีกัวน่า" แพร่พันธุ์ และระบาดในพื้นที่ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  กลายเป็นเรื่องใหญ่และทำให้หน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะกรมอุทยานสัตว์ป่า และพันธุ์พืชจะต้องออกมาตรการควบคุมกันยกใหญ่ เพราะการแพร่พันธุ์ของ อีกัวน่า ในครั้งนี้ถือว่าเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีจำนวนมาก โดยเบื้องต้นพบว่าสาเหตุที่ทำให้ "อีกัวน่า" แพร่หลายในประเทศไทยมาจากที่รีสอร์ทร้างทิ้งให้ อีกัวน่า สัตว์ต่างถิ่นชนิดนี้ออกมาจากอยู่ในธรรมชาติมากขึ้น

 

อีกัวน่า

"อีกัวน่า" สัตว์ต่างถิ่นได้เริ่มขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จนมีโอกาสที่จะกระทบกับสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ไม้ของประเทศไทย เพราะโดยทั่วไป "อีกัวน่า" จะกินพืชและแมลงเป็นอาหาร โดยล่าสุดกรมอุทยานสัตว์และพันธุ์ได้ออกประกาศชะลอการนำเข้า อีกัวน่า และสัตว์ในวงศ์เดียวกันทุกชนิดเพื่อควบคุมประชากร ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นที่เรียบร้อย ปัญหาอีกัวน่ามีที่ไปที่มาอย่างไร และจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศยังไง

 

อีกัวน่า

  • จุดเริ่มต้น "อีกัวน่า" บุกยึดครองจ.ลพบุรี

ชาวบ้านในพื้นที่อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี แจ้งพบ อิกัวน่า จำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ ในจังหวัดลพบุรี และกัดกินพืชผลทางการเกษตรของประชาชน โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีทั้งพ่อแม่พันธุ์ยาว 30–40 ซม. และ ขนาดเล็กตั้งแต่ 10-20 ซม. ทั้งนี้พบว่าอีกันน่าได้อาศัยอยู่ในน้ำ ในป่าที่ใกล้กับชุมชน บางตัวสร้างความเสียหายต่อพืชผล ที่ชาวบ้านปลูกไว้

 

 

  • กรมอุทยานฯ ออกประกาศห้ามนำเข้า หวั่นกระทบระบบนิเวศ

ปัญหาการแพร่พันธุ์ของ "อีกัวน่า" กลายเป็นปัญหาระดับประเทศ เพราะหสกไม่มีการควบคุมสัตว์ต่างถิ่นชนิดนี้จะส่งผลกระทบอย่างมาก ดังนั้นกรมอุทยานจึงได้ออกประกาศห้ามนำเข้าอีกัวน่า เพื่อป้องกันไม่ให้ขยายเพิ่มมากขึ้น จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ประกอบกับ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ. 2565 ซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะไม่พิจารณาอนุญาตให้นำเข้าสัตว์ป่า ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นมาตรการควบคุมปริมาณภายในประเทศ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กลุ่มที่ 1 สัตว์ป่าที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชปาที่ใกล้สูญพันธุ์ วงศ์อิกัวน่า (Family Iguanidae) ลำดับที่ 640 อิกัวน่าทุกชนิดในสกุล Iguana (Iguana spp.) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษหนัก จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท

 

อีกัวน่า

 

 

  • จับได้จำนวนมาก แจ้งให้ผู้ครอบครองรายงานจำนวน "อีกัวน่า" แบบเร่งด่วน

หนทางที่จำกัดไม่ให้เกิดการแพร่พันธุ์ของ "อีกัวน่า" คือจะต้องทราบจำนวนของอีกัวน่า จากผู้ครอบครองและขออนุญาตนำเข้าทั้งหมด ดังนั้น จึงมีการประกาศให้รายงานการครอบครองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยปัจจุบันพบว่ามีผู้แจ้งการครอบครองอีกัวน่าเขียวแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 260 ราย 3,667 ตัวในพื้นที่ 61 จังหวัด ซึ่งจังหวัดชลบุรีมีผู้แจ้งการครอบครองอีกัวน่าเขียวมากที่สุดเป็นอันดับ 1 จำนวน 982 ตัว จากผู้แจ้งฯ 14 ราย รองลงมาเป็นจังหวัดขอนแก่น 446 ตัว จากผู้แจ้งฯ 10 ราย อันดับ 3 ได้แก่กรุงเทพมหานคร จำนวน 287 ตัว จากผู้แจ้งฯ 45 ราย ที่ผ่านมาพบว่าตั้งแต่ปี 2533–2565 มีอีกัวน่า ขึ้นบัญชีไซเตสกลาง 11,622 ตัว

 

อีกัวน่า

 

  • พื้นถิ่น "อีกัวน่า" สัตว์ต่างถิ่นที่ประเทศไทยนิยมเลี้ยง

ข้อมูลระบุว่า เดิมที่ "อีกัวน่า" เป็นสัตว์ประจำถิ่นในแถบพบกระจายพันธุ์ในเม็กซิโก, อเมริกากลาง รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในภูมิภาคแคริบเบียนและพอลินีเซีย เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าในสกุล Iguana ในวงศ์อิกัวนา (Iguanidae) และในวงศ์ย่อย Iguaninae มีความยาวมากกว่า 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักกันมากกว่า นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางประเทศ

 

สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายระบุว่าให้ "อีกัวน่า" เป็นสัตว์ป่าควบคุมในบัญชี อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ลําดับที่ 690 อิกัวน่า ทุกชนิดในสกุล "Iguana" มาตรา 9 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตวป่า พ.ศ. 2562 ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ.2565

 

 

ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า "อีกัวน่า" เป็นสัตว์ต่างถิ่นที่ไม่ควรถูกปล่อยให้มาอยู่ในธรรมชาติของประเทศไทย แม้ว่าอีกัวน่าจะไม่ได้มีผลต่อระบบนิเวศเนื่องจากเป็นสัตว์กินพืช และไม่ได้มีพฤติกรรมคุกคามสัตว์อื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วสัตว์ต่างถิ่นจะต้องอยู่ในความดูแลของคนเลี้ยง หรือเจ้าหน้าที่จะเหมาะสมมากกว่า เพราะอีกัวน่า ถือว่าเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่หากปล่อยไว้ตามธรรมชาติจะเกิดการแย่ง และแทนที่สัตว์ดั่งเดิมที่อาศัยอยู่โดยเฉพาะสัตว์ขนาดเล็ก 

 

นอกจากนี้สิ่งที่จะได้รับผลกระทบหากปล่อยอีกัวน่าไว้ตามธรรมชาติ คือ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากพืช เพราะอีกัวน่าเป็นสัตว์กินพืช หากปล่อยไว้จะส่งผลอันตรายต่อพืชหายากในป่าของประเทศไทย 

 

ส่วนการผสมข้ามสายพันธุ์ อาจจะเกิดขึ้นได้อยากเพราะโดยธรรมชาติของสัตว์จะมีกลไกการป้องกันการผสมพันธุ์ข้ามสปีชีอยู่แล้ว เนื่องจากสัตว์จะมีการป้องกันตัวเองจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100% 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ