ชีวิตดีสังคมดี

ฝ่าวิกฤต 'เอลนีโญ' วางแผนจัดการน้ำให้รอดตลอดแล้ง พึ่งร่องมรสุมช่วยให้ฝนตก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ฝ่าวิกฤต 'เอลนีโญ' สทนช. วางแผนจัดการน้ำตลอดฤดูแล้ง 2566/2567 เน้นให้ความสำคัญกับน้ำกินน้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร อุตสหกรรมหวังปีหน้าร่องมรสุมเข้าไทยเพิ่มช่วยให้ฝนตกซุกขึ้น ดันแผนจัดการน้ำ 20 ปี เป็นเป้า SDGs

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดเสวนา ผ่าทางรอดประเทศไทย จับมือฝ่าวิกฤต "เอลนีโญ" เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ และบริหารจัดการน้ำในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่หน้าแล้ง และเผชิญกับปัญหาน้ำน้อย  ที่ผ่านมาปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้งซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยตรง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่คาดว่าจะเกิดฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น การเตรียมความพร้อมรับมือฤดูแล้ง และการบริหารจัดการน้ำจึงเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นเรื่องหลักที่จะต้องบูรณาการร่วมกัน

 

ฝ่าวิกฤตเอลนีโญ

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลพบว่าในช่วงฤดูฝนปี 2566 ในพื้นที่ภาคกลางมีผริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยมากถึง 31% ส่วนภาคตะวันออกมีฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 26%  ดังนั้น สทนช. จึงต้องบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนจัดสรรปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะภาคอุปโภค บริโภค ภาคการเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ในช่วงฤดูแล้งปี 2566/2567

 

ฝ่าวิกฤตเอลนีโญ

ทั้งนี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะเอลนีโญส่งผลให้ฝนตกน้อยกว่าปกติ ต่อเนื่องปี 2567  สทช. ได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงได้วางแผนการจัดสรรทรัพยากรร์น้ำจากภาครัฐภายใต้ภาวะ "เอลนีโญ" เพื่อสร้างความมั่นใจในการบริหารจัดการน้ำตลอดฤดูแล้งนี้

 

 

โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานบูรณาการสื่อสารแผนบริหารทรัพยากรน้ำลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำจาก "เอลนีโญ" ประจำปี 2566  พร้อมกับกล่าวว่า งานบูรณาการบบริหารทรัพยากรณ์ ลดความเสี่ยงและคาดแคลนน้ำจากเอลนีโญ ที่ผ่านรบ. ได้ตระหนักและให้ความสัคัญในการบริหารจัดการน้ำให้สมดูลและเพียงพอในทุกกิจกรรมการใช้น้ำ  จากนี้ไปอีก 1-2 ปีต้องเตรียมตัวรับเอลนีโญ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศกรณีฝนตกทิ้งช่วง มีการวางแผนการพยากรณ์ และการจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากการดูแผนของแต่ละหน่วยงานก็นับว่ามีความสามารถ และมีการพัฒนาอย่างยิ่งใหญ่ แตกต่างจากอดีตที่ต่างคนต่างทำ

 

สทนช. เป็นแค่สำนักงานไม่ได้แต่ต้องเป็นกระทรวงภายในเร็วๆ นี้ งานในปี 5 ปี ดูเหมือนจะครบถ้วน แต่ยังคงมีรายละเอียดบางอย่างที่มองลึกๆ ลงไปแล้วยังต้องปรับปรุง ให้มากยิ่งขึ้น  นายกฯมีความเป็นห่วงถึงสถานการณ์เอลนีโญอย่างมาก เพราะจะนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ นอกจากน้ำแล้ง วันนี้การบริหารจัดการน้ำจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศไทยเพราะต้องลดผลกระทบต่อประชาชน รวมไปถึงการให้แนวทางในการปลูกพืชช่วงน้ำหลาก และช่วงฤดูแล้ง ให้เหมาะสม และสร้างความเข้าใจในการเพาะปลูกแกประชาชน

 

สำหรับช่วงเสวนา ผ่าทางรอดประเทศไทย จับมือฝ่าวิกฤต "เอลนีโญ"  แต่ละหน่วยงานให้แสดงความคิดเห็นและแนวทางในการรับมือสถานการณ์เอลนีโญสำหรับประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจ

 

 

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวระหว่างการเสวนาว่า 2-3 ปีที่ผ่านมามีการเก็บข้อมูลอุณหภูมิมาอย่างต่อเนื่อง โดยอุณหภูมิหน้าหนาวในปีนี้จะไม่หนาวเย็นเหมือนที่ผ่านมา แต่บนภู ยอดดอยยังคงสัมผัสอากาศเย็นได้ เป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่วนสถานการณ์ที่เราจะเห็นได้ว่ามีฝนตกลงมาในระยะนี้นั้นเป็นเพราะแนวพัดสอบที่มีอิทธิพลทำให้ฝนตก ส่วนภาพรวมปริมาณฝนในประเทศไทยยังอยู่ในปริมาณปกติแม้ว่าในจะตกน้อยลงในช่วงต้นฤดูฝน พฤศจิกายน ยังมีแนวโน้มของฝนอยู่ แต่จะต้องเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคใต้

 

คาดการณ์ปีหน้าอุณหภูมิน้ำทะเลที่ผิดปกติ แนวโน้มของฝนยังไม่มาก ไม่เพียงพอที่จะเอาไปทำอะไรได้ ภาพรวมฝนในช่วงฤดูแล้งจะมีปริมาณน้อย สำหรับการคาดการ์จากปีหน้าไปจนกลางปี 2567 ฝนยังน้อยอยู่ แต่มีปัจจัยอื่นๆ ในการสนับสนุนที่อาจจะทำให้พอมีฝนได้

 

 

 

ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมลคล เลขาธิการสำนักงานทรัพกยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวถึงแผยบริหารจัดการน้ำภายใต้สถานการณ์เอลนีโญ ว่า สำหรับแผนรับมือล่วงหน้าในการบริหารจัดการน้ำในภาวะที่เกิดเอลนีโญ ซึ่งเผชิญปีนี้เป้นปีแรก เพราะในปี 2565 เราเผชิญภาวะลานีญา และเริ่มเปลี่ยนถ่ายมาเป็นกลาง และเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ โดยในเดือน ส.ค.-ต.ค.  ประเทศไทยเผชิญกับเอลนีโญแบบ 100% ส่งผลให้ฝนตกน้อย แต่ความโชคดีของไทยคือเกิดร่องมรสุมที่พาดผ่านบ่อยมากในช่วง ก.ย.-ต.ค. 2566 ทำให้ปริมาณน้ำในฤดูแล้งปี 2565/2566 ยังมีปริมาณน้ำเยอะเพราะได้รับอิทธิพลจากลานีญา แต่ปี 2566 ช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย. 2566 ปริมาณน้ำเริ่มลดลง แต่ยังโชคดีที่มีฝนในช่วงต.ค. 2566 ทำให้ต้นเดือนพ.ย. 2566 มีปริมาณน้ำราวๆ 69% แต่ยังน้อยกว่าปี 2565 ราวๆ 3,000 ล้านลบ.ม.

 

เลขาธิการสทนช.

 

สำหรับมาตรการบริหารจัดการน้ำของ สทนช. ได้เตรียมความพร้อมไว้ทั้งในฤดูฝน และฤดุแล้งทั้ง 12 มาตรการ

 

1.คาดการณ์ชี้เแ้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ มี.ค. 2566

2.บริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลากภายใน ส.คง 2566

3.ทบทวน ปรับปรุงหลักเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในเหล่งน้ำ เขื่อนระบายน้ำและจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการ ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน

4.เตรียมความพร้อม ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตรให้พร้อมใช้งาน และปรับปรุงแก้ไข สิ่งกีดขวาง

5.เตรียมความพร้อม / วางเครื่องจักร เครื่องมือ บุคลากร ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง

6.ตรวจสอบความมั่นคง และปลอดภัย คัน ทำนบ พนังกั้นน้ำ

7.เพิ่มประสิทธิภาพทางระบายน้ำของคันกั้นน้ำ

8.ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ล่วงหน้า ก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูให้กลับมาสู่สภาพปกติ

9.เร่งพัฒนาและกักเก็บน้ำในแหล่งน้ำทุกประเทช่วงปลายฤดูฝนตั้งแต่ ต.ค.-พ.ย. 2566

10.สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์

11.สร้างการรับรู้และการประชาสัมพันธ์

12.ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย

 

โดย สทนช. จะต้องเตรียมพร้อมบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคอุปโภคบริโภค โดยที่ สทนช.มีกาปรระเมินสถานการณ์น้ำแบบรายภาคว่าใช้น้ำไปเท่าไหร่ และจะเหลือน้ำใช้การได้เท่าไหร่ หากดำเนินการได้ตามแผนจะสามารถผ่านวิกฤตเอลนีโญไปได้

 

หากปี 2567 มีร่องมรสุมพาดผ่านจำนวนมากก็อาจจะทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ส่วนไหนที่เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคที่มีความเสี่ยงก็จะต้องเข้าไปดูแล เช่น การผลันน้ำจากอีกที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดแผ่ยแม่บทบริหารจัดการน้ำ 20 ปี ให้เกิดความยั่งยืน และเป็นไปตามแผนมีทั้งหมด 40 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการจัดการควรเป็นตัวขับเคลื่อน SDG อีกหนึ่งด้าน

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ