ชีวิตดีสังคมดี

'ตลาดสีเขียว' สร้างสินค้าเกษตรอินทรีย์ ลดภาวะขาดแคลนอาหารในยามวิกฤต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดแนวคิด 'ตลาดสีเขียว' หนุนการสร้างสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทางรอดชุมชนในภาวะที่ต้องเผชิญกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม ลดภาวะขาดแคลนอาหาร เตรียมเสนอเป็นนโยบายเชิงพัฒนาเศรษฐกิจ

แนวคิดของ "ตลาดสีเขียว" เกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรปตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 จนแผ่ขยายไปทั่วโลก บนพื้นฐานแห่งสิทธิในการเข้าถึงอาหารที่ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพ โดย รศ.ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพหลักสูตร และอาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นผู้ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน ซึ่งทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้

จากการศึกษากลไกทางสังคม สู่ทางออกในเชิงนโยบาย เพื่อให้ทุกคนในสังคมได้เข้าถึงอาหารที่ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพ "ตลาดสีเขียว" จึงเป็นทางเลือกของโลกยุคใหม่ที่น่าจับตาในขณะนี้ จากการลงพื้นที่ศึกษาตลาดสีเขียวต้นแบบ ใประเทศไทยจนครบทั้ง 4 ภาค ได้นำมาสู่แนวทางการสร้างตลาดสีเขียวเชิงรุก เตรียมเสนอในเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ ให้ชุมชนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้

 

 

 

หัวใจของ "ตลาดสีเขียว" คือความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งผลิตในชุมชน เพื่อคนในชุมชนซึ่งจะเป็น ทางเลือก และ ทางรอด ในวันที่โลกต้องเผชิญกับทุกวิกฤติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโรคระบาด ตลอดจนปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่นำไปสู่วิกฤติการขาดแคลนอาหาร ซึ่งไม่ได้มาจากเพียงปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่วมสร้างและบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ที่ปลอดจากสารเคมี ดีต่อสุขภาพกว่าอาหารปลอดภัย ที่อาจยังคงมีการใช้สารเคมี แม้ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
 

ด้วยกลไกแห่งโอกาสที่มาจากการระดมทรัพยากรที่พอเพียง และหลากหลาย โดยใส่มูลค่า ซึ่งมาจากเงื่อนไขของการแลกเปลี่ยนและ การสร้างแรงจูงใจ ที่เป็นข้อตกลงร่วมกันที่เท่าเทียมในชุมชน ตามทฤษฎีการแลกเปลี่ยนเครือข่าย (Network Exchange Theory) ที่จะนำไปสู่การสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบ

 

 

นอกจากนี้ ยังเป็นวิถีแห่งการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเป็นการทำให้อาหารต้องผ่านการเดินทาง น้อยที่สุด ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง และจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการขนส่งได้ต่อไป โดยที่ "ตลาดสีเขียว" ของแต่ละชุมชนจะมีการพัฒนาตัวเองอย่างเป็นพลวัต เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนให้ได้มากที่สุด อีกทั้ง ยังสามารถขยายการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ไปสู่นอกชุมชน หรืออาจถึงระดับส่งออกเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศ ภายใต้การพัฒนามาตรฐานการผลิตตามศักยภาพที่แตกต่างกันไปของแต่ละชุมชน และอุปสงค์ของผู้บริโภคที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

 

 

รศ.ดร.จงจิตต์ ได้ให้มุมมองของการทำ "ตลาดสีเขียว" ในประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืนว่า ตลาดสีเขียวอยู่ได้ด้วยกำลังซื้อจากผู้บริโภคที่มองสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่คุณค่า กว่าจะได้มาต้องใช้เวลาและกระบวนการที่พิถีพิถันอย่างไรให้ได้สินค้าที่ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพซึ่ง ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกษตรเคมี มาเป็น เกษตรอินทรีย์ จะต้องใช้เวลาถึง 12 - 18 เดือน โดยจะต้องทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นได้ถึงผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ และจะยิ่งทำให้ได้เพิ่มการเข้าถึงมากขึ้นไปอีก หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการให้พื้นที่กระจายสินค้า

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ