ชีวิตดีสังคมดี

PM2.5 ปี 2567 แรงทะลุปรอทกว่าแล้งที่ผ่านมา เตือนมาตรการเก่าๆ ฝันร้ายฝุ่นพิษ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สถานการณ์ PM2.5 ปี 2567 รุนแรงหนักขึ้นจากปัจจัยหลายด้าน ซ้ำร้ายด้วยปรากฏการณ์เอลนีโญ นักวิชาการเตือนมาตรการเก่าๆ ฝันร้ายทำฝุ่นพิษหนักขึ้น

รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร ให้สัมภาษณ์ กับคมชัดลึก ถึงแนวโน้ม สถานการณ์ฝุ่น "PM2.5" ในช่วงฤดูแล้ง 2566/2567 ไว้ว่า

 

 

 

"PM2.5" ในปี 2567 คาดการณ์ว่าจะมีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. เพราะประเทศไทยเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน อย่างเต็มรูปแบบประกอบกับสถานการณ์เอลนีโญที่มีผลทำให้ เพราะประเทศไทยเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนรุนแรง และยาวนาน ปัจจัยดังกล่าวมีผลโดยตรงต่อไฟป่า และสภาพอากาศปิดที่จะเสริมให้ปัญหาฝุ่น PM2.5  เริ่มกระทบกับสุขภาพและสถานการอาจจะเลวร้าย รุนแรงกว่าที่ผ่านมา

รศ.ดร. วิษณุ ยังให้ความเห็นถึงมาตรการของภาครัฐ ที่เริ่มออกมาให้เห็นกันเป็นระยะในช่วงนี้ เพื่อเตรียมรับมือ "PM2.5" เอาไว้ว่า สำหรับมาตรการที่ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกมาตรการแจ้งเตือนไปยังประชาชนโดยเร็วที่สุด  การปรับค่าคุณภาพอากาศลง เหลือ 37.5 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นมาตรการที่มีอยู่แล้วนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับการเตรียมรับมือ "PM2.5" ในปี 2567

 

 

รวมไปถึงมาตรการการจัดการต้นตอแหล่งกำเนิดฝุ่น "PM2.5" ที่เกิดจากระบบการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันมีการออกมาตรฐาน EURO 5 แต่ก็ยังครอบคลุมเฉพาะรถใหม่เท่านั้น ส่วนรถเก่ายังไม่สามารถเปลี่ยนเป็น EURO 5 ได้ก็ยังคงไม่ครอบคลุมมากพอที่จะลดต้นต่อฝุ่นได้

รศ.ดร. วิษณุ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรที่ยังไม่มีมาตรการออกมาอย่างเป็นรูปธรรมนอกจากการขอความร่วมมือหรือการกำหนดระยะเวลาเผา ซึ่งเป็นมาตรการเดิมที่ใช้อยู่แล้ว รวมไปถึง "PM2.5"  ที่เกิดจากกระบวนทำการเกษตรของพืชเศรษฐกิจอย่างเช่น การทำไร่อ้อย ที่ยังคงมีกระบวนการทำการเกษตรรูปแบบเดิม คือ การเผาซังตออ้อย เพราะปัจจุบันในการ ทำการเกษตรรูปแบบดังกล่าว ยังขาดแคลนแรงงานและเครื่องจักรกลที่จะเข้ามาทุ่นแรง รวมไปถึงระบบโลจิสติกส์และการขนส่งที่ยังไม่ตอบโจทย์ ทำให้เกษตรกรสูญเสียต้นทุนเป็นจำนวน กระบวนการเผาซังตออ้อยจึงกลายเป็นทางเลือกที่ถูกที่สุดสำหรับเกษตรกร

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังพบว่า ปี 2567 ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบ "PM2.5" ที่เกิดจากภาคป่าไม้ โดยเฉพาะในกลุ่มไม้ผลัดใบที่พบว่าจะเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากเผชิญกับภาวะแล้งรุนแรง ท้ายที่สุดแล้วก็จะก่อให้เกิดไฟป่าและเกิดเป็นปัญหาฝุ่นตามมา ส่วนมาตรการการจัดการของยังคงติดในเรื่องของงบประมาณซึ่งเป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นซ้ำส่วนมาตรการการจัดการของยังไม่เพียวพอต่อการจัดการ ปัจจุบันเราพบว่ามีป่าไม้ที่ถูกเผาประมาณ 8-9 ล้านไร่ต่อปี แต่งบประมาณในการจัดการอย่างน้อยมาก

 

 

อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าในปีที่ผ่านๆมา แม้ว่าจะมีมาตรการห้ามเผาการจัดโปรแกรมเบิร์นเช็กแต่ก็พบว่ามีคนเข้าร่วมน้อยมากเพราะยังขาดแรงจูงใจจากรัฐบาลโดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำไร่แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีมาตรการห้ามเผาการจัดโปรแกรมเบิร์นเช็คแต่ก็พบว่ามีคนเข้าร่วมน้อยมากเพราะยังขาดแรงจูงใจจากรัฐบาลโดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำไร่ข้าวโพดและพืชพืชไร่อื่นๆ ยังคงเลือกวิธีการเผาเพราะต้นทุนถูกกว่า

 

 

 

รศ.ดร. วิษณุ ได้เปิดเผยมุมมองในการแก้ปัญหาฝุ่น "PM2.5" ในภาพการเกษตรและภาคป่าไม่ว่า สำหรับแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ฤดูแล้งนี้ ตนเห็นว่ามาตรการแรงจูงใจการจ่ายเงินตอบแทนแก่อาสาสมัครที่เข้าช่วยดับไฟ จะทำให้การบริหารจัดการและการควบคุมสามารถทำได้ดีขึ้นมากกว่ามาตรการขอความร่วมมือ

 

 

 

หากมองถึงความเป็นจริงเราจะพบว่าที่ที่ผ่านมาการบริหารจัดการไฟและการดูแลฝุ่น "PM2.5"  ดำเนินการภายใต้การขอความร่วมมือมาตลอดและได้ผลตอบรับน้อยมาก ดังนั้นการใช้มาตรการแรงจูงใจและการโอนย้ายผลประโยชน์การดูแลป่าตลอดจนกลไกทางการตลาดเพื่อจูงใจให้คนเข้าร่วมจึงน่าจะเป็นแนวทางที่จะได้รับความร่วมมือที่ดีและลดปัญหาฝุ่น "PM2.5" ในฤดูแรงนี้ได้ดีกว่าที่ผ่านมา

 

 

“หากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีมาตรการ ที่มากกว่าการขอความร่วมมือหรือการแจ้งเตือนโดยเร็วปัญหา PM2.5 ในปีนี้จะไม่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมาแน่นอน และน่าจะรุนแรงมากกว่าปี 2566 ด้วยเพราะมีปัจจัยหลายหลายอย่างโดยเฉพาะปรากฏการณ์เอลนีโญ่ส่งผลให้เกิดฤดูร้อนแล้งสิ่งที่ต้องสะท้อนกลับไปยังการบริหารจัดการฝุ่นของรัฐบาลก็คือจะทำอย่างไรให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างยั่งยืนและประชาชนไม่ต้องเสี่ยงกับการเผชิญฝุ่น PM2.5  อีกต่อไป” คำกล่าวของผู้เชี่ยวชาญ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ