ชีวิตดีสังคมดี

อัปเดตเส้นทาง พายุโซนร้อน 'โคอินุ' พายุลูกที่ 14 จะเข้าไทยหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทาง พายุโซนร้อน 'โคอินุ' พายุลูกที่ 14 คาดเคลื่อนตัวถึงประเทศเวียดนามตอนบน จะเข้าไทยหรือไม่

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์ พายุหมุนเขตร้อน ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เช้าวันนี้ (30 ก.ย. 2566) พายุดีเปรสชัน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อน 'โคอินุ' (KOINU) แล้ว มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือในระยะแรก ทิศทางไปยังเกาะไต้หวัน และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งของประเทศจีนมาทางเกาะไหหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวมาถึงประเทศเวียดนามตอนบน ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้ ซึ่งยังต้องติดตามเป็นระยะๆ ทิศทางยังเปลี่ยนแปลง

 

 

พายุโซนร้อน โคอินุ

 

'โคอินุ' (KOINU) หมายถึง ลูกสุนัข ตั้งชื่อโปยประเทศญี่ปุ่น เป็นพายุลูกที่ 14 ตามการนับจำนวนพายุของ RSMC โตเกียว ญี่ปุ่น

 

 

พายุโซนร้อน โคอินุ

พายุโซนร้อน โคอินุ

 

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 30 ก.ย.-9 ต.ค. 2566 อัพเดทจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : วันนี้ (30 ก.ย. 2566) ยังเป็นอีกวันที่ภาคเหนือ ยังมี ฝนตกหนัก บางแห่งโดยเฉพาะบริเวณทางด้านตะวันตกใกล้หย่อมความกดอาากาศต่ำบริเวณประเทศเมียนมา ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักและตกสะสม อาจทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ได้ ส่วนภาคอื่นๆ ฝนเริ่มลงลงบ้าง แต่ยังมีเกิดขึ้นได้ เนื่องจากร่องมรสุมยังพาดผ่านบริเวณตอนกลางของไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้  สำหรับภาคใต้จะมีบางแห่งโดยเฉพาะด้านรับมรสุม คลื่นลมจะเริ่มเบาลงในอ่าว แต่ยังมีคลื่นปานกลางในทะเลอันดามัน 

 

 

ช่วง 1-5 ต.ค. 2566 ร่องมรสุมจะสวิงลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง (กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจีนใต้ใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม ฝนเกิดขึ้นได้และตกต่อเนื่อง ตามแนวร่องมรสุม และใกล้หย่อมความกดอากาศต่ำ ยังต่อระวังฝนตกสะสม 

 

 

ส่วน 6-9 ต.ค. 2566 สถานการณ์ พายุหมุนเขตร้อน ในมหาสมุทรแปซิฟิกในขณะนี้ พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อน 'โคอินุ' (KOINU) มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือในระยะแรกไปทางเกาะไต้หวัน และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งของประเทศจีนมาทางเกาะไหหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนมาถึงประเทศเวียดนามตอนบน ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ