ชีวิตดีสังคมดี

อาหารทะเลจากญี่ปุ่นปนเปื้อน แต่ไม่เกินเกณฑ์ที่ไทยกำหนด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไทยเฝ้าระวังปนเปื้อน "อาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น" มาตลอด แต่พบไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หากเกินจะระงับนำเข้าทันที เพื่อคลายกังวลผู้บริโภค ผู้ประกอบการสามารถส่งตัวอย่างสินค้ามาตรวจที่ศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้เลย

"โรงไฟฟ้าญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อน" ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก แม้จะได้รับการยืนยันจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAE) หน่วยงานควบคุมการใช้ประโยชน์จากนิวเคลียร์ของสหประชาชาติว่า น้ำไม่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี และยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวปลอดภัยไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและประชาชนโดยรอบ แต่การดำเนินการดังกล่าวยังก่อให้เกิดความวิตกกังวลโดยเฉพาะกับประเทศที่นำเข้า "อาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น"
 

การปล่อยน้ำของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ หลายประเทศกังวลว่า อาจมีสารกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ซีเซียม-134 ซีเซียม-137 คาร์บอน-14 และตริเตียม สำหรับประเทศไทย "สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา" (อย.) ร่วมกับ "กรมประมง" กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบ "อาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น" ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน เป็นเกณฑ์การตรวจสอบสินค้านำเข้าเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค 

 

 

 

ภาพประกอบ

ที่ผ่านมา "กรมประมง" จะร่วมกับ "สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ" "กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม" (อว.) มีการตรวจหาการปนเปื้อนกัมมันตรังสีใน "อาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น" เป็นระยะๆ ที่ผ่านมาพบว่า ค่าปนเปื้อนไม่เกินมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดไว้ หมายความว่า อาหารทะเลมีปนเปื้อนกัมมันตรังสี แต่ไม่เกินมาตรฐาน

 

 

 

 

ภาพประกอบ

 

 

 

รายงานจาก สธ. การสุ่มตรวจตัวอย่าง "อาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น" และผลิตภัณฑ์ประมงจำนวน 4,375 ตัวอย่าง ในปี 2565  ไล่เรียงส่งตรวจมาเรื่อยๆ  4,000 กว่าตัวอย่าง จนถึงเดือน เม.ย.ปีนี้ (ปี 2566) พบว่า ค่าปนเปื้อนกัมมันตรังสียังไม่เกินตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ในประกาศ สธ.ของประเทศไทย หากเกินมาตรฐานที่กำหนดก็จะส่งคืน หรือระงับการนำเข้าทันที

 

 

 

อย่างไรก็ดี เพื่อช่วยคลี่คลายความกังวล "อาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น" "รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์" ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ได้สั่งการให้ "ศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์และศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสี" เตรียมความพร้อมให้บริการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารกัมมันตรังสีที่อาจปนเปื้อนมาใน "อาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น" สำหรับผู้ประกอบการที่นำเข้าอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีความกังวลใจ หรือมีมาตรการเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค สามารถส่งตัวอย่างสินค้าที่นำเข้ามาตรวจปริมาณสารกัมมันตรังสีที่ห้องปฏิบัติการของ สทน. หากตรวจสอบแล้วไม่พบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี จะรายงานผลการวิเคราะห์ตามระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้อีกทางหนึ่ง

 

 

 

รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์

 

 

 

"ห้องปฏิบัติการสามารถตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อน ไอโอดีน-131 ซีเซียม-134 และ ซีเซียม-137 ในอาหารได้ ส่วนคาร์บอน-14 สามารถตรวจได้ในห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ และตริเตียมในตัวอย่างน้ำชนิดต่างๆ สามารถตรวจได้ที่ห้องปฏิบัติการศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสี" "รศ.ดร.ธวัชชัย" กล่าว

 

 

 

ปฏิบัติการภายในศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์และศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสี

 

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมงานบริการได้ที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ สทน. (One Stop Service) โทร. 02-4019889 ต่อ 5980,5990 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น.
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ