ชีวิตดีสังคมดี

สรุปปล่อย 'น้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น' 1.3 ล้านลิตร 30 ปีกว่าจะหมด

สรุปปล่อย 'น้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น' 1.3 ล้านลิตร 30 ปีกว่าจะหมด

29 ส.ค. 2566

สรุปปัญหาปล่อย 'น้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น' 12 ปีหลักโดนสึนามิถล่ม ไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เก็บน้ำปริมาณมหาศาล 1.3 ล้านลิตรต่อไม่ไหว ทยอยปล่อยลงทะเลต้องใช้เวลานานกว่า 30 ปี

กลายเป็นความกังวลระดับโลก หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นประกาศปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี หรือ "น้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น" จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ลงสู่ทะเลแปซิฟิก ในวันที่ 24 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา หลายประเทศออกมาประท้วง และต่อต้านอย่างหนัก แม้ว่าทางญี่ปุ่นจะยืนยันว่าน้ำที่ใช้ในการหล่อเย็นเตาปฏิกรในโรงผลิตนิวเคลียร์หลังจากเกิดสึนามิซัดมีสารปนเปื้อนอยู่น้อยมาก และทำการศึกษามา พร้อมกับบำบัดน้ำเสียโดยใช้เวลานานกว่า 2 ปี จนมั่นใจแล้วว่าน้ำเสียที่ปล่อยออกมาจะไม่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

 

 

ฟุกุชิมะ

แล้วการปล่อย "น้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น" ที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ของญี่ปุ่นมีต้นสายปลายเหตุมาจากอะไร ทำไมโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จึงต้องปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีลงสู่ทะเล และที่สำคัญที่สุดคือมวลน้ำที่บำบัดแล้วจะเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเรายังจะสามารถรับประทานอาหารทะเลได้เหมือนเดิมหรือไม่ 

1.จุดเริ่มต้นของ "น้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น" ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีเริ่มขึ้นจากภัยธรรมชาติ โดยเมื่อปี 2011 เกิดเหตุการแผ่นดินไหว 9.1 ริกเตอร์นอกายฝั่งญี่ปุ่น ต่อมาส่งผลให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่กว่า 2 ลูกพัดเข้าสู่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ส่งผลให้เครื่องปฏิกรณ์จำนวน 3 เครื่องได้รับความเสียหาย ทำให้ต้องสูบน้ำทะเลเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์เพื่อหล่อเย็นเชื้อเพลิงที่หลอมละลาย ระยะเวลากว่า 12 ปี ที่มีกระบวนการหล่อเย็นอย่างต่อเนื่อง ได้ผลิตน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีมากกว่า 130 ตันต่อวันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่ามีน้ำเสียปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีกว่า 1.3 ล้านตัน ซึ่งถูกรวบรวม บำบัด และเก็บไว้ในถังเก็บที่ ไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

 

 

2.เวลาผ่านไปนานกว่า 12 ปี ส่งผลให้พื้นที่เก็บ "น้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น" เหล่านี้กำลังจะเต็มญี่ปุ่นไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจำเป็นจะต้องปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านมาบำบัดแล้ว ลงสู่ทะเลแปฟิซิก หลังจาที่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมมานาน 2 ปี โดยสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ของสหประชาชาติ ได้ไฟเขียวให้สามารถปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วลงทะเลได้ 

 

 

3.น้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ ถูกกรองออกไปแล้ว ยกเว้นทริเทียมและคาร์บอน-14 แยกออกจากน้ำได้ยากมาก แต่ญี่ปุ่นยืนยันอยู่ในระดับที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน ซึ่งการทยอยปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ในรอบแรกของบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ หรือ TEPCO ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ เริ่มปล่อยในปริมาณ 7,800 ตันในระยะเวลา 17 วัน จากปริมาณน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในถังทั้งหมด คาดจะใช้เวลาประมาณ 30 ปี 

 

 

4.หลังจากการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ส.ค.2566 ที่ผ่านมา สร้างความกังวลให้กับหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในแถบทะเลแปซิฟิก ประชาชนออกมาประท้วงถึงการปล่อยน้ำปนเปื้อนในครั้งนี้เพราะไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีพื้นที่ทางทะเลที่ติดต่อกับประเทศญี่ปุ่น  นอกจากนี้ทางการจีนยังได้ประกาศห้ามนำเข้าอาหารทะเลจาก  10 จังหวัดในญี่ปุ่นรวมถึงฟุกุชิมะและกรุงโตเกียว ส่วนจังหวัดอื่นๆ ยังสามารถนำเข้าได้ตามปกติ 

 

 

5.ขณะที่ประเทศไทยเองก็กังวลกับการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีลงทะเลนั้น จะส่งผลกระทบมาถึงมหาสมุทรในบริเวณประเทศไทย  โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ระบุว่า  ทะเลบ้านเราห่างจากฟุกุชิมะ 5,000 กม. วัดเป็นเส้นตรง ซึ่งจริงวัดลัดเลาะชายฝั่ง จะไกลกว่านั้นมากหากสารมีอันตราย กว่าจะมาถึงเราต้องผ่านหลายต่อหลายประเทศ ทะเลไทยอยู่ไกลสุดกู่

 

ภาพจากดร.ธร

 

นอกจากนี้ กระแสน้ำ kuroshio ซึ่งเป็นกระแสน้ำหลักในทะเลแถบนั้นยังไหลขึ้นเหนือ ก่อนเบี่ยงออกกลางมหาสมุทรไม่ได้ไหลลงใต้มาทางบ้านเรา หากคิดถึงการสะสมระยะยาว ในดินตะกอน สัตว์น้ำ ฯลฯ เก็ยังอยู่ไกลมาก ทั้งหมดนี้เพื่อไม่ให้เป็นกังวลกับการกินอาหารจากทะเลไทย เรายังกินต่อไปได้และควรกิน เพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้วอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่นล่ะ ควรกินไหม ซีฟู้ดที่ไทยนำเข้าจากญี่ปุ่นเป็นของราคาสูงไม่ใช่อาหารทั่วไปที่จะสร้างความเดือดร้อนให้คนส่วนใหญ่หากไม่ได้กิน เพราะฉะนั้นคงเป็นเรื่องของการตัดสินใจแต่ละคนว่าจะกินหรือไม่