ชีวิตดีสังคมดี

'ภาวะโลกร้อน' หายนะทำ โรคแปรปรวน ไวรัส แบคทีเรีย ปรับตัวก่อโรครุนแรงมากขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ภาวะโลกร้อน' หายนะทำ โรคแปรปรวน อากาศร้อนขึ้นไวรัส แบคทีเรียปรับสภาพเอาตัวรอดทำให้ก่อโรครุนแรงมากขึ้น หมอเผยพบฟอสซิลแบคทีเรียในขั้วโลกเหนือละลายจำนวนมาก

อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น สภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (drastic Climate Change) ได้ส่งผลลุกลามมาถึงสุขภาพของเราอย่างเลี่ยง ไม่ได้ และยิ่งอากาศร้อน อุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของไวรัส และเชื้อแบคทีเรียมากขึ้นเท่านั้น

 

 

 

ดังนั้นผลกระทบจาก "ภาวะโลกร้อน" จึงกลายเป็นปัญหาที่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบอย่างรอบด้านไม่ใช่แต่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ปัจจุบันเริ่มคุกคามมากถึงความมั่นคงด้านสาธารณาสุขและด้านสุขภาพของเราแล้ว

สิ่งสำคัญต่อจากนี้คงไม่ใช่การระดมสรรพกำลังเพื่อกดอุณหภูมิให้ต่ำลง แต่เป็นการเตรียมรับมือ เพื่อให้ระบบสาธารณสุขไม่ล่มสลาย มีประสิทธิภาพ เพียงพอ และสามารถป้องกันโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา  หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ ให้ สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ว่า  "ภาวะโลกร้อน" ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งผลกระทบต่อโรคอุบัติใหม่ และ โรคที่เคยมีอยู่เดิม  ทำให้โรคเดิมที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว มีอัตราความรุนแรง และเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างมีนัยสำคัญ

"ภาวะโลกร้อน" ที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น และเพิ่มความรุนแรงของไวรัส หรือ แบคทีเรีย แล้วนั้น ยังมีผลต่อการอพยพย้านถิ่นฐานของสัตว์ปีกและแมลง ซึ่งการโยกย้ายถิ่นฐานสัตว์เหล่านี้ก็มักจะพกพาเอาเชื้อโรคมาด้วย

 

 

ศ.นพ. ธีระวัฒน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า เพราะความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ทำให้เชื้อโรค แบคทีเรีย ที่มีอยู่ ทั้งที่อยู่ในตัวสัตว์ และสัตว์ป่า ที่เรียกว่า รังโรค ทั้งตัวสัตว์และเชื้อโรค จะต้องปรับตัวเพื่อเอาตัวรอด และเสาะแสวงหาที่อยู่ใหม่ที่สบายกว่าเดิม และ เชื้อโรค สร้างเกราะป้องกันให้ตัวเองมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาวะที่โลกร้อน ขึ้น

 

 

แบคทีเรีย และไวรัส ยิ่งสามารถปรับตัวได้ดีกว่าในสภาพอากาศปกติ  และแปรปรวน โดยเฉพาะเชื้อโรคที่อยู่ในสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และในที่สุด ส่งต่อมายังสัตว์อื่นๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย สัตว์เศรษฐกิจ และสามารถส่งต่อเชื้อโรคมายังคน

 

 

 

"ภาวะโลกร้อน" ที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น และเพิ่มความรุนแรงของไวรัส หรือ แบคทีเรีย แล้วนั้น ยังมีผลต่อการอพยพย้านถิ่นฐานของสัตว์ รวมสัตว์ปีกและแมลง ซึ่งการโยกย้ายถิ่นฐานสัตว์เหล่านี้ก็มักจะพกพาเอาเชื้อโรคมาด้วย

 

 

 

ศ.นพ. ธีระวัฒน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า อากาศที่ร้อนขึ้นทำให้ ยุง เห็บ ไร ริ้น แมลง ต้องหนีเอาตัวรอด และปรับตัวตามสภาพความเปลี่ยนแปลงของอากาศเพื่อให้มีชีวิตรอด ส่งผลให้เกิด การอพยบย้านถิ่นที่อยู่ เพื่อเอาตัวรอด 

แต่การย้ายถิ่นฐานนั้นสัตว์เหล่านี้จะนำพาโรคมาด้วย โดยเฉพาะยุง และเห็บ ที่สภาพอากาศมีผลต่อการฟักตัวอย่างมาก เช่นไข่ยุงจะทน อากาศแห้งแล้ง แต่หากมีฝนตกลงมาจะทำให้สามารถฟักไข่ได้ทันที  ดังนั้นกรณีฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล จึงมีผลต่อการขยายพันธุ์อย่างมาก ดังนั้นในระยะนี้เราจึงเห็นว่าเกิดการแพร่ระบาดของ ไข้เลือดออกไวขึ้น และมีผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

 

 

 

อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่ยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้จริงคือ การที่น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือละลาย ซึ่งเป็นผลทำให้แบคทีเรียที่เป็นฟอสซิลในน้ำแข็งละลายออกมาด้วย  

 

 

 

โดยเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา มีการสำรวจถ้ำ ที่มีอายุหลาย ร้อยล้านปี และพบว่าในถ้ำมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ และมีแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือแบคทีเรียเหล่านั้นมีการดื้อยา  อยู่แล้วแม้ว่าไม่เคยมีการใส่ยาปฏิชีวนะใดเข้าไปเลย นั้นหมายความว่าแบคทีเรียมีการปรับตัว สู้กันระหว่างกลุ่ม และมีวิวัฒนาการเพื่อเอาตัวรอดได้เป็นอย่างนี้  

 

 

คำบอกเล่าของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์  หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์โรคอุบัติใหม่
สำหรับการเตรียมความพร้อมของระบบสาธารณสุขของประเทศไทย หรือการป้องกันไม่ให้โรคระบาดใหม่ หรือโรคเดิมที่มีอยู่รุนแรงมากขึ้นสิ่งสำคัญคงหนีไม่พ้นการเปลี่ยนกิจกรรมที่จะสร้างมลภาวะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ตอนนี้อาจจะช้าไปแล้ว

 

 

โดยศ.นพ. ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือ การรู้เร็ว และรักษาให้ทันเวล่าเพื่อลดการระบาดอย่างหนักและเป็นวงกว้าง กินเวลานานเหมือนโควิด-19 

 

 

 

โดยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการวิเคราะห์และวิจัย โรคอุบัติใหม่ โดยได้ยกเลิกวิธีการตรวจสอบหาโรคจากสัตว์ป่า เพราะวิธีดังกล่าวมีความเสี่ยง และความเป็นไปได้ที่เราจะนำโรคเข้าไปติดต่อสัตว์ในป่า และนำโรคจากสัตว์ออกมาสู่คนจนทำให้เกิดการระบาดซ้ำๆ ได้ หรือเกิดโรคระบาดจากเชื้อใหม่

 

 

แต่สิ่งที่เราดำเนินการคือ ศึกษาความรุนแรง และความแปรปรวนของโรคว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เกิดขึ้นผิดช่วงเวลา ลุกลามรวดเร็ว กระจายอย่างรวดเร็ว หรือไม่ เช่นโรคที่ต้องเฝ้าระวังได้แก่ โรคทางเดินหายใจ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะโลกร้อน' หายนะทำ โรคแปรปรวน  กลุ่มโรคไข้อื่นๆ  ไวรัสนิปา กลุ่มโรคไข้เลือดออก และโรคท้องเสีย หากพบความผิดปกติตามที่กล่าวมา จะต้องเร่งประสานไปยังหน่วยงานที่ดูแลให้เตรียมความพร้อม วินิจฉัย รักษาผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้ออย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรค 

 

 

 

สิ่งสำคัญคือ การสร้างศูนย์บัญชาการส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลระดับท้องถิ่น โรงพยาบาลขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว

 

 

“ตอนนี้เราคงไม่สามารถกดอุณหภูมิของโลกให้เย็นลงได้ เพราะช้าเกินไปแล้ว แต่สิ่งที่จะทำได้คือการรู้ทันและรู้เร็ว เพราะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโลกร้อน อุณหภูมิของโรคที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมีผลต่อการเติบโต ปรับตัว เพื่อเอาตัวรอดของไวรัส แบคทีเรีย เชื้อโรคแน่นอน ที่สำคัญคือสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนทำให้เราทำนายโรคได้ยากมากยิ่งขึ้น”  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวสรุป

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ