ชีวิตดีสังคมดี

'พายุไต้ฝุ่นทกซูรี' ทวีกำลังแรง ขึ้นฝั่ง 28-29 ก.ค. นี้ จ่อเข้าอีก 1 ลูกติดๆ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'พายุไต้ฝุ่นทกซูรี' ทวีกำลังแรงขึ้น คาดขึ้นฝั่ง 28-29 ก.ค. นี้ จบลูกนี้ยังมีต่ออีก เตรียมรับมือร่องความกดอากาศทะเลจีนใต้ ทำฝนตกหนัก เช็กกระทบประเทศไทยหรือไม่

กรมอุตุนิยมวิทยาอัพเดทเส้นทาง "พายุไต้ฝุ่นทกซูรี"  (DOKSURI)บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก (ตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์) เวลา 10.00น. (24/7/66)  "พายุไต้ฝุ่นทกซูรี" กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านตอนบนของเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์  ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนและเข้าใกล้ทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน และขึ้นฝั่งที่ประเทศจีน ในช่วง 26-28 ก.ค.66  เตือนผู้ที่จะเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และจีน (ตอนใต้และด้านตะวันออก) ให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง เนื่องจากจะมีอากาศแปรปรวนในช่วงที่พายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่ง  พายุนี้ไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย  จึงไม่มีผลกระทบโดยตรง แต่จะทำให้มรสุมมีกำลังแรงขึ้น (ข้อมูลนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลที่มีการประมวลผลใหม่)

พายุไต้ฝุ่นทกซูรี

 

 

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงผลกระทบของ "พายุไต้ฝุ่นทกซูรี"  ที่จะแพร่อิทธิพลมาถึงไทย ว่า สำหรับพายุลูกนี้ ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะไต้ฝุ่นทกซูรีจะทำให้ร่องมรสุม หรือย่อมความกดอากาศต่ำ หรือที่ว่าร่องฝนมีกำลังขึ้น ซึ่งลักศนะดังกล่าวจะกระทบทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน ในระหว่างวันที่ 28-29 ก.ค. นี้เท่านั้น แต่ลักษณะการเกิดฝนจะไม่ได้ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลกับ "พายุไต้ฝุ่นทกซูรี" มากหนัก  

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

 

 

สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระหว่างที่  "พายุไต้ฝุ่นทกซูรี"  ขึ้นฝั่งจากข้อมูล ระบุว่า ช่วงวันที่ 25 ก.ค. 2566 ประเทศฟิลิปปินส์ จะได้รับผลกระทบหนักมาก ส่วนระหว่างวันที่ 28-29 ก.ค. 2566 พายุจะเริ่มส่งผลกระทบไปยังบริเวณเกาไต้หวัน และขึ้นฝั่งที่มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน จากภาพรวมแล้ว  "พายุไต้ฝุ่นทกซูรี"  ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย แต่อาจจะทำให้ฝนตกหนักขึ้นในบางพื้นที่เท่านั้น 

 

 

รศ.ดร.เสรี  อธิบายถึงพายุลูกอื่นๆ ที่แพร่อิทธิพลมาถึงประเทศไทยซึ่งก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ไว้ 3 ลูก คือ พายุตาลิม  "พายุไต้ฝุ่นทกซูรี" และ ความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้  ซึ่งย่อมความกดอากาศดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบกับไทยโดยตรง ดังนั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาน้ำแล้งมากกว่าปัญหาน้ำท่วม   

 

 

นอกจากนี้รศ.ดร.เสรี ยังบอกอีกว่า หลังจากจบพายุทั้ง 3 ลูกที่กล่าวมาแล้ว จากข้อมูลพบว่าจะมีพายุลูกต่อไปเข้าเลยทันที โดยจะมีการเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกของเกาะฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 29-30 ก.ค. 2566  ซึ่งลูกนี้จะส่งผลกระทบกับประเทศไทยน้อยมากเช่นกัน 

 

 

สำหรับช่วงที่มีการคาดว่าการณ์ว่าไทยจะมีฝนตกชุกนั้นจะเป็นช่วงเดือนส.ค. 2566  และช่วง ก.ย. 2566 ฝนจะตกทิ้งช่วงและจะหายไปเลยในช่วง ต.ค. 2566 ดังนั้นจะต้องมีการติดตามสถานการณ์ฝนตกอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนสำรองน้ำไว้ เพราะ เอลนีโญ จะส่งผลกระทบทำให้ฝนตกน้อยลง 

 

 

ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง 
ปริมาณฝนมากที่สุดบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดได้ 113.1 มม. ที่ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

 

 

ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รายงานจากสำนักการระบายน้ำ ระบุว่า มีรายงานฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ 100.0 มม. ที่ จุดวัดคลองประเวศฯ-ร.พ.ลาดกระบัง เขตลาดกระบัง 

 

อุณหภูมิสูงสุดบริเวณประเทศไทย เมื่อวานนี้(23 ก.ค. 2566) บริเวณ ภาคเหนือ วัดได้ 37.2 องศาเซลเซียส ที่  อ.ท่าวังผา จ.น่าน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณภูมิสูงสุด วัดได้ 34.4 องศาเซลเซียส ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ