ชีวิตดีสังคมดี

ไทยมีโอกาส "แผ่นดินไหว" ต้องพร้อมรับ ตึกสูงตรวจความแข็งแรง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"แผ่นดินไหว" ทางตอนเหนือเมื่อวานที่ผ่านมา (29 มิ.ย. 2566) หากนับรวมกับครั้งที่ผ่านๆ มาภายในปี 2565 และปีนี้ 2566 ไม่ต่ำนับ 14 ครั้ง คำถามคือ ถึงเวลาเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติในอนาคตรึยัง

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ระดมนักวิจัยร่วมวิเคราะห์เหตุการณ์ และหาแนวทางป้องกันและรับมือ "แผ่นดินไหว" ภัยพิบัติทางธรรมชาติในอนาคต

 

"รศ. ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์" นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) บอกว่า ความเสี่ยงภัย "แผ่นดินไหว" และสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ที่ จ.พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และ จ.เลย ในทางวิศวกรรมศาสตร์ถือเป็นเรื่องใหญ่

 

 

 

คณะทีมนักวิจัยจึงได้ออกแบบโมเดลแผนที่จำลองที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในการประเมินสถานการณ์เพื่อออกแบบอาคารให้มีความแข็งแรง แผนที่ป้องกันความเสี่ยงว่าพื้นที่ตรงไหนมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวจะมีส่วนช่วยในการรับมือกับเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" ได้อย่างทันท่วงที และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อคลายความกังวล

 

รศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)

 

 

 

"รศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์" นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บอกว่า ลักษณะรอยเลื่อนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง สาเหตุเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน (Hidden Fault) อยู่นอกเหนือจาก 16 กลุ่มรอยเลื่อนมีพลัง ที่ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวมาก่อนในรอบ 100 ปี เหตุการณ์ครั้งนี้เป็น "แผ่นดินไหว" ระดับตื้นมาก โดยแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ทั่วไป

 

 

 

ข้อมูลจาก "กรมทรัพยากรธรณี" ระบุว่า ประวัติการเกิดเหตุแผ่นดินไหวใน จ.พิษณุโลก ตั้งแต่ปี 2533-2566 ขนาด 4–4.9 พบจำนวน 1 ครั้ง และขนาดเล็กกว่า 3 จำนวน 5 ครั้ง ผลกระทบจาก "แผ่นดินไหว" ที่มีต่อรอยเลื่อนมีพลังมากในบริเวณใกล้เคียงในพื้นที่ ทีมนักวิจัยได้นำงานวิจัยเข้ามามีส่วนช่วยและสนับสนุนการวางแผนลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อไปในอนาคต

 

 

 

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  (มก.)

 

 

 

 

"ศ.ดร.อมร พิมานมาศ" นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  (มก.) กล่าวด้วยว่า ผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มีต่อโครงสร้าง ประชาชนรู้สึก "แผ่นดินไหว" เป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด เราจึงต้องเตรียมรับมือ อยากให้คนไทยตระหนักแต่อย่าตระหนก และเราสามารถรับมือด้วยมาตรการทางโครงสร้างและกฎหมาย

 

 

 

 

รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

 

 

 

"รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์" นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เล่าว่า ทิศทางการดำเนินงานของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องในอนาคต เพื่อเรียนรู้และถอดบทเรียนการสร้างอาคารที่ปลอดภัย ดังนั้น เจ้าของอาคารต้องตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารในการรองรับภัยพิบัติแผ่นดินไหว และเสริมความแข็งแรงของอาคารเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียในอนาคต

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ