ชีวิตดีสังคมดี

ไขปริศนา 'เอลนีโญ' รุนแรงจริงหรือไม่ เปิดข้อมูลอาจอยู่ไม่นานถึง 5 ปี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไขปริศนา 'เอลนีโญ' รุนแรงจะเริ่มรุ่นแรงช่วงไหน และจะอยู่ยาวนานเลยหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญเปิดข้อมูลปรากฏการณ์นี้กระทบฝนตกน้อยจริง ปีต่อไปไทยเผชิญปัญหาน้ำแล้ง แต่คาดการณ์ไม่ได้อยู่นานถึง 5 ปี

สัญญาณเตือนจากภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ที่ไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน โดยในช่วงเดือน มี.ค.ยาวจนถึงเดือนพ.ค. คนไทยเผชิญคำดัชนีความร้อน จนเริ่มมีปรากฏการณ์แปลกๆ อย่างคำว่า คลื่นความร้อน ปรากฏในข่าวมากขึ้นทั้งๆที่ผ่านมาประเทศไทยอยู่ห่างไกลจากคำว่า คลื่นความร้อน อยู่มาก 

 

 

ประกอบช่วงที่ไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนมีผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศเริ่มออกมาทำนายถึงความรุนแรงของปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" มากขึ้น สร้างความวิตกและกังวลให้กับคนไทยอย่างมาก เพราะมีการคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ยาวถึง 5 ปี ซึ่งหากอยู่นานขนาดนั้นเท่ากับฝนก็จะตกน้อยลง และปริมาณน้ำในเขื่อนจะลดลงเรื่อยๆ ด้วย ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการจัดเสวนาวิชาการ  หัวข้อ การส่งผ่านสภาพอากาศ ภูมิอากาศและน้ำ จากรุ่นสู่รุ่น และระบบการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคน  เนื่องในงานวันคล้ายวันสถาปนากรมอุตุนิยมวิทยา ปี 2566 เพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรากฏการณ์เอลนีโญไว้อย่างน่าสนใจ 

ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา อธิบายถึงปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ การส่งผ่านสภาพอากาศ ภูมิอากาศและน้ำ จากรุ่นสู่รุ่น และระบบการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคน  เนื่องในงานวันคล้ายวันสถาปนากรมอุตุนิยมวิทยา ปี 2566  ว่า  ลักษณะอากาศที่เป็นอยู่ตอนนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกี่ยวข้องเรื่อง Climate Change ไม่ได้ ทุกสภาพเป็นไปในทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศทั้งสิ้น ที่ผ่านมาเจอปัญฝนตกเยอะเพราะลานีญา ทำให้ฝนตกเกิดนค่ามาตฐานทั้งปี 24% เท่ากับว่ามีฝนตกนอกฤดูมากขึ้น แต่ในปีนี้เราเจอกับ "เอลนีโญ" ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงปลายปี 2566  ฤดูร้อนในปีนี้ฝนตกน้อยมาก แต่อากาศร้อนแบบที่คนไทยไม่เคยเจอมาก่อน 44.6 องศา เท่ากับค่าเฉลี่ยที่เคยเกิดขึ้นในรอบสถิติ 30 ปี 

 

 

ที่ผ่านมาประเทศไทยเจอความกดอากาศต่ำด้านตอนบน ปกคลุมอย่างต่อเนื่องมีลมพัดมาตลอดเวลาจากแทบอินเดีย ทะเลทราย เมื่อปกคลุมหลายๆวันจะทำให้เกิดความร้อนสะสม จนเกิดคำถามว่าเป็นคลื่นความร้อนหรือไม่ แต่ประเทศไทยอุณภูมิสูงไม่เกินต่อเนื่องกันเกิน 5 วัน แต่ของประเทศไทยไม่ใช่คลื่นความร้อน ประกอบกับเรากำลังเปลี่ยนเข้าสู่ "เอลนีโญ" ด้วย จึงทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนกว่าปกติ เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นแต่เกิดมานานแล้ว 
 

แน่นอนว่า สมดุลความร้อนของโลกเปลี่ยนไป เพราะมนุษย์สร้างก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิยังเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง Climate Change  มีผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น นับจากนี้ภัยจะรุนแรงมากขึ้น สังเกตุจากพายุฤดูร้อนที่มีความรุนแรงมากขึ้นเกิดฟ้าผ่าจนคนเสียชีวิต ทำให้ปีนี้พายุฤดูร้อนมีความโหดร้ายมากขึ้น เพราะมีความร้อนสะสม 

 

เมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาประเทศไทยมีการพูดถึง Monster Asian Heatwave มากยิ่งขึ้น ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า  จากการศึกษาพบว่าอุณหภูมิสูงในพื้นที่ จ.ตาก และเลื่อนขึ้นไป จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้เราทราบแล้วว่าเส้นความร้อนจะอยู่ในบริเวณตอนบนของประเทศไทย ที่ผ่านมาพบว่ามีประชาชนเป็นฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด ทำให้มีตัวเลขผู้เสียชีวิตมากกว่า 12 คน เหตุการณ์คลื่นความร้อนกระทบไปจนถึงประเทศญี่ปุ่นปกติในช่วงหน้าร้อนเม.ย. เป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 12 องศาแค่ปีพุ่งไปที่ 30 องศา ด้านประเทศฟิลิปินส์มีเด็กเกิดภาวะฮีทสโตรกจำนวนมาก นอกจากนี้คลื่นความร้อนยังแพร่อิทธิพลไปจนถึงประเทศอินเดีย เนปาล เวียดนาม ลาว 

 

 

หากย้อนกลับมาที่ประเทศไทยมีการเก็บข้อมูลไว้ว่าเจออุณภูมิสูงสูดเจอที่จ.ตาก อุณหภูมิเฉลี่ย 30 ปี อยู่ที่ 38.5 องศา ปี 2566 เก็บข้อมูลได้ที่ 44.6 องศา สูงเกิน 5 องศาแต่ไม่ได้ต่อเนื่องกันเกิน 5 วัน ต้องศึกษาต่อว่าประเทศไทยมีคลื่นความร้อนหรือไม่ เพราะเงื่อนไขคลื่นความร้อนระบุว่า อุณภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 5 องศาอย่างน้อยติดต่อกัน 5 วัน แต่ของไทยยังคลุมเครือ 

 

 

ยังคงเกิดเป็นคำถามคาใจปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" ฝนจะแล้งจริงหรือไม่ จะมีผลกระทบอย่างไรบ้างต่อภาคเกษตรกรของไทย โดยเฉพาะข้าว  ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุเอาไว้ว่า ลักษณะประเทศไทยฝนจะน้อยลง "เอลนีโญ" เป็นความผันแปรของอากาศ ช่วงฤดูร้อนปกติฝนน้อยอยู่แล้ว "เอลนีโญ" ทำให้ฝนหายไปเลยในฤดูร้อน ในช่วงเข้าฤดูฝนยังไม่พบว่าฝนตกทุกวัน และตกทั่วพื้นที่ จากข้อมูลพบว่าฝนตกปริมาณน้อย และยังไม่น่าพอใจ เพราะบางพื้นที่ไม่มีฝนเลยโดยเฉพาะพื้นที่หลังเขา เขตเงาฝนบริเวณภาคตะวันตกของอีสาน ไปถึงตอนกลาง แต่จะมีฝนมากบริเวณอีสานตะวันออก อีสานตอนบนส่วนภาคกลางฝนน้อยลง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลกระทบต่อการตกของฝน และทำให้ฝนตกน้อยงได้จริง ๆ 

 

 

ส่วนความรุนแรงของ "เอลนีโญ" ปีนี้จะแรงขึ้นช่วงประมาณ ส.ค.-ก.ย. และปลายปี 2566 จะแรงมากขึ้น เพราะเข้าสู่ช่วง "เอลนีโญ" หากถามว่าจะแล้งหรือไม่นั้นปี 2566 จะยังไม่แล้ง เพราะมีน้ำต้นทุนในเขื่อนมากอยู่ แต่ปี 2567 น้ำจะยิ่งน้อยลง น้ำจืดจะมีน้อยลง จึงจะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนว่าเกิดจาก "เอลนีโญ" และหมายถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ  ดังนั้นกรมอุตุฯ ต้องมีการวางแผนแจ้งเตือน แต่ภาวะการขาดน้ำจะยังไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามแต่ต้องประหยัดน้ำ แต่ปีต่อๆ ไปไทยจะเผชิญภาวะน้ำน้อย โดยเฉพาะนอกเขตพื้นที่ชลประทานที่จะเริ่มได้รับผลกระทบ 

 

 

นอกจากนี้กรมอุตุยังระบุขอเท็จจริงด้วยว่า "เอลนีโญ" จะอยู่ยาวนานเท่านั้น โดยจากการพยากรณ์จากแบบจำลองมีการคาดการณ์ว่า  "เอลนีโญ" จะ มีลักษณะอุณภูมิร้อนขึ้นอยู่บริเวณประเทศไทย +1.5 และกำลังจะดิ่งลง โดยหากพิจารณาจากข้อมูลไม่เชื่อว่ามีค่ายาวนาน เพราะวัฏจักรเป็นระยะสั้น ไม่เคยเจอระยะยาว โอกาสที่จะเพิ่มมีแต่ไม่ได้ยาว และคาดการณ์ว่าต้นปี 2567 เอลนีโญน่าจะเป็นกลางและเข้าใกล้ลานีญา เพราะโลกมีความสวิงขึ้น ลง มีบวก และลบ แต่ลานีญา มีโอกาสเกิดยาวจริง แต่เอลนีโญโอกาสเกิดน้อยมาก เพราะโลกของเรามีขยับขึ้น-ลงต่อเนื่อง มีการปรับตลอดเวลาดังนั้นโอกาสที่จะอยู่ยาวจึงเกิดขึ้นไม่ได้มาก 

 

 

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น จะส่งผลให้ประเทศไทยบางส่วนจะจมอยู่ในทะเลภายในอีกไม่กี่ปี คำถามนี้อาจจะเกิดขึ้นกับหลายคน เพราะมีการรายงานอย่างต่อเนื่องว่า น้ำแข็งขั้วโลกเริ่มมีการละลายมากขึ้น จากภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงทางภสพภูมิอากาศ ส่งผลให้น้ำแข็งและหิมะบริเวฯขั้วโลกและบนแผ่นทวีป ละลายลงสู่ทะเล ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น  รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ 2562 ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2549-2558 (30ปี) ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นประมาณ 100 มม. เฉลี่ยประมาณ 3.3 มม.ต่อปี 

 

 

โดยข้อมูล คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) คาดการณ์ว่าระดับน้ำมหาสมุทรทั่วโลกโดยเฉลี่ยอาจะเพิ่มขึ้นถึง 84 ซม.ในระหว่างปี 2562-2643   ตามความสูงทางภูมิศาสตร์ ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร จะเริ่มส่งผลในจังหวัด สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงทพมหานคร ก่อน  เร็วที่สุดประมาณ ปี  2100 (เพิ่มขึ้น 2-4 องศา) ช้าที่สุดประมาณปี 2300 เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศา ดังนั้นกว่าที่ไทยจะจมทะแลอาจจะใช้เวลานานพอสมควร 

 

 

โดยสรุป คือ ปีไหนที่เกิด "เอลนีโญ" ฝนตกน้อยทุกปี ถ้ารุนแรงและต่อเนื่อ 2-5 ปีจะกระทบต่อการกักเก็บน้ำ น้ำท่วมโลกไม่มี แต่ถ้าน้ำท่วมประเทศ น้ำท่วมบางพื้นที่จะมีแน่นอน แต่น้ำท่วมโลกไม่มีเพราะโลกหมุนตลอดเวลา มีการปรับขึ้น-ลง ดังนั้การที่น้ำจะท่วมโลกไม่มีแน่นอน ต้องสร้างความตระหนักรู้ และให้ข้อมูลแก่ประชาชน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ