ชีวิตดีสังคมดี

รู้สาเหตุ 'แผ่นดินไหว' สะเทือนถึงกรุงเทพฯเพราะอะไร แรงสั่นระยะไกลไม่กระทบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิชาการชี้สาเหตุ 'แผ่นดินไหว' เมียนมารอยเลื่อนสะกาย สะเทือนถึงกรุงเทพฯ เพราะอะไร แรงสั่นระยะไกลไม่กระทบตึกสูง

จากเหตุการณ์  "แผ่นดินไหว"  ขนาด 5.7 ริกเตอร์ ลึก 10 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเมืองเชียงตุง รัฐฉาน รู้สึกได้ในหลายพื้นที่ของเชียงราย จ.สุโขทัย จ.ลำปาง  จ.ลำพูน  จ.น่าน  จ.พะเยา จ.อุตรดิตถ์  จ.แม่ฮ่องสอน  จ.สกลนคน   รวมทั้งอาคารสูง ในกรุงเทพมหานครหลายพื้นที่ รับรู้แรงสั่นไหว

รศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการควบคุมอาคาร อนุกรรมการสภาวิศวกร อธิบายกับ คมชัดลึก ถึงสาเหตุ ที่ทำให้คืนที่ทำให้พื้นที่กรุงเทพได้รับแรงสั่นไหวจากเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" ที่เกิดจากรอยเลื่อนสะกาย  ซึ่งจุดเกิดเหตุอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพหลายกิโลเมตร ว่า แม้ว่าลอยเลื่อนดังกล่าวจะอยู่ห่างจากกรุงเทพเป็นระยะทางค่อนข้างไกล ที่ส่งผลให้คนกรุงเทพฯ รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนในเกิดในการเกิด "แผ่นดินไหว" ครั้งนี้ได้นั้น เกิดขึ้นจากกรณีที่ พลังงานของแผ่นดินไหวเกิดการ หักเหเมื่อถึงพื้นที่ที่มีดินอ่อน โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพที่ผมว่าขณะนี้มีที่เป็นดินอ่อนถึง 10 แอ่ง ลักษณะพื้นที่ที่เป็นดินอ่อนเช่นนี้จะทำให้เกิดเรโซแนนซ์ ส่งผลให้ตึกเกิดการสั่นแบบไป-กลับหรือที่เรียกว่า ‘คาบ’ เพราะโดยปกติแล้วการออกแบบอาคารทางวิศวกรรมจะมีการกำหนดเพราะโดยปกติแล้วการออกแบบอาคารทางวิศวกรรมจะมีการกำหนดค่าของอาคารตามแรงลม 

โดยอัตราการเคลื่อนตัวไป-กลับของคาบในอาคารต่ำจะอยู่ที่ 0.2 วินาที 
 
ส่วนอาคารที่มีตั้งแต่ 20 - 30 ชั้น จะมีการสั่นของ คาบไป-กลับอยู่ที่ 2 วินาที 
 
ส่วนอาคารที่มีขนาดสะสมมากๆ จะถูกออกแบบการไปกลับ ของคาบให้ทนต่อสภาพแรงลม ดังนั้นการเกิด "แผ่นดินไหว" ครั้งนี้ในอาคารที่มีค่าสูงเกิน 30 ชั้นขึ้นไปจึงไม่ รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน
 
 
ดังนั้น เมื่อพลังงานจาก "แผ่นดินไหว" เดินทางมาถึงจุดที่เป็นดินอ่อนจึงส่งผลกระทบให้คาบขยายวงกว้างมากขึ้น จึงทำให้จึงทำให้อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ขนาด 20-30 ชั้น หรืออาคารขนาดเล็กรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวของคาบ แต่ไม่ได้มีอันตรายต่อตึก หรือ อาคาร เนื่องจากเป็นการสั่นสะเทือนในระยะไกล เพราะโดยปกติพลังงานจากแผ่นดินไหวจะเพิ่มขึ้นเมื่อคลื่นผ่านจุดที่เป็นดินอ่อนจะทำให้เกิดการฟ้องคลื่น โดยการสั่นของตึกหลังจากแผ่นดินไหวในครั้งนี้จึงไม่มีความน่ากังวลต่ออาคารในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เพราะมีการออกแบบให้รองรับแรงสั่นสะเทือน โดยกฎกระทรวงปี 2564 ซึ่งมีการปรับปรุงล่าสุดหลังจากที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 2557 
 
 
รศ.เอนก อธิบายเพิ่มเติมว่า  จากการสำรวจจากการสำรวจแอ่งดินอ่อน ในประเทศไทยพบว่าขณะนี้นอกจากพื้นที่กรุงเทพฯ แล้วยังมีแหล่งดินอ่อนในพื้นที่อื่นๆเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก เช่น จ.ชลบุรี จ.ฉะเชิงเทรา  โดยพื้นที่แอ่งดินอ่อนนั้นมีผลต่อแรงสั่นสะเทือนของ แผ่นดินไหว แต่อย่างไรก็ตามการรับแรงสั่นสะเทือนระยะไกลเช่นนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวอาคารโดยตรง การรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากรอยเลื่อนสะกายในครั้งนี้ ยังถือว่าไม่เป็นอันตรายต่อตึกสูง แต่หากประชาชนเกิดความไม่สบายใจหรือพบว่าการสั่นสะเทือนในระยะไก่ครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคาร สามารถติดต่อมายัง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (สวท.) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบได้ ทั้งนี้ยืนยันว่าการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย ไม่ได้รุนแรงผลส่งผลกระทบแน่นอน 
 
  
logoline

ข่าวที่น่าสนใจ