ชีวิตดีสังคมดี

จิตอาสาร่วมมือปลูก 'หญ้าทะเล' เสริมความสมบูรณ์ระบบนิเวศ ริมทะเลอ่าวไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จิตอาสาร่วมมือ ร่วมใจ ปลูก 'หญ้าทะเล' เสริมความสมบูรณ์ระบบนิเวศ ในโครงการ S&P ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนคุณค่าสู่ท้องทะเล บริเวณ หาดน้ำแดง จ.ระยอง

ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป (Climate Change) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์สิ่งมีชีวิตต่างๆ สิ่งแวดล้อม และยังกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฤดูกาล การเกิดภัยพิบัติ และการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่เราพบเห็นกันตามข่าวมากขึ้น

 

สุรศักดิ์ ทองสุกดี - มณีสุดา ศิลาอ่อน -  บรรณรักษ์ เสริมทอง

 

ในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลกและวันทะเลโลก 6 มิ.ย. 2566 หลายองค์กรจึงหันมาให้ตระหนักกับเรื่องนี้มากขึ้น โดยจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อร่วมรณรงค์ อาทิ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) นำโดย มณีสุดา ศิลาอ่อน ประธานเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร และพนักงานจิตอาสา ร่วมกับ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดย สุรศักดิ์ ทองสุกดี ผู้อำนวยการ และยังได้รับเกียรติจาก บรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกิจกรรมปลูกหญ้าทะเลในโครงการ “S&P ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนคุณค่าสู่ท้องทะเล” อันเป็นการช่วยสร้างสมดุลให้ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน บริเวณหาดน้ำแดง จ.ระยอง

 

 

มณีสุดา ศิลาอ่อน

 

มณีสุดา กล่าวว่า เอส แอนด์ พี ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนสังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของสหประชาชาติ คือ เป้าหมายที่13 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

จิตอาสาร่วมมือปลูก 'หญ้าทะเล' เสริมความสมบูรณ์ระบบนิเวศ ริมทะเลอ่าวไทย

 

จิตอาสาร่วมมือปลูก 'หญ้าทะเล' เสริมความสมบูรณ์ระบบนิเวศ ริมทะเลอ่าวไทย

 

จิตอาสาร่วมมือปลูก 'หญ้าทะเล' เสริมความสมบูรณ์ระบบนิเวศ ริมทะเลอ่าวไทย

 

“บริษัทฯ จึงได้จัด “โครงการ S&P ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนคุณค่าสู่ท้องทะเล” เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่พนักงานในการร่วมดูแล ฟื้นฟู และปกป้องทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เนื่องจากทุกวันนี้มนุษย์ใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิต อีกทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ยังก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ เราตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศเพื่อตอบแทนคืนสู่ธรรมชาติ ด้วยการปลูกหญ้าทะเล เสริมสร้างระบบนิเวศตามแนวชายฝั่งทะเล เพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งพักพิงของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญ เมื่อสัตว์ทะเลมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็จะส่งผลดีต่อการขยายพันธุ์ นอกจากนี้ หญ้าทะเลยังมีคุณสมบัติสำคัญสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ดีกว่าป่าบกถึง 4 เท่า อันเป็นการช่วยสร้างสมดุลให้ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน”

 

ลัดดาวัลย์ แสงสว่าง

 

ภายในงาน ลัดดาวัลย์ แสงสว่าง นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก รับผิดชอบเกี่ยวกับหญ้าทะเล ใน 4 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ยังร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับ "หญ้าทะเล" ไว้ดังนี้

 

หญ้าทะเล เป็นพืชดอกที่เจริญเติบโตอยู่ในทะเล โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อว่าดั้งเดิมของพืชมีกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เรียกว่าไดอะตอมที่อยู่อาศัยในทะเล ต่อมาวิวัฒนาการเป็นพืชบกซึ่งมีพัฒนาการถึงขั้นสูงสุดเป็นพืชดอก แต่หญ้าทะเลป็นกลุ่มพืชมีดอกกลุ่มเดียวเท่านั้นที่พัฒนากลับลงไปสู่ทะเล

 

หญ้าทะเล สามารถแพร่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตน้ำตื้นชายฝั่งทะเลทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยสืบพันธุ์ได้ 2 วิธีการ คือ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ โดยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนั้น หญ้าทะเลจะแตกกิ่งก้านหรือยอดใหม่จากเหง้าหรือไรโซม ส่วนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ หญ้าทะเลจะผลิตดอกและมีการถ่ายละอองเกสรโดยใช้น้ำและคลื่นลมเป็นตัวพัดพา จากนั้นเมื่อมีการปฏิสนธิดอกตัวเมียจะพัฒนาเป็นผลซึ่งภายในมีเมล็ดที่ใช้ในการแพร่ขยายพันธุ์ต่อไปได้

 

หญ้าทะเล

 

หญ้าทะเลมีลักษณะโครงสร้างภายนอกคล้ายคลึงกับหญ้าที่เจริญอยู่บนบก ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

 

  1. ราก เป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหารและแร่ราตุจากในดิน ทั้งยังช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดินทำให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง
  2. เหง้า เป็นส่วนของลำต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้นผิวดิน
  3. ใบ เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร มีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของหญ้าทะเล มีทั้งชนิดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นแบนและชนิดที่เป็นท่อกลม ใบของหญ้าทะเลถูกนำมาใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิดของหญ้าทะเล

 

ในไทยมีหญ้าทะเลทั้งหมด 13 ชนิด แบ่งเป็น กลุ่มที่มีใบแบน หรือ ใบกลมยาว ได้แก่ หญ้าคาทะเล, หญ้าต้นหอมทะเล, หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้ากุยช่ายเข็ม, หญ้าตะกานน้ำเค็ม, หญ้าชะเงาใบมน, หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย และหญ้าชะเงาเต่า ส่วนกลุ่มที่มีใบแบนสั้นรูปรี ได้แก่ หญ้าเงา หรือหญ้าใบมะกรูด หรือหญ้าอำพัน, หญ้าเงาใบเล็ก, หญ้าเงาใบใหญ่, หญ้าเงาใส และหญ้าเงาแคระ

 

หญ้าทะเล

 

แต่ในจังหวัดระยองมีหญ้าทะเลที่เด่นๆ 2 ชนิด คือ หญ้ากุ่ยช่ายทะเล ขึ้นในบริเวณน้ำตื้น และหญ้าใบมะกรูด ลักษณะใบกลม จะอยู่แนวด้านนอกคืออยู่ในพื้นที่ที่จมน้ำตลอดเวลา ในส่วนของอ่าวมะขามป้อม จ.ระยอง ที่มาทำกิจกรรมปลูกหญ้าทะเลวันนี้....หญ้าทะเลบริเวณนี้เรียกว่าอ่าวมะขามป้อม-เนินฆ้อ คือมีความยาวตั้งตั้งอ่าวมะขามป้อม ไปจนถึงเนินฆ้อ มีพื้นที่ที่เป็นศักยภาพหญ้าทะเลอยู่ที่ 1,480 ไร่ หญ้าชนิดเด่นของบริเวณนี้ คือ หญ้ากุ่ยช่ายทะเล

 

 

การเลือกฟื้นฟูหญ้าทะเลควรเลือกพื้นที่ที่เป็นอ่าวหลบลม เมื่อไหร่ที่หญ้าลงดิน ฟื้นตัวได้ จะค่อยๆ แผ่ขยายตัวออกไปเอง เช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ คือถ้าไม่ยึดดินบวกกับคลื่นลมแรง หญ้าก็จะหลุดลอยไปได้ เพราะฉะนั้นการเลือกพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญในการปลูกหญ้า

 

วิธีการปลูกหญ้าทะเล คือ ขุดหลุมแล้วเอาหญ้าลงไปทั้งถ้วยกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ แต่ต้องเจาะรูให้ถ้วยพรุนก่อน เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้ให้มีการหมุนวียน เพราะถ้าเราไม่เจาะรูดินด้านในถ้วยจะเน่า พยายามให้ดินเสมอกับขอบถ้วย อย่าให้เป็นหลุมเพราะตะโกนซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการฟื้นฟูหญ้าทะเลจะมาทับถมได้ ซึ่งหากทับในปริมาณมากเป็นเวลานานจะทำให้การสังเคราะห์แสงน้อยลง หรือไม่อาจทำได้ทำให้หญ้าทะเลค่อยๆ ตายและหายไปจากพื้นที่นั้น

 

จิตอาสาร่วมมือปลูก 'หญ้าทะเล' เสริมความสมบูรณ์ระบบนิเวศ ริมทะเลอ่าวไทย

 

การที่เราจะฟื้นฟูหญ้าทะเลจะดูจากหญ้าทะเลเดิมเป็นหลักว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นหญ้าชนิดไหนที่จะโตได้ อย่างโซนระยองเป็นหญ้ากุ่ยช่าย แต่มีหญ้าอีกชนิดหนึ่งที่เราทำการฟื้นฟู คือ หญ้าคาทะเล ลักษณะใบใหญ่ปลูกง่าย และค่อนข้างเห็นผลว่าอัตรารอดจะดี แต่ในจังหวัดระยองไม่มี ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเลนนิดหน่อย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี และที่อ่าวธรรมชาติ จ.ตราด

 

ถ้าพื้นที่ไหนยังไม่เคยมีหญ้าทะเลมาก่อน แต่เราอยากทดลองเอาหญ้าไปฟื้นฟู อย่างแรกเลยที่ต้องดูคือพื้นที่นั้นควรมีลักษณะเป็นเลนปนทรายจะเหมาะกับหญ้ามากกว่า เพราะถ้าเป็นทรายล้วนๆ เหมือนชายหาดหญ้าจะโตยาก แต่ถ้าเป็นเลนมากๆ หญ้าจะไม่สามารถยึดเกาะได้ อย่างพื้นที่ตรงนี้เป็นเลนปนทราย

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ