ชีวิตดีสังคมดี

'ภาวะโลกร้อน' ส่งสัญญาณ อุณภูมิพุ่งสูงสุด 1.5 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ภาวะโลกร้อน' เริ่มส่งสัญญาณเตือน คาดการณ์อีก 5 ปีข้างหน้าอุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้น 1.5 องศามากยิ่งขึ้น สะท้อนทั่วโลกยังไม่บรรลุข้อตกลงปารีส

นักวิทยาศาสตร์มีการคาดการณ์ว่า  อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มที่จะร้อนขึ้นองศาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยพบว่ามีโอกาสมากถึง 66% ที่โลกจะร้อนขึ้นถึง 1.5 องศา ในปี 2027  ซึ่งมีผลมาจากการปล่อยมลพิษของออกมาอย่างต่อเนื่องของคนทั่โลก  และปรากฎการณ์แอลนีโญที่จะเริ่มขึ้นในช่วงครึ่งในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ย้ำว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจจะเป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น

 

 

กรณีที่อุณหภูมิโลกกำลังสูงแตะ 1.5 องศาเซลเซียส นับว่าเป็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยหลักๆ เกิดจากการเผาไหม้ฟอสซิล และการปล่อยเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนั้นแสดงให้เห็นว่า "ภาวะโลกร้อน" กำลังรุนแรงมากยิ่งขึ้น 

 

โดยหากทุกๆ ปี อุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศา ภายในระยะเวลา 10 ปี เราจะเห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาวะโลกร้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น คลื่นความร้อนที่นานขึ้น พายุที่รุนแรงขึ้น และไฟป่า 

 

 

กรมอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO)ได้มีการประเมินโอกาสที่อุณหภูมิโลกในปี 2020 ว่าจะสูงขึ้นทะลุ 1.5 องศา   ในตอนนั้นโอกาสที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมีราว ๆ 20 % และในปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 50% ล่าสุดในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 66 % ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่อีก 5 ปีข้างหน้าอุณหภูมิโลกจะสูงแตะ 1.5 องศา

 

 

ทั้งนี้การควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้ร้อนขึ้น 1.5 องศา เป็นข้อตกลงปารีสที่ทุกประเทศจะต้องพยายามดำเนินการเพื่อกดอุณหภูมิของโลกเอาไว้ด้วยการลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลภาวะลง แต่กรณีที่ในอีก 5 ปีข้างหน้าอุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นไม่ได้หมายความว่าข้อตกลงปารีสจะถูกทำลายลง นักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า ทั่วโลกยังมีเวลาอีกมากที่จะจำกัด "ภาวะโลกร้อน" ด้วยการลดการปล่อยมลพิษ 

  • อุณหภูมิที่สูงขึ้น 1.5 องศา จะส่งผลอย่างไร

ตัวเลข 1.5 องศาไม่ใช่การวัดอุณภูมิของโลกโดยตรง แต่เป็นการชี้ให้เห็นว่า ระดับอุณหภูมิของโลกอุ่นขึ้นหรือเย็นลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอุณหภูมิโลกในระยะยาว โดยนักวิทยาศาสตร์ ระบุข้อมูลว่า อุณหภูมิระหว่างปีค.ศ. 1850-1900 จะเป็นตัวชี้วัดว่าโลกร้อนขึ้นเพียงใดเพราะในช่วงนั้นยังเป็นช่วงที่มนุษย์ต้องพึ่งพาถ่านหิน ก่อนที่จะมีการใช้น้ำมัน และก๊าซอย่างเช่นในปัจจุบัน เป็นเวลากว่าหลายทศวรรษที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกจะร้อนขึ้น 2 องศา ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่อันตรายและเริ่มส่งผลกระทบ แต่ในปี 2018 มีการแก้ไขประมาณการอุณหภูมิของโลกที่จะเป็นหายนะต่อโลกเป็น 1.5 องศา

 

 

หลังจากนั้นไม่นานในช่วงปี 2016 พบว่าอุณหภูมิของโลกสงขึ้นเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 1.28 องศาเป็นตัวเลขที่สูงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยตัวเลขดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความมั่นใจกว่า 98% ว่าในปี 2027 อุณหภูมิโลกจะสูงมากขึ้นทะลุ 1.5 องศาเป็นครั้งแรก 

 

 

ศ. Adam Scaife ผู้เชี่ยวชาญอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร (Meteorological Office ) ระบุว่า "ตอนนี้เราเข้าใกล้อุณหภูมิเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส และถือว่าเป็นครั้งแรกของมนุษย์แต่ ตัวเลขดังกล่าวอาจเป็นสถิติที่ชัดเจนที่สุดที่เราได้รับในรายงาน

 

 

ส่วนกรณีที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นนั้นแน่นอนว่ามีผลต่อการทำข้อตกลงปารีสของทั่วโลกแน่นอน โดยนักวิจัยเน้นย้ำว่า อุณหภูมิจะต้องควบคุมอุณหภูมิโลกให้อยู่ที่  1.5 องศา เป็นเวลา 20 ปีจึงจะสามารถบอกได้ว่าผ่านเกณฑ์ข้อตกลงปารีสหรือไม่

 

  • แนวทางสำหรับเปลี่ยนแปลงวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

อย่างไรก็ตามรายงานสภาพอากาศและอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียลนั้นเป็นเพียงการส่งสัญญาณเพียงชั่วคราวเท่านั้น และยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่กำลังจะบอกให้มนุษย์ทราบว่าเรากำลังทำลายโลกกันแค่ไหน หากเรายังไม่สามารถทำตามข้อตกลงปารีสได้ แน่นอนว่าเราจะต้องเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น 

 

 

อย่างไรก็ตามการที่โลกมีอุณหภูมิทะลุ 1.5 องศาเซลเซียสอาจเกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว แต่ถึงเช่นนั้นข้อมูลล่าสุดก็สะท้อนให้เห็นชัดเจนสุดๆ ว่า ปัญหาจากภาวะโลกรวนได้เลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว และนำมาซึ่งมหันตภัยที่เป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ สัตว์ ทั้งระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น สภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น และการล่มสลายของระบบนิเวศสำคัญในหลายภูมิภาคของโลก

 

  • ปรากฏการณ์แอลนีโญจะสร้างความแตกต่างอย่างไร


มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ประการ ที่เป็นตัวแปรทำให้โลกร้อนขึ้น ประการแรกการคือการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ แม้ว่าในช่วงโควิดจะมีการทำกิจกรรมที่ลดลงแต่เป็นเพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น 

 

 

ประการที่สอง ปรากฎการณ์ แอลนีโญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลก ทั้งนี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาโลกเผชิญกับปรากฎการณ์ลานีญา ในช่วงที่โลกเผชิญกับปรากฏการณ์ลานีญ่าพบว่าส่งผลกระทบทำให้โลกร้อนขึ้นด้วยเช่นกัน  

 

 

แต่ปรากฎการณ์แอลนีโญที่กำลังเข้ามาในช่วงกลางปีนี้จะทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิที่สูงมากขึ้น และส่งผลต่ออุณหภูมิโลกด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามยังไม่ยืนยันว่าปรากฎการณ์แอลนีโญจะรุนแรงและส่งผลกระทบต่อโลกมากแค่ไหน.  

 

 

อ้างอิง :  https://www.bbc.com/news/science-environment-65602293 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ