ชีวิตดีสังคมดี

นโยบาย 'โลกร้อน' พรรคก้าวไกล ต้องเร่งทำก่อนอุณหภูมิโลกจะทำร้ายทุกอย่าง

นโยบาย 'โลกร้อน' พรรคก้าวไกล ต้องเร่งทำก่อนอุณหภูมิโลกจะทำร้ายทุกอย่าง

21 พ.ค. 2566

นโยบายสิ่งแวดล้อมรับวิกฤต 'โลกร้อน' ของพรรค้าวไกลต้องเร่งทำก่อนอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นและทำร้ายทุกอย่าง หลังพบไทยเผชิญปัญหาน้ำท่วมยาวนานผิดปกติ

ปัญหา "โลกร้อน" เป็นภัยต่อสังคมอย่างมาก และเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาเราเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ในปี 2549 ประเทศไทยเคยมีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 10 ล้านไร่ ตอนนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเป็น 27 ล้านไร่ สอดคล้องกับรายงานของธนาคารโลกที่ระบุว่าปี 2011-2045 (พ.ศ. 2554-2588) โลกร้อนจะสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรไทยราว 3 ล้านล้านบาท ผลิตพืชต่างๆ ได้น้อยลง เช่น ข้าวน้อยลง 13% มันลดลง 21% อ้อยลดลง 35%

 

 

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังพยายามจะควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศา แต่ที่ผ่านมาเราพบว่านโยบายการแก้ปัญหา "โลกร้อน" ของรัฐบาลไทยยังไม่ได้ออกมาเป็นรูปธรรมมากหนัก ดังนั้นความคาดหวังว่านับจากนี้ต่อไปประเทศไทยจะมีแนวโนยบายแก้ปัญหาวิกฤตสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ปัญหา "โลกร้อน" ที่รัฐบาลชุดใหม่จะให้ความสำคัญมากขึ้น

นับจากนี้ต่อไปคงจะต้องจับตาการจัดตั้งรัฐบาล รวมทั้งการดำเนินการตามนโยบายที่เคยให้ไว้กับประชาชน โดยเฉพาะพรรคที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอย่างพรรคก้าวไกล แต่ก่อนจะไปถึงการตั้งรัฐบาลวันนี้ คมชัดลึก จะพาไปย้อนดูนโยบายสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหา "โลกร้อน" ของพรรคก้าวไกล

พรรคก้าวไกลได้วางนโยบายสิ่งแวดล้อมไว้ภายใต้ แนวคิด สิ่งแวดล้อมไทยก้าวหน้า โดยจะมีทั้งนโยบายเชิงรุก และเชิงรับ โดยนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคก้าวไกลตั้งเป้าหมายว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้ได้ในปี 2050 (พ.ศ. 2593)

 

ซึ่งมีแนวทางที่จะดำเนินการแก้ปัญหา "โลกร้อน" ดังนี้

 

เปิดตลาดเสรี ส่งเสริมไฟฟ้าสะอาดพลังงาน

  • “หลังคาสร้างรายได้” เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ครัวเรือน
  • “ปลดล็อกระ เบียบ” สร้างตลาดซื้อ-ขายไฟฟ้าเสรีของประชาชน
  • “ประกันราคา” ไฟฟ้าพลังงานสะอาด สำหรับครัวเรือน
  • “ปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด” ภายใน 2580

 

 

ภาคเกษตรไม่เผาเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกเป็นรายได้

  • กำจัดการเผาภายใน 3 ปี งบปรับตัวตำบลละ 3 ล้านบาท 1,000 ตำบล
  • เปลี่ยนการเผาเป็นเงินในกระเป๋าเกษตรกร งบอุดหนุนปลูกข้าว “เปียกสลับแห้ง” แทนการเผา สร้างอุตสาหกรรมแปรรูปฟางข้าว-ซังข้าวโพดแทนการเผา
  • 1 ฟาร์มปศุสัตว์ 1 บ่อหมักก๊าซชีวภาพ (เป็นอย่างน้อย) เปลี่ยนมีเทนเหลือทิ้งให้เป็นพลังงาน

 

 

จำกัดการปล่อยมลพิษอุตสาหกรรม

  • กำหนดเพดานและเปิดตลาด (Cap & Trade) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม เปิดตลาดค้าขายแลกเปลี่ยนโควตา
  • PRTR – กฎหมายเปิดข้อมูล บังคับให้ทุกโรงงานเปิดข้อมูล สารพิษอันตรายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

 

ปรับปรุงการขนส่งให้สะอาดที่สุด

  • รถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด ภายใน 7 ปี
  • “วันขนส่งฟรี” รณรงค์ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว
  • เปลี่ยนรถไฟดีเซลเก่าเป็นไฟฟ้า
  • ตรวจสภาพรถยนต์ฟรี! ปีละครั้ง
  • ควบคุมปริมาณรถบรรทุกในเขตเมือง

 

 

Zero Food Waste กำจัดขยะอาหารเหลือทิ้ง

  • เพิ่มค่าขยะอาหารในห้างใหญ่ บังคับแยกขยะ-เก็บข้อมูล-ทำบัญชีขยะอาหาร
  • อาหารเหลือทิ้งแลกสินค้าเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมให้ชุมชนทำปุ๋ยจากอาหารเหลือทิ้ง เพื่อเป็นคูปองซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ ขยะเหลือทิ้ง 1 กิโล แลกได้ 1 บาท

 

 

ป่าแลกเงิน เพิ่มพื้นที่สีเขียว

  • ต้นไม้ปลดหนี้ รัฐจ่ายหนี้ค้างให้เกษตรกร ในฐานะค่าเช่า แลกกับใช้ที่ดินของเกษตรกรปลูกไม้ยืนต้น
  • ต้นไม้บำนาญ คนปลูกได้รับรายได้เป็นรายเดือน 1,200 บาท/ไร่/เดือน เป็นเวลา 20 ปี
  • ต้นไม้ทุนรัฐบาล อุดหนุนงบเกษตรกรปลูกป่า 4,000 บาท/ไร่ ในช่วงเวลา 3 ปี
  • ต้นไม้ชุมชน อุดหนุนปลูกป่าชุมชน 4,000 บาท/ไร่/ปี จำนวน 1,000 ชุมชน
  • เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ด้วยการเพิ่มงบท้องถิ่น ผ่านนโยบายทุกจังหวัดไทยก้าวหน้า