ชีวิตดีสังคมดี

อัปเดต "สถานการณ์น้ำ 2566" ฤดูแล้ง ประเทศไทยจะแห้งแล้งรุนแรงหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อัปเดต "สถานการณ์น้ำ 2566" โค้งสุดท้าย ฤดูแล้ง หลังทั่วโลกเจอปรากฎการณ์ เอลนีโญ จะทำประเทศไทยจะแห้งแล้งรุนแรงแค่ไหน ด้านกรมชลประทานมั่นใจปีนี้พาไทยพ้นวิกฤตขาดแคลนน้ำ

เริ่มต้นเม.ย.2566 สัญญาณเข้าสู่ฤดูร้อนก็เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ  สำหรับในปีนี้มีการคาดการณ์ว่าโลกจะเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อน และ แห้งแล้ง รุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้อิทธิพลจากปรากฏการณ์ เอลนีโญ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกๆ 5 ปี ดังนั้นในปี 2566 นี้จึงมีการคาดการณ์ว่าโลกจะร้อน และเผชิญกับภาวะ แห้งแล้ง มากยิ่งขึ้น 

 

 

ประกอบกับคำพยากรณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ระบุว่าในปีนี้ฝนจะทิ้งช่วงนานขึ้น ดังนั้นสิ่งที่จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนหากไม่มีการบริหารจัดการให้ดี คือ การบริหารจัดการ "สถานการณ์น้ำ 2566" เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ฤดูแล้ง ซึ่งได้เริ่มตั้นขึ้นตั้งแต่ช่วง พ.ย.65-เม.ย.66  โดยเฉพาะการจัดการ "สถานการณ์น้ำ 2566" ใน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคการเกษตร อุปโภคบริโภค  ภาคอุตสาหกรรม และการรักษาระบบนิเวศ 

สำหรับแผนการบริหารจัดการ "สถานการณ์น้ำ 2566" นายประพิศ จันทร์มา  อธิบดีกรมชลประทาน อธิบายถึงแผนการดูแล "สถานการณ์น้ำ 2566" ว่า   ขณะนี้สถานการณ์น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกัน 48,375 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) หรือ 63% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 24,433 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 14,864 ล้าน ลบ.ม. หรือ 60% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 8,168 ล้าน ลบ.ม. 

 

 นายประพิศ จันทร์มา  อธิบดีกรมชลประทาน

ในส่วนของการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ได้มีการวางแผนไว้ทั้งประเทศประมาณ 10.42 ล้านไร่ ขณะนี้เพาะปลูกไปแล้ว 10.14 ล้านไร่ หรือ 97% เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาวางแผนการเพาะปลูกข้าวนาปรังไว้ 6.64 ล้านไร่ เพาะปลูกไปแล้ว 6.37 ล้านไร่ หรือ 96%  โดยในปีนี้กรมชลฯ เริ่มปล่อยน้ำให้แก่เกษตรในการเตรียมแปลงนาปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อที่เกษตรกรจะได้มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น เพื่อลดความเสียหายจากช่วงฤดูฝน 

อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าจากนี้ไปจนถึงต้นฤดูฝนในช่วง พ.ค.2566 จะมีน้ำต้นทุนใน 4 เขื่อนหลักประมาณ 7,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับแนวทางการใช้น้ำอย่างปราณีต  ไม่ฟุ่มเฟื่อย 

 

พื้นที่เกษตรกรรม

 

  • โดยกรมชลประทายได้ดำเนินการตาม 10 มาตรการบริหารจัดการ "สถานการณ์น้ำ 2566" ดังนี้ 

 

1.เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำต้นทุน 

2.เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนนน้ำ

3.ปฏิบัติการเติมน้ำ ให้กับแหล่งน้ำ พื้นที่เกาตรและพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ  

4.กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 

5.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร 

6.เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง  โดยการสนับสนุนจัดสรรน้ำเตรียมแปลงปลูกนารอบที่1 (นาปี)

7.เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ในแม่น้ำสายหลัก สายรองและเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหาและแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง 

8.เสริมสร้างความเข็มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน  ให้มีนำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค และการเกษตร 

9.สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ 

10.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามแผน 

 

 

  • ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศน้ำใช้การใช้ทั้งประเทศ 24,433 ล้านลบ.ม. 

 

-ภาคเหนือ : 8,935 ล้านลบ.ม. 
-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: 3,688 ล้านลบ.ม.
-ภาคตะวันตก: 5,924 ล้านลบ.ม.
-ภาคกลาง: 783 ล้านลบ.ม.
-ภาคใต้: 3,942 ล้านลบ.ม.
-ภาคตะวันออก: 1,161 ล้าน ลบ.ม. 

 

สถานการณ์น้ำปี 2566

 

  • สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (ข้อมูล ณ วันที่ 3 เม.ย.66)

-เขื่อนภูมิพล ปริมาณน้ำใช้การได้  5,295 ล้านลบ.ม. 

-เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำใช้การได้  2,108 ล้านลบ.ม.

-เขื่อนภูมิพล+สิริกิติ์ ปริมาณน้ำใช้การได้ 7,403 ล้านลบ.ม. 

-เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ปริมาณน้ำใช้การได้ 363 ล้านลบ.ม.

-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำใช้การได้  347 ล้านลบ.ม. 
 
 

สถานการณ์น้ำ 2566

 

"ภาพรวมปริมาณน้ำในปัจจุบัน ยังคงเป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำที่กรมชลประทานได้กำหนดไว้ และยืนยันว่า น้ำจะเพียงพอสนับสนุนทุกกิจกรรมของการใช้น้ำไปจนตลอดฤดูแล้งนี้ เพราะได้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างประณีต มีการจัดรอบเวรการส่งน้ำ การปรับปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนฤดูน้ำหลาก ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียของผลผลิตทางเกษตร รวมถึงการวางแผนบริหารความเสี่ยงล่วงหน้า เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งในบางพื้นที่ที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงอยากขอความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด และปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำอย่างรัดกุม เพื่อให้มีน้ำเพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนและลดความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต" นายประพิศ กล่าวสรุป 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ