ชีวิตดีสังคมดี

10 ภัยพิบัติร้ายแรงจาก 'Climate Change' กระทบระบบนิเวศ ก่อโรคอุบัติใหม่ซ้ำๆ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

10 ภัยพิบัติรุนแรง ใกล้ตัวที่เกิดจากภาวะ 'Climate Change' กระทบตั้งแต่ภูเขาถึงท้องทะเล ก่อให้เกิดภัยแล้ง พายุุรุนแรง และสร้างโรคอุบัติใหม่ซ้ำๆ คร่าทั้งคนและธรรมชาติ

ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ "Climate Change" มีผลอย่างมากที่จะทำให้โลกแย่ลง แต่ตั้งแต่ปี 1800 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ และสาเหตุหลักมาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ) ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

 

อย่างไรก็ตามข้อมูลจาก องค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส ทศวรรษที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2011-2020) เป็นช่วงที่ร้อนที่สุด ทั้งนี้ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้โลกได้รับผลกระทบ และก่อให้เกิดภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็น  ภัยแล้งรุนแรง การขาดแคลนน้ำ ไฟไหม้รุนแรง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย วาตภัยขนาดใหญ่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุป 10 ภัยพิบัติที่เกิดจาก "Climate Change"

 

  • อากาศสุดขั้ว: สภาพอากาศโดยเฉลี่ยร้อนขึ้นตามอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ทำให้ฤดูร้อนยาวนาน ฤดูหนาวจะสั้นลง พายุมีความรุนแรงและฝนตกหนักรวมทั้งเกิดภัยแล้วถี่ขึ้น 

 

  • คลื่นความร้อน(Heat Wave): ในช่วงฤดูร้อนเขตอบอุ่นแถบยุโรปและอเมริกาเหนืออุณหภูมิจะสูงขึ้นเกือบ 50 องศา อากาศร้อนอบอ้าวหลายสัปดาห์และยังทำให้เกิดไฟป่า เผาทำลายพืชและสัตว์อย่างกว้างขวาง  

 

  • ภัยแล้งซ้ำซาก: ปรากฎการณ์เอลนีโญ และลานีญา ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนตกหนัก ทวีความรุนแรงและถี่ขึ้นถึง 5 เท่า ในช่วง 100 ปี 

 

  • หิมะถล่มเมือง: ทวีปอเมริกาเหนือและตอนเหนือของยุโรปอาจเกิดปรากฎการณ์หนาวสุดขั่ว อุณหภูมิติดลบต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หิมะตกต่อเนื่องยาวนาน 

 

  • พายุหมุนขนาดยักษ์: น้ำทะเลในมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูง ทำให้เกิดพายุหมุนเขตร้อน เช่น ใต้ฝุ่น เฮอริเคน  ไซโคลน ถี่และรุนแรงกลายเป็นซูเปอร์พายุหมุน (Superstorm) ที่ก่อภัยพิบัติน้ำท่วม ดินถล่ม 

 

  • น้ำท่วมโลก:  เกิดจากสภาวะโลกร้อนส่งผลให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายลงสู่ทะเลและมหาสมุทร ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เมืองที่อยู่ติดชายทะเลอาจจะจมอยู่ใต้น้ำ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวสะโลกร้อนที่เกิดขึ้น  

 

  • กระแสน้ำมหาสมุทรแปรปรวน: การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกทำให้การไหลเวียนของกระแสน้ำอุ่น และกระแสน้ำเย็นเคลื่อนที่ช้าลง ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนบกและสัวต์ในทะเล 

 

  • ทะเลเป็นกรด: น้ำทะเลมีความเป็นกรดสูงสภาวะทางเคมีเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในระบบนิเวศทางทะเลต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่

 

  • พืชและสัตว์สูญพันธุ์: เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ระบบนิเวศเสื่อมโทรมสิ่งมีชีวิตบนบกดำรงชีวิตได้ยาก ทั้งการผลัดใบ ผลิดอกของพืชการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์รวมถึงการจับคู่ผสมพันธุ์วางไข่ 

 

  • โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ: การระบาดของโรคร้ายจากเขตร้อนแพร่กระจายไปสู่ภูมิภาคอื่นของโลกง่ายขึ้นทั้งโรคมาลาเลีย ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โรคคอตีบ และเกิดเชื้อโรคชนิดใหม่ เช่น โรคซาร์ส 

 

10 ภัยพิบัติสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

 

ข้อมูลระบุเพิ่มเติมว่าผลกระทบจาก  "Climate Change"  ได้สร้างความเสียหายและทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีๆ ลุกลามกระทบไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างต่อเนื่องแบบลูกโซ่ เสี่ยงต่อการเกษตร สุขภาพของมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน การดำรงชีวิต และเศรษฐกิจของทั่งโลก ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาสมดุลของโลกใบนี้เอาไว้ UN ได้มีการทำโครงการ ActNow เป็นโครงการรณรงค์ของสหประชาชาติว่าด้วยการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนในระดับบุคคล ทุกคนสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน  และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการทำกิจกรรมที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ