ชีวิตดีสังคมดี

'PM2.5' ปัญหาข้าวโพด จี้ยุตินำเข้าจากเมียนมา เศรษฐกิจ-สุขภาพรัฐต้องเลือก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'PM2.5' กับปัญหาเผาเศษไร้ข้าวโพด หมอกควันลอยข้ามแดนกระทบสุขภาพคนไทย 'ไบโอไทย' จี้รัฐยุตินำเข้าข้าวโพดจากเมียนมาเร่งด่วน ขณะความต้องการอาหารสัตว์กำลังมาแรง ความท้าท้ายภาครัฐเศรษฐกิจหรือสุขภาพประชาชน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ ร้อยละ 95 ในจำนวนข้าวโพด 8 ล้านตันนำไปผลิต "อาหารสัตว์" เพื่อสนับสนุนภาคการส่งออกเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารปศุสัตว์ ทำรายได้เข้าประเทศ เฉพาะปี 2565 สูงถึง 2.8 แสนล้านบาท คาดว่าปี 2566 ยอดส่งออกแตะถึง 3 แสนล้านบาท ด้วยข้อจำกัดต้นทุนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ประเทศไทยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แค่ 5 ล้านตัน ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ หนึ่งในนั้น คือ "เมียนมา"

 

ข้าวโพดเมียนมา

 

"ไร้ข้าวโพด" ร้อยละเกือบ 60 อยู่ในรัฐฉาน ติดชายแดนทางตอนเหนือของไทย สิ้นฤดูการเก็บเกี่ยว การเผาเศษข้าวโพดคือวิธีที่เกษตรกรเลือกกำจัด เป็นที่มาวิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ "PM2.5" พัดพาหมอกควันทำให้เกิดฝุ่นพิษกระจ่ายทั่วภาคเหนือของไทย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ตัวเลขผู้ป่วยในหลายพื้นที่วิกฤตตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 19 มี.ค. ปี 2566 ป่วยด้วยโรคมลพิษทางอากาศ 1,730,976 ราย สถานการณ์วันนี้ (31 มี.ค.2566) ยังรุนแรง ค่า "PM2.5" มากที่สุดที่เชียงใหม่ 489 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก. /ลบ.ม.) 

 

 

การเผาเศษข้าวโพดจะสิ้นสุดประมาณปลายเม.ย. หมายความว่า ประเทศไทยต้องอดทนกับคุณภาพอากาศที่เลวร้ายไปอีก 1 เดือนเต็ม ทำให้มูลนิธิชีววิถี หรือ "ไบโอไทย" (BioThai) และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ออกมาเรียกร้อง "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี และ "นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" รมว.พาณิชย์ ยุติการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อแก้ปัญหา "ฝุ่นพิษ" อย่างเร่งด่วน

 


"ไบโอไทย" ทิ้งโจทย์ใหญ่ให้ผู้นำประเทศแสดงความเป็นผู้นำ เลือกปกป้องสุขภาพประชาชน มากกว่าปกป้องผลประโยชน์บริษัทยักษ์ใหญ่ผลิตอาหารสัตว์ ที่จะได้ประโยชน์จากวัตถุดิบราคาถูกที่ไม่ต้องเสียภาษีจากแหล่งผลิตที่สร้าง "PM2.5" ข้ามพรมแดน 

 

 

ข้อมูลการนำเข้าข้าวโพดปี 2564 ประเทศไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จาก "เมียนมา" เพื่อเป็นอาหารสัตว์รวม 1.83 ล้านตัน มูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 97.8% ของปริมาณการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย หรือประมาณ 70% ผลผลิตข้าวโพดทั้งหมดในเมียนมา การนำเข้าอยู่ภายใต้กรอบความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ปี 2563 ตามข้อเสนอกระทรวงพาณิชย์ ให้องค์การคลังสินค้าสามารถนำเข้าข้าวโพดได้ทั้งปี และอนุญาตให้เอกชนนำเข้าได้ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. - 31 ส.ค. ของทุกปี  โดยไม่ต้องเสียภาษี 

 


เช่นนั้น รัฐบาลไทยสามารถยุติการนำเข้าได้ ตามเงื่อนไขในความตกลง Article 8 (b) General Exceptions ที่มีข้อยกเว้นให้ประเทศภาคีสามารถยุติการนำเข้าได้เพราะเหตุว่า เป็นการดำเนินการอันจำเป็นเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช

 

 

ตั้งข้อสังเกตว่า สาระสำคัญร่างประกาศนี้ ยกเว้นภาษีในอัตราน้ำหนักสุทธิเมตริกตันละศูนย์บาท อาจเป็นสาเหตุทำให้พื้นที่ปลูกข้าวโพดในรัฐฉานเพิ่มขึ้นรวดเร็วอย่างมีนัยยะสำคัญ จำนวน "ไร้ข้าวโพด" มากขึ้น การเผาเศษข้าวโพดมากขึ้นตามไปด้วย

 


แนวโน้มความต้องการ "อาหารสัตว์" เพิ่มสูงขึ้น ยืนยันได้จากข้อมูลของ Kantar บริษัทวิจัยชั้นนำด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก เปิดรายงาน Kantar: "Thailand Pet Food Market Trends" หรือการวิเคราะห์ตลาดอาหารสัตว์ในประเทศไทยเอง ก็พบว่าจํานวนครัวเรือนที่เป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น หากเทียบไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 กับไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ในระดับภูมิภาค จํานวนครัวเรือนที่มีสัตว์เลี้ยงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเติบโตเร็วกว่าในพื้นที่อื่นๆ 

 

 

ทิศทางความต้องการ "อาหารสัตว์" สวนทางกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ แนวทางการแก้ปัญหาจะเป็นอย่างไร รัฐบาลประเทศอยู่ในสถานะรัฐบาลรักษาการ ขอบเขตการแก้ปัญหาเป็นข้อจำกัดหรือไม่ ผู้นำประเทศจะเลือกทางออกวิกฤต "PM2.5" อย่างไร หรือทั้งสองรัฐบาลจริงจังกับการเอาผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการเผาป่าและเศษข้าวโพด ต้องติดตามกันต่อไป

 

 

 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ