ชีวิตดีสังคมดี

ไทยบรรลุลดใช้ 'ถุงพลาสติก' ได้กว่า 1 แสนตัน คพ.เดินหน้าแผนระยะ 2

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไทยบรรลุลดใช้ 'ถุงพลาสติก' 2 ปี ลดได้ 1 แสนตัน คพ.เดินหน้าแผนจัดการ ขยะพลาสติก ระยะที่ 2 ตั้งเป้ารีไซเคิล ฝังกลบได้ 100 %

ปัญหาขยะพลาสติกยังคงเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายประเทศให้ความสำคัญ และมีการวางแผนในเพื่อให้คนในชาติเล็งเห็นความสำคัญ และลด ละ เลิก การใช้  "ถุงพลาสติก" แบบใช้ครั้งเดียว เช่นเดียวกันประเทศไทยเองมีการกำหนดแผน โครงการต่าง ๆ  เพื่อสร้างความตระหนักให้คนไทยเล็งเห็นความสำคัญ โดยล่าสุดตามแผนระยะที่ 1 ประเทศไทยสามารถบรรลุดเป้าหมายการลดใช้ "ถุงพลาสติก" ระยะที่ 1 สำเร็จ และพร้อมที่เดินหน้าระยะที่ 2 
 

 

 

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดการ ขยะพลาสติก ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และประเทศไทยได้มีการกำหนด Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 มี 2 เป้าหมาย คือ 1. การลดและเลิกใช้พลาสติกเป้าหมายด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้นโยบายและติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างความยั่งยืนในการจัดการ ขยะพลาสติก ของประเทศ
 

 

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดการ ขยะพลาสติก ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และประเทศไทยได้มีการกำหนด Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 มี 2 เป้าหมาย คือ 1. การลดและเลิกใช้ "ถุงพลาสติก" เป้าหมายด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้นโยบายและติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างความยั่งยืนในการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ

 

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

 

นายปิ่นสักก์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย คพ. และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้รณรงค์การลด เลิกใช้ "ถุงพลาสติก" และส่งเสริมให้เกิดการนำพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ ผ่านกิจกรรมรณรงค์ทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติกภายใต้โครงการทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม สามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และโฟมบรรจุอาหาร ในพื้นที่ตลาดสดเทศบาลและเอกชน รวมถึงพื้นที่ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ ทั่วประเทศ ได้กว่า 3,414 ล้านใบ หรือประมาณ 9,824 ตัน โดยเริ่มกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจกับปัญหาขยะพลาสติกมากยิ่งขึ้น และยังสร้างการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนในการช่วยกันลด และเลิกใช้ถุงพลาสติกเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในประเทศ 

 

ลดขยะพลาสติก

 

 

จากความร่วมมือดังกล่าวทำให้ต่อมาได้มีการยกระดับการดำเนินงาน โดยร่วมกับเครือข่ายห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 90 บริษัท ทั่วประเทศ ร่วมงดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้วแบบใช้ครั้งเดียวEveryday Say No To Plastic Bags ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 - ธันวาคม 2565 สามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบใช้ครั้งเดียว รวมทั้งสิ้น 14,349.6 ล้านใบ หรือ 81,531 ตัน ซึ่งประชาชนกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยกับการรณรงค์ในเรื่องนี้ 

 

 

นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินกิจกรรมการรณรงค์การลด และเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอย่างต่อเนื่อง อาทิ การส่งเสริมสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดทำตลาดสดต้นแบบ มาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ โครงการเปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน) ทำให้สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกในภาพรวม ลดลง 43% หรือ 148,699 ตัน (ข้อมูลจากการประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการฯ จนถึงปี 2564 ร่วมกับสถาบันพลาสติก โดยใช้ฐานข้อมูล Material Flow of Plastics) 

 

ลดขยะพลาสติก

 

เมื่อแผนปฏิบัติการด้านการจัดการ ขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) สิ้นสุดลง เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานเกิดความต่อเนื่อง คพ. จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบไปแล้ว และคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งมีกรอบแนวคิด : ยกระดับการจัดการ ขยะพลาสติก ให้ดีขึ้นกว่าเดิมตามลำดับความสำคัญของการจัดการขยะรูปแบบใหม่ ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน การเลือกใช้สินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำ ใช้แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยผสมผสาน เพื่อให้มีการนําทรัพยากรกลับคืนจากของเสียให้มากที่สุดในรูปแบบวัสดุรีไซเคิล และพลังงาน ทำให้เหลือขยะที่ต้องกำจัดให้น้อยที่สุด มีเป้าหมาย 1. ปริมาณขยะพลาสติกเป้าหมาย (ขวดพลาสติก (ทุกชนิด) ฝาขวด บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว ถุงพลาสติกหูหิ้ว และถ้วย/แก้วพลาสติก) ที่เข้าสู่ระบบฝังกลบขยะลดลง ร้อยละ 100 2.ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป้าหมายเข้าสู่ระบบรีไซเคิล ร้อยละ 100 และ  3.ลดปริมาณขยะพลาสติกที่มีโอกาสหลุดรอดลงสู่ทะเล ร้อยละ 50 นายปิ่นสักก์ กล่าว

logoline