ชีวิตดีสังคมดี

เปลี่ยน 'วิกฤตสภาพภูมิอากาศ' เป็นโอกาสทางธุรกิจ ทำแบบยั่งยืนให้ยืนหนึ่ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปลี่ยน 'วิกฤตสภาพภูมิอากาศ' เป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจ องค์กรที่ยั่งยืนต้องวางกลยุทธ์ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ก่อนวันสิ้นโลกภาคธุรกิจต้องเร่งปรับก่อนหมดโอกาส

ธุรกิจอาจจะไม่สามารถอยู่รอดได้ หากโลกนี้ล่มสลายเพราะปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Cliamte Change) ที่กำลังมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของระบบนิเวศ ตอนนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกกำลังเผขิญกับภัยคุกคามทาง "วิกฤตสภาพภูมิอากาศ" ครั้งใหญ่ ดังการการปรับปรับ เปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจจึงกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน และ "วิกฤตสภาพภูมิอากาศ"ในครั้งนี้ได้

 

 

ท่ามกลางวิกฤตเช่นนี้ ไม่ได้แปลว่าหนทางในการทำธุรกิจท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะหมดลงไป เพราะหากมีการปรับตัวเปลี่ยนวิธีคิด มองจุดเปลี่ยนให้เป็นกลยุทธ์จะช่วยให้องค์กร สามารถพลิกวิกฤตสภาพอากาศเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนธุรกิจเดิม และสร้างธุรกิจใหม่ภายใต้ความยั่งยืนที่ปัจจุบันกำลังกลายเป็นเทรนด์ และเป็นทิศทางที่องค์กรชั้นนำทั่วโลกเริ่มปรับเปลี่ยนกันแล้ว

หากใครหลายคนที่กำลังคิดตามว่าวิกฤติทางสภาพอากาศมีอิทธิพลที่จะเข้ามาดีสรัปส์การธุรกิจ หรือทิศทางขององค์กรอย่างไร และนับต่อไปการทำธุรกิจบนความยั่งยืนจะต้องไปในทิศทางไหน โดย RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ได้ถ่ายทอดแนวคิดมุมมองการทำธุรกิจบนเส้นทางความยั่งยืนภายใต้หัวข้อ Climate Catalyst: Unveiling The Risks and Opportunity For Humanity and Corperration : การบริหารจัดการความเสี่ยงจาก "วิกฤตสภาพภูมิอากาศ" และการสร้างธุรกิจ องค์กรให้มีความยั่งยืน

 

 

โดย นายเกียรติชาย ไมตรีวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ได้สรุปปัญหา "วิกฤตสภาพภูมิอากาศ" การเปลี่ยนแปลงมาตรการบางประเด็นของ EU เพื่อลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ไปเป็นไปตามข้อตกลงการประชุม COP ที่มีประเทศสมาชิกกว่า 197 แห่ง และสิ่งที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยจะต้องเร่งสปีดปรับตัวเองก่อนที่จะถูกกีดกั้นการค้าจากมาตรสีเขียวที่ต้องการสร้างความเป็น กลางทางคาร์บอน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศเอาไว้อย่างน่าสนใจ

ธุรกิจยั่งยืน

 

นายเกียรติชาย กล่าวว่า "วิกฤตสภาพอากาศ" สร้างความเสี่ยงมากมายให้แก่โลกไม่ว่าจะเป็นอากาศแปรปรวน ร้อนสุดขั้วจนเกิดคลื่นความร้อน ฝนตกรุนแรงน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่ควรเกิด ปัญหาไฟไหม้ป่า ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาเหล่านี้ส่งผล กระทบโดยตรงต่อระบบ Ecosystem ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต อุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม แน่นอนว่าความเสี่ยงเหล่านี้สร้างความหวาดกลัว และตื่นกลัวให้กับประชาชน ภาครัฐ รวมทั้งภาคธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ในอนาคตหากยังไม่เร่งปรับตัวจะได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะวิกฤตสภาพอากาศส่งผลมาถึงระบบซัพพลายเซน อย่างเลี่ยงไม่ได้

 

 

ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้หลายประเทศ เริ่มที่จะออกมาตรการเพื่อทำการ Adoption  หรือ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่ประชุมCOP : Conference of the Parties เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะ EU ที่เริ่มมีการออกมาตรการ CBEM เพื่อควบคุมคาร์บอนไดออกไซด์ในการขนสินค้าข้ามแดน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในพื้นที่ และหลายๆบริษัทฝั่งยุโรป และสหรัฐอเมริกาเริ่มมีการตื่นตัว และกำหนดให้การปล่อยคาร์บอน์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นหนึ่งในข้อตกลงที่จะทำการค้าระหว่างองค์กรและองค์กร  ดังนั้นการค้าการลงทุนนับจากนี้จะต้องดำเนินการตามมาตรการใดๆ ก็ตามแต่เพื่อที่จะเป็นการลดอัตราการปล่อยคารบอนออกไซด์ เพื่อสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  (Net zero emissions)   วันนี้ภาคธุรกิจปฏิเสธที่จะไม่ทำธุรกิจเพื่ความยั่งยืนของโลกใบนี้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะหากไม่เร่งดำเนินการจะทำให้ธุรกิจของเราหลุดออกเทรนด์ และมีโอกาสการต่อยอดกับต่างประเทศไทยได้ลดลงไป

 

 

ในยามที่โลกวิกฤตเช่นนี้ภาคธุรกิจจะต้องปรับตัวไปในทิศทางใด และมีเทรนด์อะไรบ้างเกี่ยวกับความยั่งยืนที่องค์กรจะต้องเร่งเรียนรู้

 

นพ.ศุภชัย ปาจรยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE  อธิบายถึงการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน เปลี่ยน "วิกฤตสภาพภูมิอากาศ" เป็นโอกาส ทางธุรกิจในประเทศไทยไว้ว่า  ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศกลายเป็นเมกะเทรนด์ขนาดใหญ่ของโลกรองลงมาจาก AI การทำธุรกิจบนแนวทาง sustainability ไม่ได้เป็นการทำเพราะกระแส หรือทำเอาเท่ห์ อีกต่อไป เพราะนับจากนี้ทุกองค์จะต้องมีแนวทางที่การทำธุรกิจบนความยั่งยืนที่เป็นมากกว่าการแยกขยะ  โดยแนวทางที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดท่ามกลาง "วิกฤตสภาพภูมิอากาศ"  เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ คือ เราจะต้องสร้างโอกาสจากความปลี่ยนแปลง และทำให้ธุรกิจเดิมอยู่รอดไปด้วยโดยแนวทางแรกที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตไปได้คือ ทุกองค์กรจะต้องรู้จักตัวเองก่อน รู้ก่อนว่าขณะนี้เราปล่อยคาร์บอนออกไปทำร้ายโลกเท่าไหร่

 

 

จากนั้นจึงหาวิธีการลดคาร์บอนที่ปล่อยที่ออกไปด้วยการวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เช่น บริษัทขายรองเท้าที่ประเทศญี่ปุ่น ที่มีการผลิตรองเท้ารักษ์โลกออกมา แต่ไม่ใช่ก็สามารถเดินเข้าไปซื้อได้ คนที่จะจะซื้อรองเท้ารักษ์โลกได้จะต้องผูกบัตรเครดิตเอาไว้ให้ร้านหักเงิน และทุกๆ 6 เดือนร้านจะส่งรองเท้ามาให้เจ้าของบัตรเครดิตจากปกที่อาจจะเคยขายรองเท้าวิ่งได้ 2 ปี / 1 คู่ กลายเป็นว่า 2 ปี สามารถขายรองเท้าได้ 4 คู่

 

 

ธุรกิจยั่งยืน

 

ดังนั้นภาคธุรกิจจะต้องหาวิธิการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการทำธุรกิจรูปแบบ sustainability  แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานที่จะทำให้ธุรกิจเดิมอยู่รอด และสร้างธุรกิจใหม่ด้วยความยั่งยืน  เพราะแน่นอนว่าเราหนีไม่พ้นวิฤกตสภาพอากาศครั้งนี้ และจะต้องทำตามข้อตกที่ประเทศไทยเสนอต่อการประชุม COP ในปีที่ผ่านๆ มา

 

 

นพ. ศุภชัย กล่าวต่อไปว่า จากที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นจุดเริ่มต้นให้ RISE เชื่อว่าภาคธุรกิจอาจจะยังสับสนและจับต้นชนปลายไม่ถูกไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นออกแบบธุรกิจบนความยั่งยืนอย่างไร ดังนั้นหลักสูตร Sustainabiblity Tranfromation Xponential  หรือ STX หลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่จะเข้ามาช่วยนำทางให้แก่ภาคธุรกิจได้เดินไปสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  โดยองค์ความรู้ทั้งหมดจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนในองค์กร และทำให้องค์กรในประเทศไทยกลายเป็นองค์กรชั้นในการทรานฟอร์มสู่ธุรกิจที่ยั่งยั่น   ทั้งนี้นอกจากเป้าหมายของ RISE ที่มีการผลักดันในเกิดการเพิ่มGDP ของประเทศอีก 1 % แล้ว เรายังต้องการที่จะช่วยประเทศลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้อีก 1% ด้วย

 

 

ด้าน นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า การที่จะลดคาร์บอน หรือ ก๊าซเรือนกระจกนับจากนี้องค์กรจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยเฉพาะการหาเทคโนโลยีมาดิสรัปชัน ด้วยการทำการจัดเก็บคาร์บอน และตรวจวัดการปล่อยคาร์บอน เพื่อให้รู้ว่าปล่อยไปเท่าไหร่ และจะต้องหามาชดเชยเท่าไหร่ โดยที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์ตาม SDGs  คือการให้ความสำคัญในด้านพลังงาน ด้านน้ำ และด้านการปล่อยของเสีย อย่างมาก แน่นอนว่าต่อไปองค์จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบหรือ วิกฤตสภาพอากาศ เพราะเราอยู่ใน Ecosystem ดังนั้นการทำธุรกิจจะต้องคำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

 

สำหรับแนวทางการทำธุรกิจในรูปแบบ sustainability ของไมโครซอฟท์ เรามองเรื่องผลประโยชน์มากกว่า เพราะความยั่งยืนไม่ใช่การทำสังคมสงเคราะห์ โดยไมโครซอฟท์มีการทำระบบข้อมูลผ่านมาตรการ 5 R ได้แก่ Record , Report,Reduce,Remove,Replace  ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะให้สามารถรู้สถานะคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของตนเองและปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนได้ตรงตามเป้าหมาย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ