ชีวิตดีสังคมดี

5 ภัยพิบัติโลกรวน สัญญาณเตือนมวลมนุษย์ใกล้วันสิ้นโลก?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วิกฤตโลกรวนทวีความรุนแรงขึ้น หลายพื้นที่เผชิญ "ภัยพิบัติ" ได้รับผลกระทบ ทั้งพายุฝนรุนแรง น้ำท่วมใหญ่ ทั้งหมดเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นี่เป็นสัญญาณเตือนมวลมนุษย์ใกล้วันสิ้นโลกหรือไม่ ไทยเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่อะไรบ้าง ติดตามจากรายงาน

  • พายุฝนกระหน่ำ ลูกเห็บตก ตาย 7 บาดเจ็บ 18

"ภัยพิบัติ" วันที่ 22 พ.ค. 2566 เกิดพายุฝนกระหน่ำและลูกเห็บตก บ.เนินปอ หมู่ 1 ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง ต้นไม้ล้ม ความแรงของลมทำให้พัดอาคารบ้านเรือนของชาวบ้านพังจำนวนมาก

 

 

พายุฝนกระหน่ำและลูกเห็บตก บ.เนินปอ หมู่ 1 ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2566

 

 

พัดถล่มหลังคาโดมของโรงเรียนวัดเนินปอ พังถล่มลงมาทับร่างของนักเรียนและภารโรงที่กำลังมาซ้อมฟุตบอลมาหลบฝน เสียชีวิต 7 ราย และบาดเจ็บ 18 ราย 

ความเสียหายจากพายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู" เกิดขึ้นในเดือน ก.ย. ใน 31 จังหวัด มีผู้เสียชีวิตจำนวน 9 ราย

 

 

ปี 2564 พายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู" เกิดขึ้นในเดือน ก.ย. ใน 31 จังหวัด "ภัยพิบัติ" ครั้งนี้ผู้เสียชีวิตจำนวน 9 ราย ก่อตัวขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน

​​​​​ นำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปู เมื่อปี 2565

 

 

  • น้ำท่วมใหญ่เสียหายมหาศาล

ปี 2565 นิคมอุตสาหกรรมบางปู น้ำท่วมในรอบ 15 ปี และท่วมนาน 2 วัน สร้างความเสียหายมหาศาล นับเป็น "ภัยพิบัติ" น้ำท่วมรุนแรงในรอบ 15 ปี หากเทียบกับเหตุการณ์น้ำท่วม ปี 2554 ปัจจัยที่ทำให้นิคมอุตสาหกรรมบางปูต้องจมอยู่ใต้น้ำ 2 วัน กรมชลประทานชี้แจงว่า เกิดจากปริมาณฝนที่ตกกระหน่ำวันเดียว 200 มิลลิเมตรต่อวัน

 

 

น้ำท่วม จ.อุบลราชธานี ครั้งใหญ่ในรอบ 43 ปี เมื่อปี 2565

 

 

ปี 2565 น้ำท่วมใน จ.อุบลราชธานี โดยเฉพาะในเขต อ.เมือง และ อ.วารินชำราบ เกิดผลกระทบรุนแรงที่สุดในรอบ 43 ปี และท่วมสูงกว่าเมื่อปี 2562 แล้ว พื้นที่เกษตรถูกน้ำท่วมเป็นวงกว้างครอบคลุม 19 อำเภอ และบ้านเรือนประชาชนจมน้ำอีก 9 อำเภอ หลังเผชิญกับฝนจากร่องมรสุม  "พายุโนรู" ตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. และการเป็นพื้นที่ปลายน้ำของภาคอีสาน

 

 

ภาพประกอบ

 

 

  • คลื่นความร้อนรุนแรงไม่เคยมีมาก่อน

ในช่วงเดือน เม.ย. 2566 คลื่นความร้อนแผดเผาได้เข้าปกคลุมเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลกระทบกับหลายประเทศรวมถึงไทย อินเดีย จีน ลาว บังกลาเทศ เติร์กเมนิสถาน ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่ จ.ตากเจอกับอุณหภูมิเดือดถึง 44.6 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นอุณหภูมิที่สูงสุดเท่าที่ประเทศไทยเคยประสบ ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนระอุแผ่ปกคลุมทั่วประเทศ 

 

 

ภาพประกอบ

 

 

  • ภัยแล้งรุนแรงและนานขึ้น 


วิกฤตภัยแล้งปี 2563 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อประชาชนอย่างน้อย 14 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 3,785 หมู่บ้านแล้ว บางพื้นที่เริ่มขาดแคลนน้ำสำหรับผลิตน้ำประปา เกษตรกรหลายร้อยรายต้องยอมปล่อยพืชผลยืนต้นตาย เพื่อรักษาน้ำเอาไว้อุปโภคบริโภค

 

 

ภาพประกอบ

 

 

"ภัยพิบัติ" ปี 2564 เหตุการณ์ฝนน้อยกว่าปกติเกิดมา 2 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2562-2563 โดยเฉพาะภาคเหนือ มีฝนน้อยกว่าปกติถึงร้อยละ 17 ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีน้อย รวมถึงปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การเพียง 5,771 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่มีความต้องการน้ำในช่วงฤดูแล้งถึงช่วงต้นฤดูฝนประมาณ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้น้ำไม่เพียงพอ ปี 2564 จึงประสบ "ภัยพิบัติ"

 

 

ภาพประกอบ

 

 

  • ไฟป่าหมอกควัน ฝุ่น PM 2.5 

"ภัยพิบัติ" ปี 2566 สภาพอากาศในเชียงใหม่ตลอดทั้งวัน ปกคลุมไปด้วยฝุ่นควันไปทั่วเมือง ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นบนท้องถนนลดลง ล่าสุดเว็บไซต์ iqair.com รายงานคุณภาพอากาศใน จ.เชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI อยู่ที่ 146 สูงเป็นอันดับหนึ่งของเมืองคุณภาพอากาศย่ำแย่ที่สุดของโลก ซึ่งภัยพิบัตินี้เกิดขึ้นยาวนานที่สุดร่วม 3 เดือน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ