เป็นที่ชัดเจนแล้วว่านโยบาย "สุราก้าวหน้า" จะถูกขับเคลื่อนต่อไป ภายหลังจากที่มีการระบุไว้เป็น 1 ใน 23 ข้อของ MOU จัดตั้งรัฐบาลระหว่างพรรคก้าวไกล และพรรคร่วมอีก 7 พรรค ที่เกิดขึ้นไปเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2566 โดยรายละเอียดของ "สุราก้าวหน้า" ระบุไว้ว่า ยกเลิกการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในทุกอุตสาหกรรม เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (โดยพรรคประชาชาติขอสงวนสิทธิในการไม่เห็นด้วยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยเหตุด้านศาสนา)
สำหรับแนวคิด "สุราก้าวหน้า" มีการผลักดันกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวตั้งแต่ช่วงที่พรรคก้าวไกลทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านในสภา แต่ดูเหมือนว่าแนวคิดดังกล่าวยังมีหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ว่าจะมีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาไปแล้วก็ยังโดนปัดตกมาแล้ว ทำให้ "สุราก้าวหน้า" ในช่วงที่ พรรคก้าวไกลเป็นฝ่ายค้านไปไม่ถึงฝั่งฝันสักที
แม้ว่าตลอดระยะ 4 ปีที่ผ่านมาจะไม่ได้รับการตอบรับจากสภาที่ดีนักสำหรับการเสนอกฎหมายสุราก้าวหน้าแต่พรรคก้าวไกล ยังไม่ถอยเพราะในการเลือกตั้งล่าสุด พรรคก้าวไกลหยิบนโยบาย "สุราก้าวหน้า" มาเป็นจุดขายของการหาเสียง และเดินหน้าผลักดันต่อกัน และหลังจากที่คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งมาได้ "สุราก้าวหน้า" จึงกลายเป็น 1 ในข้อตกลง MOU ที่จะดำเนินการทันทีหลังจากที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
หากย้อนกลับไปดูเส้นทางการต่อสู้ของนโยบาย "สุราก้าวหน้า" ต้องบอกว่าทุลักทุเลพอสมควร แม้ว่ากฎหมายจะช่วยปลดล็อกให้ชาวบ้าน รายเล็กสามารถผลิตสุราเองได้ และลดการผูกขาดนายทุนสุราเจ้าใหญ่ แต่กลับผู้มีอำนาจกลับไม่ชอบใจและไม่เห็นเท่าไหร่
- จุดเริ่มต้นนโยบาย "สุราก้าวหน้า"
หลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ (ชื่อก่อนถูกยุบพรรค) มีโอกาสได้เข้าไปนั่งในสภาได้มีการเสนอร่างพ.ร.บ. สุราก้าวหน้า โดยสาระสำคัญคือเพื่อปลดล็อกทุนผูกขาด ปลดปล่อยสุราคนไทย และทะลายทุนผูกขาดขนาดใหญ่ โดยทีมที่ร่างพ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวในยุคนั้น คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส. กรุงเทพมหานคร และนายซัน ภักดีศรี กรรมการบริหารพรรค โดยจากการแถลงครั้งแรกได้มีการย้ำว่า การผลิตสุราในประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีการปลดล็อกเพื่อให้ผู้ผลิตรายย่อยเข้ามาทำได้ด้วย
- สาระสำคัญร่างกฎหมาย "สุราก้าวหน้า" ปลดล็อก เปิดโอกาสรายเล็ก
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ประกอบไปด้วย 1.การแก้ไขมาตรา 153 ของ พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ห้ามกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายเล็กเข้ามาผลิตสุรา ห้ามจำกัดกำลังการผลิต กำลังการผลิตของเครื่องจักร และจำนวนคนงาน 2.การจัดทำโครงสร้างภาษีขั้นบันไดตามขนาดกำลังการผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถทำธุรกิจแข่งขันภายใต้โครงสร้างต้นทุนที่แข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่และต่างประเทศได้ 3.ปลดล็อกการปรุงแต่งสุรา จากการแต่งกลิ่นแต่งสี และหมักสมุนไพรต่างๆ ได้ นี่คือโอกาสที่จะเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าทางการเกษตรในประเทศไทย
- ถึงเวลาดัน "สุราก้าวหน้า' เข้าสภาวัดใจไปได้ต่อหรือตีตก
หลังจากที่พรรคอนาคตใหม่โดนยุบไป แต่ร่างพ.ร.บ.สุราก้าวหน้ายังอยู่ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวถูกผลักดันโดยพรรคก้าวไกล ซึ่งมีนายพิธา ที่นั้นทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน และ สส. ในพรรคก้าวไกลเป็นผู้เข็ญ พ.ร.บ. สุราก้าวหน้าเข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อ โดยการพิจารณาเป็นไปทั้งหมด 3 วาระตามระเบียบ ซึ่งในวาระที่ 1 และ 2 ปรากฎว่า ร่างพ.ร.บ. สุราก้าวหน้าผ่านฉลุย แต่กลับมาสะดุดในการพิจารณาร่างกฎมหายวาระที่ 3 ซึ่งเป็นวาระสุดท้าย โดยสภาได้โหวตคว่ำร่างพ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ซึ่งในการโหวตนั้น สส.ลใมติไม่รับร่างมากกว่าเห็นด้วยเพียงแค่ 4 เสียงที่คะแนน 177 ต่อ 173
- ก่อนสุราก้าวหน้าเข้าสภาวาระ 3 ถูกปาดหน้าด้วยกฎกระทรวงผลิตสุรา
เป็นที่น่าสังเกตว่าก่อนที่ร่างพ.ร.บ. สุราก้าวหน้า จะนำเข้าสู่การพิจารณาวาระ 3 ซึ่งเป็นวาระสุดท้ายขั้นตอนในสภา ก่อนหน้านั้นเพียง 1 วัน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 ซึ่งมีการตีความนัยดังกล่าวว่าเป็นกุศโลบายที่จะคว่ำโหวต พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าหรือไม่ แม้ว่าจะมีการออกกฎกระทรวงใหม่แต่เนื้อหาด้านในยังไม่ได้มีการปลดล็อคโซ่ตรวนในการผลิตสุราให้แก่รายเล็กอยู่ดี
- โดนน็อคสภาแต่ถูกหยิบเป็นนโยบายหาเสียงพรรคก้าวไกล
แม้ว่าที่ในสภาพจะถูกตีตกแต่พรรคก้าวไกลได้หยิบ "สุราก้าวหน้า" กลับมาเป็นโยบายหลักของพรรคอีกครั้ง ให้เหตุผลว่า "สุราก้าวหน้า ไม่ใช่แค่เพราะป็นกฎหมายที่ปลดปล่อยศักยภาพของผู้ผลิตสุราไทยเพียงอย่างเดียว แต่นี่คือหนึ่งในพลังที่ผลักให้ประเทศไทยก้าวหน้าขึ้น สุราก้าวหน้าไม่ใช่แค่เรื่องของนักดื่มหรือผู้ผลิตสุรา แต่ยังสร้างผลต่อเนื่องอื่นๆ ในการสร้างประเทศไทยมากกว่านั้น"
ผลพลอยได้ที่จะเกิดขึ้นจากนี้ คือ
-เกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการหมักเบียร์ สุรา จากข้าว พืชชพรรณผลไม้ โดยนายพิธา เคยกล่าวว่า “ข้าวเก็บไว้ในโกดังมีแต่ราคาลด แต่ถ้าเก็บในไหในขวดบ่มเป็นสุราคุณภาพดี ราคามีแต่ขึ้น”
-ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว สุราก้าวหน้าจะช่วยวร้างเรื่องราวและเปิดประตูให้เราไปเรียนรู้และทำความรู้จักท้องถิ่นเหล่านี้ กระจายความน่าค้นหาของประเทศไทยไปสู่พื้นที่ต่างๆ
-กระจายรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย ปลดล็อกการผลิตสุรากระจายรายได้แก่ผู้ผลิตรายเล็ก และลดอำนาจการผูกขาดกลุ่มในประเทศ กระตุ้นให้เศรษฐกิจรากหญ้าได้เติบโต
-สร้างประเทศที่ไม่ผูกขาด สุราก้าวหน้า ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ผลิตสุรากับผู้ดื่มสุรา หากสามารถผลักดันให้เป็นกฎหมายได้ สร้างประเทศที่มีการแข่งขันเป็นธรรม ทุกคนมีโอกาสเติบโต และหยุดทุนใหญ่กินรวบประเทศ
- ส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย 93% เป็นของใครบ้าง
ไทยมีมูลค่าของตลาดแอลกอฮอล์สูงถึง 370,000 ล้านบาท แต่กฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ทำให้มีผู้ผลิตรายใหญ่เพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาด รายงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทยโดยกรุงศรีระบุว่า ตลาดเบียร์ไทยกว่าร้อยละ 93 เป็นของบริษัทใหญ่เพียงสองเจ้า คือ บุญรอดบริวเวอรี่ และ ไทยเบฟเวอเรจ ด้านตลาดสุรา ไทยเบฟเวอเรจ เพียงเจ้าเดียวก็ครองส่วนแบ่งทางการตลาดถึงร้อยละ 80 โดยมีโรงกลั่นทั้งประเทศ 18 แห่ง และมีผลิตภัณฑ์สุรามากกว่า 30 ชนิดสำหรับจัดจำหน่ายในประเทศ ทำให้ทางเลือกการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทยมีไม่มากหนัก เพราะในตลาด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง