ชีวิตดีสังคมดี

'สภาพัฒน์' ระบุไตรมาสแรกว่างงานลดลง หนุนธุรกิจ มูเตลู เงินสะพัด 10,800 ล้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'สภาพัฒน์' ระบุไตรมาส 1/2566 อัตราว่างงานลดลง หนุนธุรกิจมูเตลู ท่องเที่ยวแสวงบุญ คาดเม็ดเงินสะพัด 10,800 ล้านบาท

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ "สภาพัฒน์" รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2566 โดยพบว่า สถานการณ์ด้านแรงงานปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของการจ้างงานทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม อัตราการว่างงานปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ แรงงานมีการทำงานล่วงเวลามากขึ้น และได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นื การจ้างงาน ผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  ซึ่งเป็นผลจากการจ้างงานทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม

"สภาพัฒน์"  ระบุเพิ่มเติมว่า โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 1.6  จากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกขณะที่การจ้างงานนอก ภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 2.7 จากการขยายตัวของ การจ้างงานสาขาการค้าส่งและค้าปลีก และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่วนการจ้างงานสาขาการผลิตขยายตัวได้เล็กน้อย ขณะที่สาขาที่มีการจ้างงานลดลง ได้แก่ สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า และสาขาก่อสร้าง ที่หดตัวถึงร้อยละ 7.2 และ 1.6 ตามลำดับ ชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้น โดยชั่วโมงการทำงานภาพรวมและเอกชนอยู่ที่ 41.4 และ 44.3 ตามลำดับ เช่นเดียวกับผู้ทำงานล่วงเวลาที่มีจำนวนกว่า 6.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ขณะที่ผู้เสมือนว่างงานลดลงกว่าร้อยละ 11.3 อัตราการว่างงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อยู่ที่ร้อยละ 1.05 โดยผู้ว่างงานมีจำนวน 4.2 แสนคน 

  • มูเตลู โอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อ

นอกจากนี้  "สภาพัฒน์" ได้รายงานธุรกิจที่เติบโต และคาดว่าจะมีโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่คนไทยเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าธุรกิจสาย มูเตลู จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ของไทยให้ดีมากยิ่งขึ้น โดย "สภาพัฒน์" ระบุว่า  คำว่า มูเตลู ถูกนำมาใช้แทนความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคนไทย ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความเชื่อทางศาสนา แต่ยังผสมผสานกับสิ่งเร้นลับทางธรรมชาติ โหราศาสตร์ ตลอดจนวัตถุมงคล/เครื่องรางของขลังต่าง ๆ โดยการท่องเที่ยวมูฯ อาจเทียบได้กับการท่องเที่ยวเชิงศรัทธา ของต่างประเทศ และมีความหมายครอบคลุมถึงการท่องเที่ยวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ การแสวงบุญ และการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ

 

โดยจากรายงานของ Future Markets Insight พบว่า การท่องเที่ยวเชิงศรัทธาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทั่วโลกถึง 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 และจะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าภายใน 10 ปี สำหรับประเทศไทยมูลค่าการท่องเที่ยวสายมูฯ เฉพาะการแสวงบุญ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะมีรายได้หมุนเวียนมากถึง 10,800 ล้านบาท ซึ่งไทยไม่ได้มีเพียงการแสวงบุญเพียงอย่างเดียว 

 

  • ทรัพยากรการท่องเที่ยวสายมูเตลูยังมีอีกหลายรูปแบบสามารถ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 


1.มูเตลูที่เป็นสถานที่ อาทิ วัด ศาลเจ้าและเทวสถาน และรูปจำลองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่างรูปปั้นไอ้ไข่ 

 

2.มูเตลูที่ไม่ใช่สถานที่ อาทิ เครื่องรางของขลัง พิธีกรรม และการสักยันต์ของไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ทั้งนี้ ความหลากหลายของทรัพยากรสายมูฯ ของไทยสะท้อนการมีพหุวัฒนธรรมซึ่งผสมผสานวัฒนธรรมทางศาสนา และความเชื่อของคนไทย และกลายเป็น soft power ที่สามารถใช้ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ แต่ต้องมี การส่งเสริมที่เหมาะสม  ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบาย/แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ชัดเจนของภาครัฐ ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ อาทิ ฮ่องกงมีนโยบายส่งเสริม “วิถีการท่องเที่ยวแบบศาสนา” ที่มีจุดมุ่งหมายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก พัฒนากลยุทธ์การตลาดสาย มูเตลู ด้วยการสร้าง Branding ที่ครอบคลุมทั้งสถานที่ บุคคล และกิจกรรมสายมูฯ โดยไทยจำเป็นต้องสร้าง Branding ผ่านการจัดทำเรื่องราว (Story) ที่มีความเป็นมาและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ได้รับการยอมรับ รวมทั้งอาจสอดแทรกวัฒนธรรมที่อิงกับมูฯ ในสื่อต่างๆ เพื่อเผยแพร่ให้คนต่างชาติสนใจมากขึ้น 

 

 

3.บูรณาการการทำงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้มีเอกภาพมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมบทบาทองค์กรส่วนท้องถิ่นให้เป็นหน่วยขับเคลื่อนหลักในการดึงภาคส่วนอื่น ๆ เข้ามาพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ให้มีมาตรฐาน มีความหลากหลายและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนามีความละเอียดอ่อน ดังนั้น การดำเนินนโยบายจึงต้องมีความระมัดระวัง และควรมีการศึกษาด้วยหลักความเชื่อที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซงและบิดเบือนความเชื่อ ควบคู่กับมีมาตรการกำกับดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกลวงนักท่องเที่ยวโดยใช้ความเชื่อเป็นเครื่องมือ

 

  • สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป 

1.การขาดแคลนแรงงานด้านดิจิทัลและไอที จากการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้ในแต่ละปีมีความต้องการแรงงานสายงานไอทีประมาณ 2 - 3 หมื่นตำแหน่ง แต่กลับมีผู้จบการศึกษาในด้านนี้ไม่เพียงพอ 

 

 

2.รายได้และการจ้างงานของแรงงานภาคเกษตรกรรมจากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่จะส่งผลต่อการเพาะปลูกและผลผลิตของเกษตรกร 

 

 

3.พฤติกรรมการเลือกงานโดยคำนึงถึงค่าตอบแทนที่สูงและสมดุลในชีวิตของคนรุ่นใหม่หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสี่ ปี 2565 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่คุณภาพสินเชื่อภาพรวมทรงตัว แต่ต้องติดตามสินเชื่อเพื่อยานยนต์ที่มีสินเชื่อเสี่ยงเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น และบัญชีหนี้เสียในสินเชื่อส่วนบุคคลยังคงเพิ่มขึ้น  ไตรมาสสี่ ปี 2565 หนี้สินครัวเรือน มีมูลค่า 15.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ชะลอตัวจากร้อยละ 4.0 ของไตรมาสที่ผ่านมา แต่เมื่อปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากไตรมาสก่อน และมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 86.9 ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนทรงตัว โดยสัดส่วน NPLs ต่อสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ร้อยละ 2.62 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

logoline