ชีวิตดีสังคมดี

'LGBTQ' ผลักดันกฎหมาย 'สมรสเท่าเทียม' ปีนี้จ่อเข้าสภา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'LGBTQ' ฝันถึง "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ได้เกิด สู้มาไม่ต่ำ 10 ปี จ่อเข้าสภาปีนี้ หลังพยายามแต่ประชาชนไม่เห็นด้วย สส. ก็มีมติเลื่อนพิจารณาจากปี 65

"น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์" อดีต สส. พรรคก้าวไกล บอกถึงเส้นทางการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของคนเพศที่ 3 หรือกลุ่ม "LGBTQ" ว่า ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่พรรคก้าวไกลผลักดันร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต เพื่อกลุ่ม "LGBTQ"  โดยเฉพาะ "สมรสเท่าเทียม" ปีนี้กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา แต่ถึงแม้จะไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จากเหตุลาออกเพื่อรับผิดชอบที่ทำผิดกฎหมายเมาแล้วขับ แต่ยังคงผลักดันในฐานะสมาชิกพรรค ให้กฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" เกิดให้ได้

น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ อดีต สส. พรรคก้าวไกล

 

 

"กฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" จ่อเข้าสภาแล้ว ยังไงต้องสำเร็จ ต้องทำตามที่สัญญากับประชาชนไว้ว่า "สมรสเท่าเทียม" ต้องทำให้ได้ภายใน 100 วันแรกหลังได้เป็นรัฐบาล ต้องทำตามสัญญา" "น.ส.ณธีภัสร์" กล่าว

"สมรสเท่าเทียม" ได้เปิดให้คู่รักทุกเพศแต่งงานกัน ได้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว โดยเปลี่ยนคำในตัวบทกฎหมาย จากคำนามระบุเพศ เช่น ชายหญิง สามีภรรยา เป็นคำนามไม่ระบุเพศ อาทิ บุคคล คู่สมรส เพื่อให้คนทุกเพศสามารถหมั้นและสมรสกันได้ และมีสิทธิในฐานะคู่หมั้น/คู่สมรสโดยเสมอหน้ากันทุกประการ

 


นอกจากนี้ ยังจะปรับโครงสร้างรัฐฯ และกฎหมายให้รับรองทุกเพศสภาพ เพื่อเป็นรากฐานในการออกแบบนโยบายในทุกมิติ คุ้มครองสิทธิการรับรองทางกฎหมาย ผ่านการกำหนดมาตรการรับรองสถานะความเป็นบุคคลให้ตรงกับเจตจำนงในเพศสภาพของบุคคลนั้น โดยไม่ต้องผ่านการรับรองหรือกระบวนการทางการแพทย์

 


คุ้มครองสิทธิของประชาชนในการใช้คำนำหน้านามตามความสมัครใจ ซึ่งรวมถึงสิทธิในการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้ตรงกับเพศสภาพ สิทธิในการเลือกคำนำหน้านามที่เป็นกลางทางเพศ เช่น "นาม" เป็นต้น สิทธิในการเลือกไม่ใส่คำนำหน้านาม (ระบุเพียงชื่อและนามสกุล) รวมถึงออกกฎหมายที่ขจัดการเลือกปฏิบัติในสังคม เพื่อให้ทุกๆ เพศมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน

 

 

"น.ส.ณธีภัสร์" บอกต่อว่า เราจะผลักดันไปจนถึงบรรจุเรื่อง "LGBTQ" ในหลักสูตรสถานศึกษา อันดับแรกในสถานศึกษาจำเป็นต้องให้ครูเข้าใจก่อนว่า สังคมไทยมีความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องปกติ ต้องอบรมครูให้เข้าใจตรงนี้ก่อน เพื่อครูจะได้รู้วิธีการดูแลนักเรียนกลุ่ม "LGBTQ" ทุกช่วงอายุ 

 


ส่วนในหลักสูตรการศึกษาต้องปรับปรุง เช่น จากเดิมในตัวหนังสือจะมีตัวละครพ่อ แม่ ลูก อาจจะแตกต่างออกไปในแต่ละช่วงชั้น

 

 

ที่ประชุมรัฐสภา

 

 

  • จุดเริ่มต้นการต่อสู้ 'สมรสเท่าเทียม'

ปี 2555 เริ่มต้นรณรงค์การสมรสเท่าเทียม

ปี 2556 เกิดร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ยังไม่ได้การยอมรับจากประชาชน

ปี 2563 ร่าง พ.ร.บ. ถูกปรับแก้จนถึงฉบับที่ 6 ครม.ผ่านความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต

ปี 2565 สส.มีมติเลื่อนการพิจารณาร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับการให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสกันได้ออกไปอีก 60 วัน

 

 

"สมรสเท่าเทียม" แม้ในประเทศไทยจะยังไม่เกิดขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า มี 30 ประเทศ ที่เปิดให้คู่รักชาย-ชาย, หญิง-หญิง สามารถสมรสกันได้

 

 

เริ่มที่ประเทศแรกของโลก ที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ นั่นก็คือ เนเธอร์แลนด์ ที่เห็นชอบด้วยกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2544

 

 

จากนั้นไม่นานเพียง 2 ปี ประเทศเบลเยียม ก็ชอบด้วยกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ ตั้งแต่พ.ศ.2546

 

 

ส่วนอันดับ 3 ประเทศสเปน ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ ปี 2548 ขณะที่แคนาดา ชอบด้วยกฎหมายบางรัฐและดินแดนตั้งแต่ปี 2546 และใช้ทั้งประเทศตั้งแต่ปี 2548 มาต่อที่แอฟริกาใต้ ที่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ปี 2549 ตามมาด้วยนอร์เวย์ และสวีเดน ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2552

 

 

ส่วนในปี 2553 มีทั้งโปรตุเกส ,ไอซ์แลนด์ ,อาร์เจนตินา และเม็กซิโก ชอบด้วยกฎหมายห้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกัน

 

 

ประเทศเดนมาร์ก ชอบด้วยกฎหมายพ.ศ.2555 ,บราซิล แม้ในพ.ศ.2555 จะชอบด้วยกฎหมายในบางรัฐ แต่ในปีพ.ศ.2556 ก็ให้ใช้ได้ทั้งประเทศ

 

 

ประเทศฝรั่งเศส ,อุรุกวัย และนิวซีแลนด์ ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2556, ลักเซมเบิร์ก ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2558 ส่วนชาติผู้ยิ่งใหญ่อย่าง สหรัฐอเมริกา ก็ชอบด้วยกฎหมายในบางรัฐตั้งแต่ปี 2547 และใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2558 รวมถึงไอร์แลนด์ ที่เห็นชอบด้วยกฎหมาย ในปี 2558

 

 

มาถึงอันดับที่ 20 คือโคลอมเบีย ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ ปี 2559 ส่วนปี 2560 ประกอบไปด้วย ฟินแลนด์, มอลตา ,เยอรมนี และออสเตรเลีย 

 

 

ปี 2562 ไต้หวัน ถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ นอกจากนี้ยังมี ออสเตรีย อีกประเทศที่เห็นชอบในปีเดียวกัน

 

 

คนในวงการบันเทิงร่วมแถลงข่าวจัดงาน  “Bangkok Pride 2023”

 

 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างการยอมรับความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยและพื้นที่สร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมสำหรับ "LGBTQ" จึงจัดงาน “Bangkok Pride 2023” ภายใต้แนวคิด Beyond…Gender มีขบวนพาเหรดประเทศไทย สู่มาตรฐานเวิลด์ไพรด์ ในวันที่ 4 มิ.ย. 2566 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. – 20.00 น. เริ่มต้นขบวนจากสวนลุมพินี ผ่านเส้นราชดำริ มุ่งหน้าลานเซ็นทรัลเวิลด์ รวมระยะทาง 1.5 กิโลเมตร

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ