ชีวิตดีสังคมดี

เตือน 'พายุฤดูร้อน' พรุ่งนี้ถล่มภาคเหนือ-กลาง เช็กจังหวัดโดนพายุซัดที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมอุตุฯ เตือน 'พายุฤดูร้อน' พรุ่งนี้ถล่มภาคเหลือ และภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เช็กจังหวัดโดนพายุซัดที่นี่

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ "พายุฤดูร้อน" บริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 7 มีผลกระทบถึงวันที่ 1 พ.ค. 2566  โดยในช่วงวันที่ 1 พ.ค. 2566  ประเทศไทยตอนบนมี "พายุฤดูร้อน" เกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน

 

 

เตือนประชาชน หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน

โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบจาก "พายุฤดูร้อน" มีดังนี้

 

วันที่ 1 พ.ค. 2566

ภาคเหนือ:   จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร และพิษณุโลก

 

ภาคกลาง:    จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

 

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก:   จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

 

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือขนาดเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-2 พ.ค. 2566

 

 

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ