ชีวิตดีสังคมดี

งัดมาตรการสารพัดแก้ปัญหา 'PM2.5' ภาคเหนือ แต่ทำไมประกาศเขตภัยพิบัตไม่ได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รัฐบาลงัดสารพัดแก้ปัญหา 'PM2.5' ภาคเหนือ แต่ไม่ประกาศเขตภัยพิบัติ เพราะปัญหาฝุ่นพิษไม่นับเป็นภัยพิบัติ หรือเพราะสุขภาพประชาชนไม่ได้สำคัญ

ปัญหาฝุ่น "PM2.5" เกินค่ามาตรฐานหลายเท่าตัวและมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมาก โดยสาเหตุที่ฝุ่นในพื้นที่ภาคเหนือเริ่มวิกฤตนั้นเป็นผลมาจากฝุ่นควันที่ลอยข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาการเผาไร่อ้อย การเผาทางการเกษตร  ซึ่งถือว่าเป็นการเผาช่วงสุดท้ายของปีนี้ โดยมีการคาดการณ์ว่าปันหาฝุ่นควันจะส่งผลกระทบลากยาวไปนถึงสิ้นเดือนเม.ย.66  

 

 

หลายคนถามหามาตรการ ดูแล และเยียวยาจากภาครัฐ และถามถึงความรับผิดชอบ เพราะขณะนี้คนภาคเหนือ กำลังอยู่ในสถานะตายผ่อนส่ง  ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นมาตรการห้ามเผา แจกหน้ากาก N95 ซึ่งทั้งหมดเป็นมาตรการแก้ปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น แต่เรายังไม่เคยเห็นการแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงจัง และมีการออกกฎหมายมาคุ้มครองสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้หลายคนยังคงยังค้างคาใจว่า เพราะเหตุใดทำไมรัฐบาลไม่ประกาศให้พื้นที่ภาคเหนือเป็นเขตภัยพิบัติ 

สำหรับมาตรการและข้อสั่งการสำหรับแก้ปัญหา (เฉพาะหน้า) ฝุ่น "PM2.5" ในพื้นที่ภาคเหนือที่ขณะนี้กำลังเข้าขั้นวิกฤต มีดังนี้ 

 

  • ยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงวิกฤต เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปิดป่าในส่วนที่มีสถานการณ์ไฟป่าในระดับวิกฤต หรือเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าขั้นรุนแรง ส่วนกระทรวงมหาดไทย กำชับจังหวัดประกาศห้ามเผาในทุกพื้นที่ 

 

  • กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านไปสักพักแล้ว วันนี้ย้ำไปอีกครั้งหนึ่ง เพราะจุดความร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ ซึ่งจะต้องระมัดระวังเรื่องของผลกระทบ

 

  • กระทรวงอุตสาหกรรม กำชับให้ลดรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบในช่วงนี้ด้วย

 

  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบเผา หรือผู้กระทำความผิดอย่างเข้มข้น

สถานการณ์ฝุ่นภาคเหนือ

 

  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อลดปัญหาไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละออง 

 

  • กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทยเตรียมการทำห้องห้องปลอดฝุ่น และแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นเท่าที่จำเป็น รวมถึงยารักษาโรคในพื้นที่ 

 

  • จัดบริการด้านการแพทย์ ระบบสาธารณสุข รวมถึงจัดบริการคลินิกมลพิษเคลื่อนที่ในทุกจังหวัดที่ประสบภัยพิบัติฝุ่น เพื่อให้คำแนะนำและดูแลสุขภาพกับประชาชน 

 

 

  • ยังไม่ประกาศเขตภัยพิบัติ เพราะไม่รู้จะใช้เกณฑ์อะไร 

 

"อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัต หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ใดจะมีการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาว่าจะประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้คนเข้าไปในพื้นที่ แต่อีกประเด็นหนึ่งที่ได้หารือกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) อยากให้เข้าใจว่ากรณีฝุ่น "PM2.5" ไม่รู้ว่าจะกำหนดด้วยอะไร ค่าอะไร" คำสัมภาษณ์จาก พล.อ อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 

 

ทั้งนี้กรณีที่รัฐไม่มีการประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉิน แม้ว่าฝุ่น "PM2.5" วิกฤตอย่างมาก และจะลากยาวไปจนถึงสิ้นเดือนเม.ย.66 ซึ่งหมายความว่าประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือจะต้องเผชิญกับปัญหฝุ่นควันไปอีกเรื่อย ๆ ในขณะที่รัฐยังไม่ได้มีแผนการที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมอีกทั้งยังไม่มีการประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินด้วย 

 

สำหรับหน้าที่การประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินนั้น หากเห็นว่าค่าฝุ่น "PM2.5" เกินค่ามาตราฐานกรมควบคุมมลพิษสามารถอ้างอิงเกณฑ์ค่าฝุ่นจากองค์การอนามัยโลก(WHO)และนำมาพิจารณาในการประกาศได้ เพราะการประกาศค่า ฝุ่นPM2.5 จะมีการอ้างอิงจากเกณฑ์โลกอยู่แล้ว 


ส่วนกระทรวงมหาดไทยและองค์การปกครองท้องถิ่นไม่สามารถตัดสินใจประกาศเขตภัยพิบัติฝุ่น เนื่อจากที่ผ่านมาอาจจะไม่มีนิยามคำว่าภัยจากฝุ่น ดังนั้นการตัดสินใจจึงต้องใช้ดุลยพินิจและวิเคราะห์ตามความรุนแรงของสถานการณ์  

 

สถานการณ์ฝุ่นภาคเหนือ

 

  • อะไรบ้างที่เข้าข่ายเป็นภัยพิบัตตามพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 

 

"สาธารณภัย" หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาคสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของสัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ  อันมีผลกระทบต่อ สาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใค ซึ่งก่อให้เกิดอันตราย แก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพข์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย  ดังนั้นปัญหาจากฝุ่น ภัยพิบัติทางมพิษ จึงไม่ยังเข้าข่ายเป็นภัยพิบัติที่จะต้องมีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ

logoline