ชีวิตดีสังคมดี

15 ปี เส้นทางการต่อสู้ 'บำนาญถ้วนหน้า' ความหวัง 3,000 บาทลดความเหลื่อมล้ำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

15 ปี การต่อสู้เพื่อ 'บำนาญถ้วนหน้า' ของเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ต้องได้ขั้นต่ำ 3,000 บาท ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เข้าครม.แต่ถูกตีตก เลือกตั้ง66 พร้อมเดินหน้า

ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป พึ่งพาเบี้ยยังชีพ 600-1000 บาทต่อเดือน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ต้องพึ่งพาลูกหลานเพิ่ม ถ้าลูกหลานยังลำบาก หมายความว่าพ่อแม่ต้องลำบากตามไปด้วย เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นที่มาของเครือข่ายภาคประชาชน ในนาม "เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ" ลุกขึ้นมาเรียกร้องรัฐบาลแก้กฎหมาย "เบี้ยยังชีพ" เป็นกฎหมาย "บำนาญชราภาพ" หรือ "บำนาญถ้วนหน้า"

 

  • รวมตัวยกร่างพ.ร.บ.บำนาญถ้วนหน้า


ปี 2551 "เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ" รวมตัวกันยกร่างพระราชบัญญัติบำนาญชราภาพ (พ.ร.บ.บำนาญชราภาพ) พร้อมกับระดมรายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นพร้อมร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพ เสนอต่อนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น

 

  •  ยื่นร่างพ.ร.บ.บำนาญถ้วนหน้า ต่อนายก

2553 เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการรวมตัวกันเข้ายื่นร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพ เรียกร้องให้รัฐบาลแก้กฎหมายจาก "เบี้ยยังชีพ" เป็น "บำนาญถ้วนหน้า" เพื่อเป็นหลักประกันรายได้หลังอายุ 60 ปี แก้ปัญหาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่พอใช้ และลดการผูกขาดบำนาญไว้ที่ข้าราชการเพียงอย่างเดียว โดย "เครือข่ายประชาชนรัฐสวัสดิการ" ได้ล่ารายชื่อกว่า 13,000 คน เสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

  • กฎหมายการออมแห่งชาติ (กอช.)

หลังจากได้รับร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพแล้ว ปี 2554  รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ยุบสภา แต่กฎหมายที่ได้มา คือ กฎหมายการออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งไม่ตรงความต้องการของภาคประชาชน 

 

 

  • รัฐประหาร ชะล่อเสนอร่างพ.ร.บ. 

ปี 2557 เกิดรัฐประหาร เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ หยุดการเคลื่อนไหว ชะลอเสนอร่าง พ.ร.บ.บำนาญชราภาพไว้ก่อน โดยให้เหตุผลว่า ไม่เสนอในสมัยรัฐประหาร 

 

 

  • เลือกตั้งใหม่ เดินหน้าสู้ต่อ

ปี 2562 สิ้นสุดรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และประกาศให้มีการเลือกตั้ง เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการเริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้ง ภายใต้หัวข้อ "เลือกตั้งครั้งนี้ รัฐสวัดิการต้องมา"  โดยยื่นร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพ พร้อมรายชื่อผู้เห็นด้วยเกือบ 15,000 รายชื่อ  และมีกิจกรรมหลายต่อหลายครั้งที่แสดงออกเพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของสวัสดิการรัฐ โดยเฉพาะ "บำนาญถ้วนหน้า"

 

 

  • พิจารณา พ.ร.บ.บำนาญชราภาพ

2563 ร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ครั้งแรก เพื่อพิจารณา พ.ร.บ.เป็นกฎหมาย โดยประธานรัฐสภา ว่าด้วยเรื่องการเงิน ยื่นนายกรัฐมนตรีพิจารณา ถึงขั้นตอนกรรมาธิการสวัสดิการสังคมแต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ. แต่ไม่มีความเคลื่อนไหว จึงรวมตัวกันเพื่อทวงถามลายเซ็น พล.อ.ประยุทธ์ ให้รับรองร่างพ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ พ.ศ. ....  และมีกิจกรรมแสดงเชิงสัญลักษณ์คือถือปิ่นโตที่หน้าทำเนียบรัฐบาล 

 

เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการทวงถามลายเซ็นร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 

 

  • พล.อ.ประยุทธ์ ตีตกร่างพ.ร.บ.


กระทั้งปี 2564 ความหวังดับลง เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเห็นไม่ชอบ ปัดตกร่าง พ.ร.บ.บำนาญชราภาพ ที่ประชาชนเป็นเจ้าของ และเสนอโดยพรรคการเมือง ให้เหตุผลว่ากฎหมายมีความซ้ำซ้อน และใช้งบประมาณมหาศาล การต่อสู้จึงต้องสิ้นสุดลง  

 

 

  • เลือกตั้งปี 2566 เดินหน้าสู้อีกครั้ง

ความหวังเหมือนจะกลับมาอีกครั้ง หลังรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในพ.ค. ปีนี้ แสงสว่างสำหรับ "เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ" ส่องทางให้เดินต่อ ด้วยสัญญาณที่ดีสอดรับนโยบายพรรคการเมือง ที่ไม่ใช่นโยบายประชานิยม แต่ "บำนาญถ้วนหน้า" คือความต้องการของประชาชนโดยแท้ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการประกาศชัดแล้วว่าจะเดินหน้าต่อสู้ขั้นต่ำ 3,000 บาท ต้องได้ทุกคน

 

แหล่งเงินที่รัฐสามารถหาเพิ่มเติม

แหล่งเงินที่รัฐสามารถหาเพิ่มเติม​ เสนอโดยนักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


"บำนาญถ้วนหน้า" ถูกตีตกด้วยเหตุผลความซ้ำซ้อนทางกฎหมาย และไม่มีงบประมาณ ทว่ามีงานวิจัยที่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุไว้ว่า "บำนาญถ้วนหน้า" เป็นไปได้ แม้ต้องใช้งบประมาณมหาศาล เพราะรัฐมีแหล่งหางบเพิ่มเติม คือ การขยายฐานภาษี ภาษีฐานทรัพย์สิน และการลดนโยบายที่เอื้อให้กับคนรวย เช่นนั้น การจ่าย 3,000 บาทเป็นหลักประกันความยากจนคนสูงวัย ในวันที่ไม่มีเรียวแรงทำงาน และไม่มีลูกหลานดูแล ให้พวกเขามีกำลังทรัพย์ยกระดับคุณภาพชีวิต​ ก้าวข้ามสังคมเหลื่อมล้ำ ตอบโจทย์ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว

 

ภาพ:สายด่วน 1663 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ