ชีวิตดีสังคมดี

ความหวังเอกชน​ รัฐบาลใหม่เดินคู่​ แก้​ 'Climate Change'​

22 มี.ค. 2566

'สภาอุตสาหกรรม'​ วาดภาพรัฐบาลใหม่เดินคู่​เอกชน แก้​ 'Climate Change'​ ไปด้วยกัน​ สะท้อนรัฐที่ผ่านมาล่าช้า​ ทำให้ไทยไม่ไปถึงไหน​

นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ฝากถึงทุกพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกเข้ามาเป็นรัฐบาลชุดใหม่ประเด็นการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ​ (Climate Change)  ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นภัยและความท้าทายที่มวลมนุษย์ชาติกำลังเผชิญอยู่​ แต่ความเสี่ยงนี้เป็นโอกาสดีที่รัฐบาลและเอกชนจะร่วมกันวางแผนกำหนดแนวทางไปด้วยกัน​

 

นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

เราคาดหวังว่ารัฐบาลต้องทันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง​ เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน​ เพราะสิ่งที่พูดมาตลอดเวลาคือเรื่องการทำธุรกิจ ซึ่งประเทศไทยเป็นลักษณะค่อยๆ​ ปรับปรุง​ ซึ่งถือว่าช้าเกินไปกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก​ กระแสเทคโนโลยี​

 

พลังงานทางเลือก

 

รัฐบาลต้องปลดล็อกกฎหมาย​ กฎระเบียบ​ และประกาศต่างๆ​ ที่ไม่เอื้ออำนวยให้หมด​ แล้วออกกฎหมาย​ ออกกติกาเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆ​ ยกตัวอย่างเรื่องค่าไฟแพง​ประเทศไทยแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน​ ยกตัวอย่างเวียดนาม​ ค่าไฟฟ้าเวียดนาม​ 2.8 บาท​ ถูกกว่าไทยเกือบเท่าตัว​ ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน​ แต่ไทยต้นทุนแพงกว่า​

 

เอกชนหลายเจ้าพยายามช่วยเหลือตัวเองด้วยการติด "โซลาร์​เซลล์" โดยกฎหมายกำหนดค่าไว้ไม่เกิน​ 1​ เมกะวัตต์​ (MW)  โรงงานสามารถผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เองได้ ถ้าเกินต้องไปขอใบอนุญาต รง.4 จาก กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งตัวเลขที่กำหนดไม่เพียงพอตอบโจทย์การแก้ปัญหา​ Climate Change​ รัฐบาลต้องปลดล็อกให้เอกชนลงทุนเพื่อได้พลังงานสะอาดที่ถูกกว่ามาทดแทน​

 

เครื่องจักรคือสิ่งช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์​

 

ส่วนเรื่องที่​ 2​  เป็นเรื่องใหม่และเรื่องที่ดี​ แต่ต้องลงทุน​ บริษัทใหญ่ๆ​ ลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ​ การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรที่ใช้พลังงานลดลง ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงทั้งกระบวนการผลิต​

 

"การเปลี่ยนเครื่องจักร​ ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องพูดง่าย​ แต่ทำได้ยาก​ เปรียบเหมือนสนัขมองเครื่องบิน​ แต่ขึ้นไปไม่ได้​  คนที่กำหนดและตั้งกฎเกณฑ์คือบริษัทประเทศทางตะวันตก จริงๆ​ ไม่อยากพูดว่าประเทศไหนเป็นผู้ที่ปล่อยไปได้เยอะแยะไปหมด​ จนวันนี้พอเอเชียมาผลิตอยู่ไม่กี่ปีก็ต้องทำเพราะว่ามันคือปัญหา​ มาบังคับให้เราเปลี่ยนเครื่อง​ ต้องทำโน่นทำนี่​ ทำแล้วเงินจะช่วยยังไง" นายเกรียงไกร​ ระบุ

 

นายเกรียงไกร​ บอกต่อว่า​  ในเวทีระดับโลกมีเสียงสะท้อนเรื่องนี้ว่าต้องมีกองทุนระหว่างประเทศ​ประมาณ 1 แสนล้านเหรียญต่อปี​ หากไทยจะเข้าไปสู่เกมนี้ก็ต้องมีเงิน​  ไฟแนนซ์​ว่าอย่างไร​ ธนาคารตกลงช่วยเหลือหรือไม่​ เงินไม่เข้าใครออกใคร​ แต่ต้องการ

 

"ยังไงเอกชนต้องทำอยู่แล้ว​ ขอรัฐ​ต้องชัดเจนเรื่องกฎหมาย​ มีความทันสมัยต้องรู้เท่าทัน​ แล้วก็นโยบายที่ชัดเจน​  ต้องทำต่อและเดินต่ออย่า​หยุด​ ตอนนี้เป็นกังวลว่าหากได้รัฐบาลใหม่​ โครงการจะเดินหน้าต่อหรือไม่​ อยากบอกว่าประเทศเราเสียหายจากการที่ไม่ต่อเนื่อง​ เสียดายอะไรที่ดีทำต่อ​ อะไรที่มันยังไม่ดีปรับปรุงทำให้ดีขึ้น​

 

โรงงานอุตสาหกรรม​ปล่อยควัน​ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุให้เกิด​ Climate Change

 

สำคัญกว่านั้นก็คือระบบราชการ​ ตอนนี้รัฐบาลกับเอกชนเดินเหมือนอาการขาซ้ายช้า​ ขาขวาเดินเร็วๆ​ สรุปไปไม่ถึงไหน  จึงอยากให้เดินไปด้วยกัน​ คุยกันเยอะๆ​ เพราะวันนี้มันยากกว่าที่คิด​ เปลี่ยนแปลงทุกอย่างความทักทาย​ ลูกค้าหลักคือสหรัฐอเมริกาและจีน​ เราต้องวางตัวให้ได้ทั้งสองคนและทุกคน" นายเกรียงไกร​ กล่าวในที่สุด