ชีวิตดีสังคมดี

ลด "บูลลี่" เริ่มที่ครอบครัว โรงเรียน ฉุดเหยื่อขึ้นจากความมืดต้องทำยังไง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ลดพฤติกรรม "บูลลี่" เริ่มต้นได้จากคนในครอบครับ และโรงเรียน อย่าเพิ่งบอกเหยื่อให้เข้มแข็งแต่ต้องปลอบอย่างเข้าใจ แนะทำอย่างไรให้เอาชนะการบูลลี่ได้ทั้งร่างกายและจิตใจ

รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองเด็ก ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึกออนไลน์ ถึงแนวทางการดูแลเหยื่อที่ถูก "บูลลี่" และข้อแนะนำสำหรับคนทั่วไปที่กำลังคิดจะบูลลี่คนอื่น ว่า สถาบันครอบครัว โรงเรียน มีส่วนสำคัญในการช่วยลดปัญหาการบูลลี่ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างมาก เพราะการหยุดการ "บูลลี่" จะต้องเริ่มจากคนใกล้ตัวก่อน ดังนั้นครอบครัวจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก สอนให้เด็กเข้าใจความแตกต่างระหว่างตัวบุคคล  เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วคนแต่ละคนย่อมมีความคิด มีทางเดินที่แตกต่างกัน การที่มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างไม่ได้แปลว่านั่นคือความแปลก ที่สามารถเอามาล้อเป็นปมด้อยได้ 

 

 

จากการเก็บข้อมูลที่ผ่านมาทำให้พบว่า การปลูกฝั่งความคิดที่ดี จิตสำนักที่ดี สร้างมุมมองที่ดีให้แก่ลูก หรือเด็ก ๆ เป็นเสมือนการสร้างเกราะป้องกันให้จิตใจเด็ก ๆ เข้มแข็ง สามารถก้าวผ่านการ โดนบูลลี่ หรือ การ "บูลลี่" และกลั่นแกล้งคนอื่น ๆ ได้  

รศ.พญ. วนิดา กล่าวต่อว่า  สำหรับการดูแลสภาพจิตใจของเหยื่อที่โดน "บูลลี่" ผู้ปกครองหรือคนที่ใกล้ชิดไม่ควรรีบบอกให้เข้มแข็ง แต่ควรจะเข้าใจและเห็นใจเหยื่อ ปลอบโยน และแสดงความเป็นห่วงก่อน  พอความรู้สึกของเหยื่อดีขึ้นจึงค่อย ๆ ชวนลองให้ทำความเข้าใจ และลองเผชิญหน้ากับสิ่งที่เจอ แต่สิ่งสำคัญคือ หากการ "บูลลี่" เริ่มใช้ความรุนแรงคนใกล้ตัวจะต้องไม่ปล่อยให้เหยื่อเผชิญปัญหาเพียงลำพัง เพราะอาจจะนำไปสู่ความร้ายแรงต่อร่างกาย และจิตใจอย่างสาหัสได้   
 

รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์

ทั้งนี้จากลงพื้นที่เก็บข้อมูลของ รศ.พญ.วนิดา ยังพบว่า การป้องกันการ "บูลลี่" และช่วยเหลือเหยื่อต้องเริ่มตั้งแต่ในโรงเรียน โดยโรงเรียนจะต้องออกเป็นนโยบายอย่างชัดเจนว่า ห้ามมีการ "บูลลี่" หรือ กลั่นแกล้ง คนอื่น หากมีเหตุการณ์ "บูลลี่" จะต้องมีแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน เพื่อสร้างความตระหนักให้เด็ก ๆ ว่า การที่ "บูลลี่" คนอื่นไม่ใช่เรื่องปกติที่ควรทำ

 

นอกจากนี้โรงเรียนจะต้องมีโปรแกรมฝึกอย่างเข้มงวด เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความตระหนักให้กับนักเรียน  พร้อมทั้งจะต้องเป็นมีการเข้าช่วยเหลือเยียวยาทั้งคนกระทำและผู้ถูกกระทำ โดยเฉพาะคนที่ยืนดู (Bystander)จะต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือ ไม่มองว่าเรื่องการ "บูลลี่" เป็นเรื่องของคนสองคน หรือเรื่องของเด็กเท่านั้น 

 

รศ.นพ.วนิดา กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับคนทั่วไปก็สามารถช่วยหยุดการ "บูลลี่" คนอื่นได้เช่นกัน โดยเฉพาะการบูลลี่ผ่านโลกออนไลน์  โดยสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการหยุดคิดทบทวนตัวเองก่อนว่าขณะที่เรากำลังจะพิมพ์ข้อความบางอย่างอยู่นั้น เรากำลังรู้สึกโกธร เกลีด หรือมีอารณ์ไม่พอใจอยู่หรือไม่ หากกำลังมีอารมณ์อยู่ให้หยุดพิมพ์ และลองตั้งสติก่อน เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในขณะนี้นั้นไม่ได้ทำให้การ "บูลลี่" ในสังคมไทยหายไป แต่คือการช่วยลดอัตราการ "บูลลี่" ให้น้อยลงกว่าที่ผ่านมา 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ